วิญญาณรักของนางนาค (2494/1951) ในวันสงกรานต์ ณ ตำบลพระโขนง ระหว่างที่หนุ่มสาวกำลังร่วมในงานรื่นเริง แต่ที่มุมหนึ่ง มาก และ นาค สาวงามแห่งทุ่งพระโขนงกำลังพลอดรักกันอยู่ที่กองฟาง สร้างความริษยาแก่ แม่เฮียง ซึ่งแอบหลงรักมากอยู่ฝ่ายเดียว กำนัน ลุงของมาก เพื่อนกินเหล้าของ เถ้าแก่เฮง กลับทาบทามแม่เฮียง ลูกสาวของเถ้าแก่เฮงมาเป็นสะใภ้ ซึ่งเถ้าแก่เฮงก็เห็นดีเห็นงามด้วย เพราะมากเป็นชายหนุ่มที่ตั้งใจทำมาหากิน นัดหมายเป็นมั่นเหมาะว่าจะให้หนุ่มสาวแต่งงานกันในเดือน 9 โดยมีข้อแม้คือให้กำนันช่วยเป็นพ่อสื่อจัดแจงให้ตนได้สมรักกับนาค มากปฏิเสธการแต่งงานอย่างหัวเด็ดตีนขาด แม้กำนันจะขู่ตัดออกจากกองมรดกก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจเขาได้ มากหัวเสียกลับมาที่งานรื่นเริง เห็นเถ้าแก่เฮงรำเล่นอยู่กับนาคก็ยิ่งฉุนเฉียวหนัก โชคดีที่นาคตามมาปรับความเข้าใจและตกลงปลงใจอยู่ด้วยกันนับจากวันนั้นโดยมี ป้าแช่ม เมียของกำนันแอบให้ความช่วยเหลือเถ้าแก่เฮงยังไม่ละความพยายามจะเอานาคเป็นเมีย ร่วมมือกับกำนันส่งมากไปเป็นทหารเกณฑ์ ทั้งที่นาคกำลังตั้งครรภ์อยู่ กลางดึกคืนหนึ่งนาคเจ็บท้องอย่างหนัก พยายามออกมาขอความช่วยเหลือจากชาวบ้าน แต่ขาดใจตายกลางคัน เช้าวันรุ่งขึ้น เช้าบ้านช่วยกันนำศพนาคไปฝังไว้ที่ใต้ต้นตะเคียนคู่ ในป่าช้าวัดมหาบุศย์ แต่หลังจากนั้นวิญญาณของนาคก็ออกอาละวาดชาวบ้านละแวกนั้น แม้จะมีหมอผีอาสามาปราบก็ไม่สำเร็จ วันหนึ่ง มากขอลากลับมาเยี่ยมลูกเมียที่ทุ่งพระโขนง และต้องดีใจที่เห็นลูกเมียยืนคอยที่ริมตลิ่ง โดยไม่รู้เลยว่านั่นเป็นเพียงวิญญาณรักของนางนาค
Placeholder
นางนาคคืนชีพ (2480/1937) "นางนาคพระโขนง" เท่าที่ทราบกันแต่เพียงว่า ได้ถูกถ่วงน้ำและหายสาบสูญไปนั้น บัดนี้นางนาคได้กลับคืนชีพมาอีก และหนีจากถ่วงน้ำมาแผลงฤทธิ์ ดุร้าย น่าหวาดเสียว น่าตื่นเต้น และแสดงอภินิหารร้ายกาจกว่าเก่าหลายสิบเท่า (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน ศรีกรุง 8 มิถุนายน พ.ศ. 2480)
นางนาคพระโขนง
นางนาคพระโขนง  (2476/1933) เรื่องราวของนางนาค กับสามี ที่พลัดพรากจากกัน เพราะสามีต้องไปรบ มีฉากพายเรือ ฉากคลอดลูกและกำลังจะตาย ฉากกลายร่างจากสาวสวยไปเป็นผี ฉากวิญญาณลงหม้อ รวมถึงฉากเอื้อมมือเก็บมะนาว