เพชฌฆาต The Last Executioner (2557/2014) เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (วิทยา ปานศรีงาม) เป็นมือประหารคนสุดท้ายของประเทศไทย ที่ปลิดชีวิตนักโทษด้วยวิธีการยิงเป้าจากนักดนตรีหนุ่มผู้หลงใหลในเพลงร็อคแอนด์โรล และเล่นดนตรีให้กับเหล่าทหารไอจีในช่วงสงครามเวียดนาม เขาต้องเลือกทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ผู้คุมในเรือนจำเพื่อความมั่นคงของครอบครัวที่เขารักเขาใช้ชีวิตทั้งชีวิตยอมรับกรรมดีกรรมชั่วที่เกิดจากหน้าที่ของเขา ในการทำหน้าที่เป็นเพชฌฆาตผู้ปลิดชีพนักโทษมาแล้วถึง 55 คน ตลอดกว่า 19 ปี ในเรือนจำกลางบางขวางหรือที่รู้จักกันดีในนาม คุกเสือใหญ่ หรือ The Bangkok Hilton
อยากอยู่อย่างใหญ่ BORN TO BE YAI (2557/2014) ชัย ชัยปรีชา (สรวิชญ์ สุบุญ) เป็นคนเมืองชาละวัน จากเด็กชายบ้านนอก การศึกษาแค่ ป.6 ทั้งๆ ที่ชัยอยากเรียนต่อใจจะขาด แต่ขาดแค่ความพร้อมของครอบครัว คำสอนของคุณปู่ที่พูดถืงแต่อนาคตที่ดี ขัดกับคำพูดของคุณพ่อที่ไม่ให้ชัยเรียนต่อมัธยม คุณแม่สงสารชัยแต่ก็ขัดคุณพ่อไม่ได้ คุณพ่อเพียงคิดแค่จะให้ชัยออกมาช่วยกันทำนาทำสวน เก็บดอกเก็บผลไปขาย หรือรับจ้างตามอย่างพวกพี่ๆ ที่มาช่วยกันทำมาหากิน แม้จะต้องออกจากระบบการศึกษาตามความต้องการของคุณพ่อ แต่ชัยก็ไม่ยอมปล่อยโอกาสที่ผ่านเข้ามาในชีวิตให้ผ่านเลยไปเฉยๆ เขาคว้าโอกาสไว้ และไขว่คว้าหาอนาคตที่ตัวเองต้องการด้วยตนเอง จนในที่สุดโชคชะตาของเขาก็ค่อยๆ เปลี่ยนไป
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี (2557/2014) ในปี พ.ศ. 2129 พระเจ้านันทบุเรง ทรงแค้นเคืองที่ต้องปราชั­ยต่อ สมเด็จพระนเรศฯ อย่างย่อยยับ ทั้งต้องเสียไพร่พลและพระสิริโฉม จึงระบายความแค้นนั้นไปที่องค์พระสุพรรณกั­ลยา เมื่อ สมเด็จพระมหาธรรมราชา พระราชบิดาทราบค­วามก็ให้โทมนัสด้วยสำนึกว่าชะตากรรมของพระ­ราชธิดาและแผ่นดินอยุธยาที่ถูกกระทำการย่ำ­ยีก็ด้วยเพราะพระองค์ทรงแปรพักตร์ไปเข้าข้­างศัตรู จนตรอมพระทัยเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศฯ ทรงมีพระชนมายุ 31 พรรษา จึงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติค­รองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากพระราชบิดา สมเด็จพระมหาธรรมราชา หรือ (สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 1) ข่าวการผลัดแผ่นดินของกรุงศรีอยุธยารู้ไปถึง พระเจ้านันทบุเรง แห่งกรุงหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสในพระเจ้าบุเรงนอง สำคัญว่าราชอาณาจักรสยาม หรืออาณาจักรอยุธยาจะไม่เป็นป­กติสุขเป็นช่องชวนชิงเชิง จึงโปรดให้พระราชบุตร พระมังสาม­เกียด หรือ(พระมังกะยอขวาที่ 1) พระมหาอุปราชเจ้าวังหน้ากรีฑาทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาอีกคำรบ นำกองทัพทหาร 240,000 นาย (สองแสนสี่หมื่นนาย) มาตีกรุงศรีอยุธยาหมายจะชนะศึกในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงทราบว่า พม่ายกทัพใหญ่มาตี จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลัง 100,000 นาย (หนึ่งแสนนาย) เดินทางออกจากบ้านป่าโมก อ่างทองไปสุพรรณบุรี ข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง ลพบุรี และตั้งค่ายหลวงบริเวณหนองสาหร่าย โดย สมเด็จพระนเรศวร โปรดให้ พระราชมนู แต่­งพลเป็นทัพหน้าขึ้นไปลองกำลังข้าศึกถึงหนอง­สาหร่าย ทัพหน้า พระราชมนู ปะทะเข้ากับทัพพม่าถึงขั้­นตะลุมบอน แต่กำลังข้าง พระราชมนู น้อยกว่าจึงแตกพ่ายถ­อยลงมาเป็นอลหม่าน สมเด็จพระนเรศฯ ทราบความจึงออกอุบายให้ทัพข้าศึกไล่เตลิดลงมาจนเสียกระบวนแล้วจึงทรงนำกำลังออกยอทัพข้าศึก ครั้งนั้นพระคชสารทรงของสมเด็จพระนเรศฯ นามเจ้าพระยาไชยานุภาพ และพระคชสารทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถคือเจ้าพระ­ยาปราบไตรจักรต่างตกมัน วิ่งเตลิดแบกพลฝ่าเข้าไปในทัพพม่ารามัญกลางว­งล้อมข้าศึก และหยุดอยู่หน้าช้าง พระมังสามเกียดพระมหาอุปร­าชา พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้กับเหล่าพระยาขุนศึก จึงทราบได้ว่าพระคชสารทรงของสองพระองค์หลงถลำเข้ามาถึงกลางกองทัพข้าศึก และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึกจึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้สมพระเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว" พระมังสามเกียดพระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสพระคชสารนามว่า พลายพัทธกอเข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมังสามเกียดพระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่ สมเด็จพระนเรศวร ทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้น เจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลัก สมเด็จพระนเรศวร ทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูก พระมังสามเกียด พระมหาอุปราชา เข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง ส่วน สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงฟันเจ้าเมืองจาปะโรเสียชีวิตเช่นกัน พม่าจึงยกทัพกลับกรุงหงสาวดีไป นับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นระยะเวลาอีกยาวนาน

กำลังแสดงผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ