เจ้าสาวของอานนท์ (2525/1982) อานนท์ วิศวกรหนุ่มมากเสน่ห์ที่พร้อมเอ่ยปากขอแต่งงานกับผู้หญิงทุกคนที่เจอ ได้รับมอบหมายให้ไปตรวจดูเครื่องจักรที่สวนมะพร้าวของตะวัน ซึ่งมีลูกฝาแฝดชายหญิงโสภณและสุชาดา ในครั้งแรกที่เจอสุชาดานั้น อย่าได้พูดถึงเรื่องการแต่งงานเลย พูดด้วยดีๆอานนท์ยังไม่อยากจะทำ เพราะเข้าใจว่าเป็นผู้ชาย ด้วยกิริยากระโดกกระเดก พูดจาขวานผ่าซาก แต่เมื่อเวลาผ่าน สุชาดาก็กลายเป็นคนที่อานนท์อยากคว้ามาเป็นเจ้าสาวมากกว่าผู้หญิงคนอื่นๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ปัญหามันอยู่ที่ พ่อแม่ของเขา ไม่ค่อยพอใจนักที่ลูกชายจะคว้าเอาลูกสาวชาวสวนผู้ต่ำต้อยมาเป็นภรรยา
ใจเดียว (2525/1982) ข้อความบนใบปิด พบโชคภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์ชีวิตรักที่เป็นอมตะ รักเถอะ...ถ้าคุณคิดว่าคนรักของคุณมีรักเดียวและ... ใจเดียว ของ เสนีย์ บุษปะเกศ ทูน หิรัญทรัพย์ สุพรรษา เนื่องภิรมย์ พอเจตน์ แก่นเพชร ลินดา ค้าธัญเจริญ ลักษณ์ อภิชาติ, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ชนะ ศรีอุบล, จันทนา ศิริผล, โกร่ง กางเกงแดง ฯลฯ วิเชียร วีระโชติ ถ่ายภาพ บวรมงคล ผู้ช่วยผู้กำกับ เครือมาศ สร้อยคีรี ดำเนินงานสร้าง นฐพร พรมา อำนวยการสร้าง แสนยากร กำกับการแสดง (ที่มา :Thai Movie Posters)
กระท่อมนกบินหลา (2525/1982) ข้อความบนใบปิด วีซีโปรโมชั่นแอนด์พิคเจอร์ โดย สง่า คุวันทรารัย-วิสิษฐ์ วงศ์นาค เสนอผลงานอันดับ 2 บทประพันธ์ของ ธม ธาตรี จากนิตยสารบางกอก ทุกชีวิต ทุกลีลา ประจุให้คุณชิมเต็มอิ่ม กระท่อมนกบินหลา สรพงศ์ ชาตรี ปิยะมาศ โมนยะกุล โกวิท วัฒนกุล ลินดา ค้าธัญเจริญ อำภา ภูษิต พบนางเอกขวัญใจมหาชนคนใหม่ อัจฉราภรณ์ โสมวิภาต เศรษฐา ศิระฉายา, ส.อาสนจินดา, มานพ อัศวเทพ, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, จุรี โอศิริ, สุวิน สว่างรัตน์, เด๋อ-ดี๋-ดอน เชิด ทรงศรี-อนันต์ ชลวนิช สร้างบทภาพยนตร์ โสภณ เจนพานิช ถ่ายภาพ กวี นามศิลป์ ดำเนินงานสร้าง เดชอนันต์ กำกับการแสดง วีซีโปรโมชั่นแอนด์พิคเจอร์ สร้างและจัดจำหน่าย (ที่มา :Thai Movie Posters)
พระเจ้าเสือ พันท้ายนรสิงห์ (2525/1982) ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยา เรื่องราวของ สิงห์ หนุ่มชาวบ้านที่มีฝีมือในทางชกมวย จนเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าเสือ และทรงชักชวนให้มาเป็นมหาดเล็กรักษาพระองค์ กระทั่งวันหนึ่ง เมื่อพระเจ้าเสือเสด็จประพาสทางเรือไปตามแม่น้ำสมุทรสาครที่คดเคี้ยว เรือพระที่นั่งซึ่งถือท้ายเรือโดยสิงห์ เกิดชนกิ่งไม้จนหัวเรือหัก แม้พระเจ้าเสือจะงดเว้นการประหารสิงห์จากเหตุการณ์ครั้งนี้ แต่สิงห์กลับยืนยันให้ประหารตน เพื่อคงไว้ซึ่งราชประเพณี
น้ำพริกก้นถ้วย (2525/1982) ข้อความบนใบปิด ถนอมขวัญโปรดั๊กชั่น ประชดประชันสังคมผู้ดีจอมปลอม กับคนจนผู้มีน้ำใจ น้ำพริกก้นถ้วย ชื่นชุลมุนกับความวุ่นวายของกลุ่มชายโฉด ที่หมายปองหม้ายสาว เหล่าพ่อหม้ายเมียเผลอจึงต้อง ใช้ชั้นเชิงประชันขันแข่ง เพื่อเอาชนะใจหม้ายสาว น้ำพริกก้นถ้วย ฮาตลอด ยอดกุ๊กกิ๊ก ธนาคารกรุงเทพฯเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ให้ความอุปการะ น้ำพริกก้นถ้วย ของ ปณิดา สรพงศ์ ชาตรี เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ นิรุตติ์ ศิริจรรยา อำภา ภูษิต สมภพ เบญจาธิกุล, วิยะดา อุมารินทร์, ปวีณา ปิจเปี่ยมกิจ, นิดภูมิ พัฒนายุทธ, เมตตา รุ่งรัตน์, สมควร กระจ่างศาสตร์, มารศรี อิศรางกูร, บู๊ วิบูลย์นันท์, บุญส่ง ดวงดารา, ยิ่งใหญ่ อายะนันท์, จันทนา ศิริผล, ปู, อ๊อด, ตุ๊กติ๊ก, ประวิตร ฯลฯ นงนุช พุทธชาติ อำนวยการสร้าง รังสี ทัศนพยัคฆ์ กำกับการแสดง ประวิตร บุญยรัตพันธ์ ถ่ายภาพ อรนุช เอื้อวงศ์ ธุรกิจ เฟรชฟิล์ม จัดจำหน่าย (ที่มา :Thai Movie Posters)
สุดเหงา (2525/1982) ข้อความบนใบปิด กิตติ อัครเศรณี อำนวยการสร้าง “จงเก็บกักความรักให้เต็มห้องหัวใจ ก่อนที่ความเหงาจะคร่าชีวิตของคุณ...ให้ตายทั้งเป็น” สุดเหงา ของ “วรรณิศา” พิศาล อัครเศรณี เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ มนตรี เจนอักษร พิศมัย วิไลศักดิ์ ท้วม ทรนง, สุรชัย อัตถากรโกวิท,สรนันท์ ร.เอกวัฒน์, ด.ญ.สุดชญา ชินอมรพงษ์ มิสเตอร์ปีเตอร์ แชมป์โลกเครื่องร่อน, มิสเตอร์มิเชล, มิสเตอร์ยูงแฮ พันธุ์เทพ อรรถไกวัลวที กำกับการแสดง วิเชียร เรืองวิชยกุล ถ่ายภาพ สร้างโดยทีมงาน “อัครเศรณีโปรดักชั่น” บริษัทอัครเศรณีโปรดักชั่น จัดจำหน่าย (ที่มา :Thai Movie Posters)
มนต์รักลูกทุ่ง (2525/1982) ไอดิน..กลิ่นฟาง..เสียงเพลง.. และ..กลิ่นแก้มสาว..เคล้าระคน เสมือนหนึ่งเป็น...มนต์รักลูกทุ่ง เพลิดเพลินกับ 15 เพลงเอก.. เรื่องราวของ คล้าว หนุ่มชาวนาผู้ยากจน กับ ทองกวาว ลูกสาวคนสวยของ นายทองก้อน เศรษฐีในหมู่บ้าน ที่ถูกกีดกันมิให้สมหวังในความรัก เพราะนายทองก้อนตั้งค่าสินสอดทองกวาวไว้ถึงสิบหมื่น ทั้งยังเตรียมส่งทองกวาวไปอยู่กับ ป้าทองคำ เศรษฐินีผู้เป็นญาติผู้ใหญ่ที่กรุงเทพฯ สายใจ แอบชอบคล้าวอยู่โดยมีหมู่น้อย มาชอบสายใจอยู่เช่นกัน ส่วนดวงใจ น้องสาวของสายใจก็พอใจในตัวเชน หนุ่มพเนจรที่มาเป็นคนงานในบ้าน สร้างความไม่พอใจให้กับเจิด หลานของนายจอม ที่เป็นคนมีอิทธิพล เพราะเจิดก็ชอบดวงใจจอยู่ ทางด้านทองกวาวและบุปผาที่ไปอยู่กรุงเทพก็มีหนุ่มกรุงเทพมาติดพันคือธรรมรักษ์ และธีระ โดยทองก้อนก็พูดจายุยงให้ทองกวาวเข้าใจว่าคล้าวไปชอบกับสายใจแล้ว ส่วนคล้าวก็เข้าใจผิดว่าทองกวาวไปมีแฟนใหม่เป็นหนุ่มกรุงเทพ ทองกวาวและบุปผาเดินทางกลับบ้านอกโดยมีธรรมรักษ์และธีระตามมาด้วย ทำให้คล้าวยิ่งเข้าใจผิด ทองกวาวรับหมั้นธรรมรักษ์เพราะคิดว่าคล้าวไปชอบกับสายใจ เสือทุม จอมโจรที่เป็นคนของจอมบุกปล้นเงินสินสอดและจับตัวทองกวาวกับป้าทองคำไป คล้าวทราบเรื่องจึงรีบตามไปช่วย
พ่อค้าแม่ขาย (2525/1982) ข้อความบนใบปิด วราโปรดักชั่น เสนอ ข้าราชการเลือดเข้ม ทำงานเต็มเวลา อยากเป็นราษฎรเต็มขั้น ชีวิตถูกผลักดันให้มาเป็น พ่อค้าเร่ขายของชำ มาเป็นพ่อค้าดีกว่า อย่ามัวเลียแข้งเลียขาเจ้านาย พ่อค้าแม่ขาย ของ...หัสชัย สรพงศ์ ชาตรี อาภาพร กรทิพย์ วิยะดา อุมารินทร์ สุพรรณี จิตต์เที่ยง, บู๊ วิบูลย์นันท์, ลุงโกร่ง กางเกงแดง, นภาพร หงสกุล, ทองแถม, โป๋ เป่าปี่, ฉกาจ, ด.ญ.อุ๋ย จินดานุช วรา ธรรมานนท์ กำกับการแสดง มนัส โตเพาะญาติ ถ่ายภาพ จันทิรา ใจก่อตั้ง อำนวยการสร้าง (ที่มา :Thai Movie Posters)
ลูกอีสาน (2525/1982) ภาพยนตร์เรื่องลูกอีสานเป็นเรื่องราวของวิถีชีวิตชาวนาอีสานในหมู่บ้านโคกอีแหลว ซึ่งอยู่ในพื้นที่ตอนเหนือของจังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยบอกเล่าถึงการฟันฝ่าอุปสรรคจากภัยธรรมชาติ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และความเชื่อของผู้คนในสังคม ผ่านมุมมองของตัวละครหลัก 2 คน คือบักคูน เด็กชายที่ถอดมาจากชีวิตจริงของผู้ประพันธ์และพ่อสุด พ่อของบักคูน หมู่บ้านแห่งหนึ่งในภาคอีสานแห้งแล้งมาก ผู้คนได้ย้ายที่อยู่ไปทำมาหากินที่อื่น มีแต่ครอบครัวของสุดเท่านั้นที่ยังยืนหยัดที่จะต่อสู้เพื่อให้ที่ดินที่ทำมาหากินของตัวเอง และยังต่อสู้มาจนทุกวันนี้ สร้างจากนิยายที่มีเค้าโครงชีวิตจริงของศิลปินแห่งชาติ คำพูน บุญทวี กลายเป็นหนังมหากาพย์ชีวิตคนอีสานผู้เผชิญภัยแห้งแล้งชั่วนาตาปี ที่แม้คนในหมู่บ้านจะอพยพไปหากินที่อื่นหมด ครอบครัวของเด็กชายคูนยังเลือกปักหลักยังอยู่ เด็กชายคูนจึงค่อยๆ เติบโตผ่านการขัดเกลาของประเพณีพื้นบ้านตั้งแต่งานบุญ,งานแต่งจนถึงการละเล่นและการทำงานบนผืนนา หล่อหลอมให้คูนรู้ซึ้งถึงความเป็น ‘ลูกอีสาน’ อย่างแท้จริง
สายสวาทยังไม่สิ้น (2525/1982) เหลือที่ว่างในหัวใจ เผื่อความเจ็บปวดไว้สักครึ่ง พ่อของพินิจ และทิพย์รับเลี้ยงเกรียงไว้ และส่งเสียให้เรียนเมืองนอก พินิจไม่พอใจเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และมักมีปากเสียงกับพ่อตัวเองเสมอ และรุนแรงจนพ่อหัวใจวาย พินิจขับรถชนจนเกิดเป็นอัมพาต และมรดกก็ถูกยกให้เกรียง โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องแต่งงานกับทิพย์ พินิจใช้เล่ห์ให้ทั้งคู่ผิดใจกัน เกรียงหนีออกจากบ้าน ทิพย์แท้งลูก ความเสียใจทำให้เธอเป็นบ้า เกรียงออกตามหาจนเจอทิพย์ และใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
มัจจุราชสีน้ำผึ้ง (2525/1982) แม้จะมีคนที่รักอยู่แล้วแต่เพื่อตอบแทนผู้มีพระคุณ "รจนาไฉน" จึงจำยอมรับหมั้นชายหนุ่มผู้มีนามว่า "ปัทม์ ปัทมกุล" ซึ่งต่อมาเขาได้รับรู้ความจริงว่า เธอไม่ใช่หญิงสาวที่เขาจะต้องแต่งงานด้วย แต่เพื่อรักษาหน้าและศักดิ์ศรีลูกผู้ชายเขาจำต้องแต่งงานกับเธอ แม้จะโกรธและเกลียดชังเธอเพียงใด ท่ามกลางความโกรธแค้นชิงชังแต่ความรักก็เกิดขึ้นแม้จะมีอุปสรรคมากมายเพียงใด
ครูดอย (2525/1982) เรื่องราวของครูหนุ่มผู้มีอุดมการณ์แรงกล้าที่ต้องต่อสู้กับปัญหาสารพัดในการสอนหนังสือบนดอยสูง โดยมีแฟนสาวและเพื่อนครูผู้มีอุดมการณ์เดียวกันคอยช่วยเหลือและเป็นกำลังใจ
เต้าฮวยเกศทิพย์ (2525/1982) #ชมอีกครั้ง สรพงศ์-อาภาพร ข้อความบนใบปิด ธรรมจักรภาพยนตร์ เสนอผลงานอันละเอียดอ่อน ของ เสถียร ธรรมเจริญ ชีวิตพี่ไปได้สวย เพราะพี่ได้เมียรวย หยก ก็เลยกลายเป็นคน...? ต้องเดินขาย...? จะเอาอะไรแน่กับชีวิต ไม่มีใครหัวเราะได้ตลอด และก็ไม่มีใครร้องไห้อยู่ได้ตลอดเหมือนกัน ฟ้าเท่านั้นที่รู้ว่าหยกเป็นเมียพี่ ก่อนผู้หญิงคนนั้น หัวเราะได้ทั้งน้ำตา ฮาทั้งๆที่ยังสะอื้นอยู่ในอก สวัสดีความจน สัมผัสความรวย ดู เต้าฮวยเกศทิพย์ ของ ปณิดา จาดละครคณะ เกศทิพย์ จน, เจียม, เจ็บ, จำ, ศึกษา, ขยัน, ประหยัด, ซื่อสัตย์ แล้วอนาคตของคุณจะไปได้สวย ดูเต้าฮวยเกศทิพย์ สรพงศ์ ชาตรี อาภาพร กรทิพย์ รอง เค้ามูลคดี, อำภา ภูษิต, วิยะดา อุมารินทร์, ปวีณา ปิจเปี่ยมกิจ, พิศมัย วิไลศักดิ์, เมตตา รุ่งรัตน์, ยิ่งใหญ่ อายะนันท์, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, มนทิรา อำนวยการสร้าง อรนุช สร้างบท ประวิทย์ ถ่ายภาพ เสถียร ธรรมเจริญ กำกับการแสดง (ที่มา :Thai Movie Posters)
แม้เลือกเกิดได้ (2525/1982) เรื่องราวชีวิตของหล่าผู้หญิงที่ถูกประณามว่า "หญิงคนชั่ว" ณ บ้านเสน่ห์จันทร์... บ้านที่ฟังดูแล้วไพเราะและอ่อนหวาน แต่บ้านหลังนี้คือแหล่งที่ผู้หญิงถูกนำมารวมกัน บ้านที่ถูกเรียกว่าซ่องหรือเรือนนางโลมที่ขายกายเนื้อ ขายความเป็นพรหมจรรย์ของผู้หญิงสาวเพื่อความอยู่รอด "พร" คือหนึ่งในหญิงสาวที่อยู่ที่นี่อย่างปากกัดตีนถีบ เคราะห์ซ้ำกรรมซัดเมื่อเธอเกิดตั้งท้องขึ้นมา แม้จะเป็นอย่างนั้นเธอกลับตัดสินใจที่จะเก็บเด็กเอาไว้ แม้จะรู้ว่าเส้นทางข้างหน้าจะเต็มไปด้วยความยากลำบากก็ตาม พร นางโลมใน บ้านเสน่ห์จันทร์ เกิดท้องขึ้นมา และต้องการเอาเด็กไว้ ฟอง ที่ทำงานในบ้านสุขสำราญ ซึ่งเป็นบ้านที่ใช้การทารุณกรรมมากกว่า พรเกิดเจ็บท้อง คลอดลูกได้เพียง 2 วันก็ออกมารับแขก เหมือนเดิม และได้พบกับ สิงห์ ที่มาเที่ยว และถูกใจพร จึงมาหาและพาพรไปอยู่ด้วยกัน พรไปอยู่กับสิงห์โดยไม่รู้เบื้องหลังของสิงห์เลย ฟองฆ่าตัวตาย เพราะไม่สามารถทนความรุนแรงในบ้านสุขสำราญได้ สิงห์ฆ่าคนมาก่อนจึงถูกตำรวจจับ เขาสั่งให้พรไปรอรับตนเมื่อออกจากเรือนจำ พรตัดสินใจกลับไปรอสิงห์ และใช้ชีวิตที่บ้านนอกกับลูกของเธอ
ดอกโศก (2525/1982) ข้อความบนใบปิด ดาราฟิล์ม โดย สยาม สังวริบุตร เสนอ “ดอกรักบานในใจใครทั้งโลก แต่ดอกโศกบานในดวงใจฉัน” ดอกโศก ข.อักษราพันธุ์ บทประพันธ์ พล พลาพร มนฤดี ยมาภัย ธิติมา สังขพิทักษ์ เอกรัฐ ศรีเบญรัตน์ ศิริวรรณ นันทิยา, สิริวัฒน์ คงคาเขต, ขนิษฐา วงศ์ดาว, ศิริ ศิริจินดา, เวียง วัตกี, วงศ์ทอง ผลานุสนธิ์, ด.ญ.สุภาพร ศรีสมเคราะห์, ด.ช.สามารถ-สันติภาพ บุนนาค ไพรัช สังวริบุตร กำกับการแสดง สยาม สังวริบุตร อำนวยการสร้าง ผุสดี ยมาภัย ดำเนินงานสร้าง วีระ ดวงพัตรา ดำเนินงานสร้าง ดาราฟิล์ม จัดจำหน่าย (ที่มา :Thai Movie Posters)
ดาวกลางดิน (2525/1982) *จากชื่อเดิม รักลอยลม ใช้เวลาสร้างยาวนาน! ข้อความบนใบปิด อุทัยฟิล์ม โดย สมชาย แสงพลสิทธิ์ สร้าง “อย่าทะนงเป็นหงส์อันสูงศักดิ์ ปีกเจ้าหักจักถลามาซบดิน” ดาวกลางดิน ของ สุมนทิพย์ พล พลาพร พัทยา ลดาวัลย์ ไพโรจน์ ใจสิงห์, เทพ เทียนชัย, สุรชัย ทมวิรัตน์, วิทยา สุขดำรงค์, สายัณห์ จันทรวิบูลย์, ปริม ประภาพร, มารศรีณ บางช้าง, วีณารัตน์, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ส.อาสนจินดา กำกับการแสดง ขจรเดช รักสัจ ดำเนินงานสร้าง วิน วิษณุรักษ์ ฝ่ายศิลป์ ส.อาสนจินดา สร้างบท อ.กวีสัตโกวิท ประพันธ์เพลง ศราวุฒิ วุฒิชัย ตุ๊กตาทองถ่ายภาพ ธานินทร์ อินทรเทพ-ดาวใจ ไพจิตร ขับร้องเพลงเอก (ที่มา :Thai Movie Posters)

หน้าที่