สุดหัวใจ (2516)
สุดหัวใจ (2516/1973) ข้อความบนใบปิด วัฒนภาพยนตร์ เสนอ ทมยันตี ประพันธกรผู้เขียน “พ่อปลาไหล” “ค่าของคน” เมื่อปีก่อน เลือกสรรนวนิยายเยี่ยมยอด จากบทประพันธ์กว่า 30 เรื่อง หยิบยื่นความสุขสมใจให้แก่ ผู้ชมภาพยนตร์ไทยเพียงเรื่องเดียว เสียว-เสียด-สุดใจ ประจำปี 2516 สุดหัวใจ 35 ม.ม.สโคป สีอิสต์แมน สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ ชุมพร เทพพิทักษ์, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, วาสนา ชลากร, สุวิน สว่างรัตน์, จรัสศรี สายะศิลปี, ไกร ครรชิต, มารศรี อิศรางกูร, ชฎาพร วชิรปราณี, เพลินตา อุมาแมน, จุ่น ทรงเล็ก, ตุ้ยนุ้ย, สีเทา, โกร่ง กางเกงแดง, เด่น ดอกประดู่ ฯลฯ ขอแนะนำเด็กใหม่ ด.ช.กำพล อุมาแมน, ด.ญ.หยาดรุ้ง อุมาแมน, ด.ญ.มารีนา กฤษณมาศ รสสุคนธ์ กสิวัฒน์ อำนวยการสร้าง กวี เกียรตินันท์ ถ่ายภาพ “วิทวัส” บทภาพยนตร์ ไพรัช กสิวัฒน์ กำกับการแสดง จรัล พรหมรังสี ตัดต่อ-ลำดับภาพ ประยูร จันทะนากูล ผู้จัดการ
มนต์เมืองเหนือ (2516)
มนต์เมืองเหนือ (2516/1973) มนต์เมืองเหนือ เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2516 สร้างโดย อัจฉริยะภาพยนตร์
ขอบฟ้าเขาเขียว (2516)
ขอบฟ้าเขาเขียว (2516/1973) ข้อความบนใบปิด อินทรวิจิตรภาพยนตร์ เสนอ ถ้าฉันมีปีก บินได้อย่างนก ฉันจะบินไปให้ไกล จนสุด....... ขอบฟ้าเขาเขียว ของ อรวรรณ 35 ม.ม.ซูเปอร์สโคป สี เสียงในฟิล์ม นำโดย สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ ช้องมาศ ภุมรา สุริยา ชินพันธ์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี, พนม นพพร, ดรุณี ชื่นสกุล, ปริม ประภาพร, ดามพ์ ดัสกร, คมน์ อรรฆเดช, ลักษณ์ อภิชาติ, โดม สิงห์โมฬี, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต, มนัส บุณยเกียรติ, และด.ช.ปรีชา เกิดกำแพง และดาวรุ่งดวงใหม่ อรพรรณ สุกัญญา ศรินทิพย์ ศิริวรรณ อำนวยการสร้าง โสภณ เจนพานิช ถ่ายภาพ ชาลี อินทรวิจิตร กำกับการแสดง เสรีภาพยนตร์ (ปราโมทย์ฟิล์ม) จัดจำหน่าย
ท่าเตียน (2516)
ท่าเตียน (2516/1973) นางพญานาค และพฤกษาเทวา ต่างมีความสัมพันธ์กันและได้ทิ้งไข่ไว้หน้าถ้ำแห่งหนึ่งในเมืองมนุษย์ จนเมื่อไข่ฝักออกมา ได้กำเนิดเป็นบุตรสาว ชบา (สุภัค ลิขิตกุล) ที่มีพลังเวทมนตร์สามารถดลบันดาลทุกสิ่งอย่างดังที่ใจต้องการ แต่เธอเกิดมาด้วยความโดดเดี่ยว จึงไม่สามารถแสดงรูปร่างที่แท้จริงได้ จึงต้องปลอมตัวไปเป็นคางคก และไปขออาศัยอยู่กับชายชราที่กระท่อมปลายไร่ จนวันหนึ่งชายหนุ่มชื่อ นเรนทร์ จากกรุงเทพฯ เข้ามาทำวิทยานิพนธ์ในป่าและได้ถูกชายชรานำมารักษาที่บ้าน ก็ทำให้ทั้งคู่หลงรักกัน จึงเป็นเหตุให้นเรนทร์พาชบาเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ ด้วยกัน โดยความยินยอมของชายชรา เมื่อนเรนทร์พาชบาไปเที่ยววัดแจ้ง นเรนทร์ได้ไปเจอกับพระพุทธรูปรูปถูกทิ้งไว้ ที่มารศาสนาพยายามจะขโมยพระพุทธรูปออกไปแต่มียักษ์วัดแจ้งคอยคุ้มครองสิ่งของล่ำค่าในวัดอยู่ นเรนทร์จึงอาสานำพระพุทธรูปกลับเข้าไปในวัดตามเดิม โดยทิ้งชบารออยู่ข้างนอก หากแต่ชบาเกิดความคิดพิเรนทร์ อยากชวนยักษ์วัดแจ้งไปเที่ยวในฝั่งพระนครด้วย เพราะเห็นใจที่เจ้ายักษ์ต้องยืนเฝ้าวัดมาหลายร้อยปี จึงเสกให้ยักษ์ตัวหดเล็กเท่ามนุษย์และมีชีวิตอีกครั้ง ก็เกิดคิดอยากเจอเจ้ายักษ์จีน ที่วัดโพธิ์ ชบาก็เสกให้ยักษ์วัดโพธิ์มีชีวิตขึ้นมาเช่นเดียวกัน ทั้ง 3 ต่างเที่ยวในที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพอย่างอิ่มหนำ ยักษ์วัดแจ้งต้องการยืดเส้นยืดสายจึงขอเงินจากยักษ์วัดโพธิ์ไปเที่ยวบีบ ๆ นวด ๆ กับสาว ๆ ที่เมื่อร่ายจากการทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลรักษาวัดมายาวนาน แต่ยักษ์วัดโพธิ์กลับปฏิเสธ เพราะเมื่อคราวก่อนก็ยังไม่ได้เงินใช้คืน ยักษ์วัดแจ้งโมโหจึงเกิดวางมวยขึ้นมา ทั้งสองกลับร่างเป็นร่างยักษ์ตามเดิม ห่ำหั่นจนบ้านเมืองพังพินาศ ส่วนชบาเกิดเสื่อมอำนาจที่จะทำให้ทั้งสองกลับคืนสภาพ แต่แล้วชีปะขาวที่บำเพ็ญศีลมาเป็นเวลานาน จึงต้องเข้ามาช่วยปราบยักษ์ทั้งสองให้กลับมาทำหน้าที่เฝ้าวัดเหมือนเดิม ซึ่ง บริเวณที่ถูกทำลายอย่างราบคาบนั้นจึงเรียกว่า ท่าเตียน ในเวลาต่อมา
ยอดชาย (2516)
ยอดชาย (2516/1973) ภาพยนตร์แนวใหม่ล่าสุด มีพร้อมทุกรส จากผลงานการสร้างของ...เซ๊าท์อีสเอเซียฟิล์ม ที่เคยสร้างความประทับใจมาแล้ว ขอประกันความดีเรื่องนี้ ซึ่งจะจารึกอยู่ในความทรงจำของท่านนานเท่านาน 35 ม.ม.สโคป สี เสียงในฟิล์ม
เจ้าสาวเรือพ่วง (2516)
เจ้าสาวเรือพ่วง (2516/1973) ข้อความบนใบปิด พงศ์ไทยภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์รักสดชื่น ครื้นเครงเฮฮา ระบบ 35 ม.ม. สีสโคป สีสวยสด MADE IN HONG KONG เจ้าสาวเรือพ่วง ของ ชูวงศ์ ฉายะจินดา นำโดย เพชรา เชาวราษฎร์ เป็นแม่หม้ายสาวลูกติดทรงเสน่ห์ ครรชิต ขวัญประชา ทม วิศวชาติ, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, เมตตา รุ่งรัตน์, อรสา อิศรางกูร, อดุลย์ ดุลยรัตน์, อภิญญา วีระขจร, มนัส บุณยเกียรติ, ชุมพร เทพพิทักษ์, 3 ดาราเด็กน่ารัก และ ฤทธี นฤบาล จิตติน กำกับการแสดง อดิสรณ์ ที่ปรึกษาฝ่ายสร้าง ศุภกิตติ์ สงวนไทย อำนวยการสร้าง โชน บุนนาค กำกับฝ่ายเทคนิค พูนสวัสดิ์ ธีมากร ถ่ายภาพ ประกอบ ใหญ่ศิริ สร้างฉาก ลัดดา ประทัปสิงห์ ดำเนินงาน อัศวินภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
รัญจวนจิต (2516)
รัญจวนจิต (2516/1973) ข้อความบนใบปิด พงษ์สว่างภาพยนตร์ เสนอ...ภาพยนตร์รักซึ้งจิต ชีวิตประทับใจ... รักมิใช่มีไว้ให้คุณเลือก...แต่ให้คุณรักชั่วนิจนิรันดร์ รัญจวนจิต จากบทประพันธ์ของ...ทัศนียา วลัยรัตน์ 35 ม.ม.สโคป ไพโรจน์ ใจสิงห์ วันดี ศรีตรัง อรสา พรหมประทาน นำแสดง ร่วมด้วย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, สุพรรณ บูรณพิมพ์, สุวิน สว่างรัตน์, มารศรี, บรรชา, สมพร, สิงห์ มิลินทราศัย, สุรพล, เทียม, ชาตรี, ชาตรี คัทรีย์, เพิ่ม ฯลฯ และดาราเจ้าบทบาทคนใหม่ วันชนะ มีศักดิ์ศรี, อมร เมฆินทร์, รุ่งฟ้า ปราณี ฉลอง เพชรเสนา กำกับการแสดง เพชร บางกอก สร้างบทภาพยนตร์ ลิขิต กฤษณมิตร ถ่ายภาพ สมชาย พงษ์สว่าง อำนวยการสร้าง ประสงค์ ดำเนินสดวก ดำเนินงานสร้าง
ส้มตำ (2516)
ส้มตำ (2516/1973) ข้อความบนใบปิด ทรงพระเจริญ ภาพยนตร์สหะนาวีไทย เสนอ จากพลังพระบารมีปกเกล้าฯ จึงใช้ทุนสร้างกว่า..4 ล้านบาท จากผลงานล่าสุดของ สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ ให้ยิ่งใหญ่สมกับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส้มตำ อัญเชิญพระราชนิพนธ์เพลงของ..”เจ้าฟ้าหญิงสิรินทรเทพรัตนสุดา” 35 ม.ม.ซีเนมาสโคป เสียงในฟิล์ม สมบัติ เมทะนี พิศมัย วิไลศักดิ์ ถวายชีวิตแสดง ศรีไพร ใจพระ, กฤษณะ อำนวยพร, โขมพัสตร์ อรรถยา, บุปผา สายชล, ไกร ครรชิต, วัฒนา กีชานนท์, สังข์ทอง สีใส, สุวิน สว่างรัตน์, ชูชัย, สุรชาติ ไตรโภค, “พันคำ” “เนรมิต” กำกับการแสดง อนันต์ อินละออ ถ่ายภาพ พร้อม รุ่งรังษี สร้างบทภาพยนตร์ สง่า อนันตวิไลกิจ อำนวยการสร้าง ชุลี เมรุดิษฐ์-สาทิต ตินตะบุตร ดำเนินงานสร้าง ร่วมใจฟิล์ม จัดจำหน่าย
ไอ้แดง (2516)
ไอ้แดง (2516/1973) ข้อความบนใบปิด ต๊อกบูมภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์เสียงสีซีเนมาสโคป 35 ม.ม. ไอ้แดง ของ ล้อต๊อก นำแสดงโดย เพชรา เชาวราษฎร์ พระเอกใหม่ อนันต์ สัมมาทรัพย์ ทีมดาราคับคั่ง ประจวบ ฤกษ์ยามดี, แมน ธีระพล, สุมาลี ชาญภูมิดล, วิภารัตน์ เปรื่องสุวรรณ, ผ่องศรี วรนุช, มาลี เวชประเสริฐ, มนัส บุณยเกียรติ, สมจิตร ทรัพย์สำรวย, อบ บุญติด, พฤหัส บุญหลง, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, ชูศรี มีสมมนต์, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ล้อต๊อก, วิลาศ, สันติ ฯลฯ พร้อมทั้งลูกทุ่งหุ่นสำอาง ไพรวัลย์ ลูกเพชร, รุ่งระวี หนองแค และชาวคณะต๊อกบูม รักตลก ครื้นเครง 5 เพลงไพเราะ รังสี ทัศนพยัคฆ์ กำกับการแสดง สมจิตร ทรัพย์สำรวย อำนวยการสร้าง ธีระ แอคะรัจน์ ถ่ายภาพ เสรีภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
พรานเพชฌฆาต (2516/1973) ไชยา-ชินอิจิ ชิบะ-เหมียวเข่อ ซิ่ว ข้อความบนใบปิด BR ชวนชม เกียรติของไทย ยิ่งใหญ่ระดับโลก 4 ประเทศ ทุ่มทุนสร้าง 14 ล้านบาท พรานเพชฌฆาต 35 ม.ม.ซีเนม่าสโคป สี-เสียง ไชยา สุริยัน (ไทย) ชินอิจิ ชิบะ (ญี่ปุ่น) เหมียวเข่อ ซิ่ว (ฮ่องกง) คิมชางซุก (เกาหลี) ฮิโรกิ มัตสึคาตะ (ญี่ปุ่น), เกชา เปลี่ยนวิถี (ไทย), ปริม ประภาพร (ไทย) เอส.วี.ฟิล์ม จัดจำหน่ายทั่วเอเชีย *เกร็ดเพิ่มเติม -หนังเรื่องนี้มีบุรินทร์ วงศ์สงวน เป็นผู้อำนวยการสร้าง และมีสมโพธิ แสงเดือนฉาย เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการสร้าง โดยมีการร่วมสร้างกับญี่ปุ่นและเกาหลี และมีดาราจาก 4 ชาติร่วมแสดง คือไทย, ญี่ปุ่น, เกาหลี และฮ่องกง -กำกับโดยพจนารถ เกศจินดา ร่วมกับผู้กำกับญี่ปุ่น ซาดาโอะนากาจีม่า (ข้อมูลจากหนังสือโลกดารา) -ดาราสาวชาวญี่ปุ่นอีกคนที่ร่วมแสดง (ไม่มีชื่อในใบปิด) คือ มิสุเอะ โอริโดชิ  (ที่มา :Thai Movie Posters)
อะไรกันนักหนา (2516/1973) ข้อความบนใบปิด เอกรินทร์ภาพยนตร์ อะไรกันนักหนา ของ ฉกาจ ปูคะวนัช รัก ผจญภัย ครื้นเครง เฮฮา สุทิศา พัฒนุช สายัณห์ จันทรวิบูลย์ ภูษิต อภิมัน โฉมฉาย ฉัตรวิไล พนม นพพร โสภา สถาพร นำ ร่วมด้วย สุวิน สว่างรัตน์, เมืองเริง ปัทมินทร์, โสภิต, สังข์ทอง สีใส, ดาวน้อย ดวงใหญ่, ศรีสละ ทองธารา และ นาฏศิลป์อินทรดารา ไสว เชื้อพลายเวช อำนวยการสร้าง อัศนีย์ สุวรรณทัต-สล้าง สราภัยวาณิช ถ่ายภาพ ฉกาจ ปูคะวนัช กำกับการแสดง-กำกับบท มงคลฟิล์ม จัดจำหน่าย *ใบปิดวาดโดย บรรหาร (ที่มา :Thai Movie Posters)
กระสือสาว (2516)
กระสือสาว (2516/1973) ข้อความบนใบปิด บริษัทศรีสยามโปรดัคชั่นจำกัด เสนอ ภาพยนตร์ระทึกขวัญ สั่นประสาท กระสือสาว จาก นิยายภาพอันลือลั่นของ ทวี วิษณุกร 35 ม.ม.สี สโคป นำโดย สมบัติ เมทะนี พิศมัย วิไลศักดิ์ ชุมพร เทพพิทักษ์, เมตตา รุ่งรัตน์, แมน ธีระพล, อรสา อิศรางกูร, ล้อต๊อก, สังข์ทอง สีใส ฯลฯ ส.เนาวราช กำกับการแสดง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ บันลือ อุตสาหจิต อำนวยการสร้าง จัดจำหน่ายทั่วประเทศโดย บริษัทศรีสยามโปรดัคชั่นจำกัด
วางฟูซาน (2516)
วางฟูซาน (2516/1973) หลิน (มิสหลินจี้) สาวชาวจีนซึ่งรักใคร่ชอบพอกับ แมน (ยอดชาย เมฆสุวรรณ) ที่เดินทางไปแสวงโชคเล่นการพนันที่เกาะฮ่องกง ต่อมาแมนมีเรื่องกับนักเลงในบ่อน จึงหนีกลับกรุงเทพฯ และไปอาศัยอยู่ต่างจังหวัด ปล่อยหลินรอคอยการกลับมา ต่อมาแมนติดต่อให้หลินมาเป็นนักร้องที่บาร์แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ แต่เมื่อหลินเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ แมนก็เห็นว่า หลินตั้งท้อง บาร์จึงไม่รับหลินไว้เป็นนักร้อง แมนก็จำใจให้หลินไปอยู่บ้านเช่าเพื่อคลอดลูก ส่วนตัวเองก็ปอกลอกเงินทองของหลินไปปรนเปรอผู้หญิงอื่นจนเงินหลินหมด ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน หลินก็เลยถูกไล่ออกจากบ้านเช่า หลินจึงอุ้มท้องไปคลอดลูกที่เพชรบุรี คลอดลูกมาเป็นหญิงตั้งชื่อว่า หลิว (ด.ญ.พิไลพร เวชประเสริฐ) และปักหลักทำมาหากินที่นั่น ต่อมาแมนไปเปิดบ่อนพนันที่เพชรบุรีและถูกรุมทำร้าย หนูหลิวจึงพาแมนมาหาแม่ตัวเอง แต่หลินก็ยังไม่ยอมให้อภัยแมนจนลูกต้องขอร้อง แม่จึงยอมให้อยู่บ้านเดียวกัน แมนเริ่มทำตัวเป็นคนดี รักลูก รักเมียและช่วยทำงานไร่ ต่อมาแมนกับลูกสาวไปขายพืชไร่ที่ตำบลอื่น พอกลับถึงบ้านก็พบว่า ตำรวจจับหลินส่งกลับไปฮ่องกงแล้วเพราะวีซ่าหมดอายุ ฝ่ายหลินเมื่อกลับถึงฮ่องกง ก็ได้แต่เสียใจ จึงไปที่เขาวางฟูซานเพื่อนึกถึงอดีตรักของตนกับแมน คิดว่า ชาตินี้คงจะไม่ได้เจอหน้าผัวหน้าลูกอีกแล้ว จึงจะกระโดดเขาตาย แต่แมนกับลูกก็มาห้ามไว้ทัน
คนองกรุง (2516)
คนองกรุง (2516/1973) ข้อความบนใบปิด นครพิงค์ภาพยนตร์ เสนอ สี่สาวเลือดสู้จากสี่ทิศตะลุยแหลก ชายเก่งกาจมีมาก หญิงอย่างนี้มีที่ไหน คนองกรุง 35 ม.ม.สีอุลตร้าสโคป สมบัติ เมทะนี สุทิศา พัฒนุช โสภา สถาพร เมตตา รุ่งรัตน์ โขมพัสตร์ อรรถยา ปริม ประภาพร, ดามพ์ ดัสกร, คมน์ อรรฆเดช, ศรัทธา, จอมใจ จรินทร์, วิภาวดี ตรียะกุล อ.อรรถจินดา-ชนะ คราประยูร สร้างเรื่อง ปริศนา สร้างบท โสภณ เจนพาณิชย์ ถ่ายภาพ สนาน-ชนะ คราประยูร กำกับการแสดง