สาลิกาดง (2513)
สาลิกาดง (2513/1970) ข้อความบนใบปิด พิจิตรภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์บู๊ ครื้นเครง ชีวิต ‘ฮิท’ จากนิตยสาร ‘บางกอก’ สาลิกาดง ของ มธุรส สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ ศศิธร เพชรรุ่ง สุมาลี ทองหล่อ อนุชา รัตนมาลย์, ปิ่นนเรศ ศรีนาคาร, พร ไพโรจน์, พุทธชาติ, กุญชร, สุวิน สว่างรัตน์, วินัย, ประณีต คุ้มเดช, นวลศรี, ฉกาจ, วีระพล, พรชัย, หมี ประทีป โกมลภิส กำกับการแสดง เฉลียว เทียนทอง อำนวยการสร้าง เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ บรการ ‘พิจตรภาพยนตร์’ จัดจำหน่าย
เรือมนุษย์ (2513)
เรือมนุษย์ (2513/1970) นวนิยายอื้อฉาว กราวเกรียวที่สุด ถึงกับได้รับรางวัลวรรณกรรมเยี่ยมยอดประจำปี จาก ซีโต้ เพราะเรื่องยอด เย้ายวนหอมหวาน ดอกดิน กำกับให้เป็นพิเศษ
มนต์รักลูกทุ่ง (2513)
มนต์รักลูกทุ่ง (2513/1970) ตำนานความรักของคล้าว (มิตร ชัยบัญชา) ที่รักอยู่กับทองกวาว (เพชรา เชาวราษฎร์) แต่พ่อกับแม่ทองกวาวไม่ชอบเพราะความที่คล้าวจนและโดนยึดที่นาเพราะเป็นหนี้กับพ่อจอม ทองก้อน และ ทับทิม เพราะความยากจนของคล้าวที่เป็นเพียงชาวนาทำให้ผู้ใหญ่ก้อนพ่อของทองกวาวพยายามกีดกัน ทองกวาวจึงเอาเงินที่มีอยู่มาให้คล้าวใช้หนี้ จอมโกรธที่ยึดที่นาของคล้าวไม่ได้ จึงไปต่อว่า ทองก้อน พ่อและแม่ของทองกวาว จึงส่งทองกวาวไปอยู่กับป้าทองคำที่กรุงเทพ โดยให้มีบุปผา (บุปผา สายชล) และหมึก ไปดูแล ทองกวาวได้รู้จักกับธรรมรักษ์ หลานของป้าทองคำ ซึ่งป้าทองคำหวังจะให้หลานทั้งคู่แต่งงานกัน เพื่อสมบัติจะได้ไม่ตกเป็นของคนอื่น คล้าวเศร้าโศกเสียใจที่น้ำท่วมทุ่งนาข้าวเสียหาย ได้พวกคอยปลอบ จึงบอกบุญเย็น (ไพรวัลย์ ลูกเพชร) ให้ตามหาทองกวาว บุญเย็นพบทองกวาวที่กรุงเทพและบอกเรื่องคล้าว ทองกวาวขอให้บุญเย็นบอกคล้าวว่าทองกวาวอยากให้คล้าวมาสู่ขอแต่พ่อแม่ของทองกวาวกลับเรียกค่าสินสอดสิบหมื่น ธรรมรักษ์เสียการพนัน หวังจะหลอกเอาเงินป้าทองคำจึงทำเป็นชอบทองกวาว โดยให้เพื่อนชื่อ ธีระ หัวหน้าวงดนตรีมากันบุปผา ทั้งหมดเดินทางมาบ้านทองกวาว แต่ด้วยความคิดถึงทองกวาวรีบมาหาคล้าวกลับพบว่าคล้าวอยู่กับสายใจ ทำให้ทองกวาวเข้าใจผิด ทองกวาวจึงตกลงหมั้นกับธรรมรักษ์ แต่ธรรมรักษ์มีฤทัยเป็นภรรยาอยู่ บุญเย็นจึงพาฤทัยมาบ้านทองกวาว ธรรมรักษ์โกรธมาก บอกฤทัยเป็นนักร้องในวงธีระ ฤทัยแกล้งตีสนิทกับคล้าวเพื่อให้ธรรมรักษ์หึง แล้วป้าทองคำจึงไล่ธรรมรักษ์และเมียกลับไป แต่ข่าวการหมั้นของทองกวาวกับธรรมรักษ์ที่ทองก้อนประกาศไปเข้าหูเสือทุม ได้จับตัวทองกวาวและป้าทองคำไปเรียกค่าไถ่ คล้าวและตำรวจตามไปช่วยไว้ทัน คล้าวกับพรรคพวกได้ช่วยเหลือทองกวาวและป้าทองคำให้พ้นจากคนร้าย ซึ่งทำให้พ่อทองก้อนและแม่ทับทิมไม่กล้าปฏิเสธ ทั้งคู่จึงได้แต่งงานกัน
ว่าวน้อย (2513)

ว่าวน้อย (2513/1970) มิตร-ชัชฎาภรณ์ พงษ์มิตรภาพยนตร์ เสนอ ความรักระหว่างไพร่-ผู้ดี ก็มีรักเหมือนกัน สุขสันต์ หรรษา เฮฮา ใน... ว่าวน้อย นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา ชัชฎาภรณ์ รักษนาเวศ อนุชา รัตนมาลย์ ใจดาว บุษยา ขบวนดาราคับคั่ง ทรงวุฒิ, เสน่ห์ โกมารชุน, สมศรี อรรถจินดา, ดาวน้อย ดวงใหญ่, โยธิน เทวราช, ชูศรี มีสมมนต์, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ชิดชัย, วัชรเกียรติ, อบ บุญติด, วงทอง ผลานุสนธิ์, ทองฮะ, ปราณีต คุ้มเดช ฯลฯ วิเชียร วีระโชติ ถ่ายภาพ สมพงษ์ พงษ์มิตร กำกับการแสดง อนันต์ ชลวนิช ลำดับภาพ-กำกับบท สนั่น นาคสู่สุข อำนวยการสร้าง

 
แม่ย่านาง (2513)
แม่ย่านาง (2513/1970) ข้อความบนใบปิด อัมพรภาพยนตร์ ขอเชิญท่านฟัง 5 เพลงเอก ในระบบ 35 ม.ม. เสียงในฟิล์มที่จงใจสร้างขึ้นเฉพาะ เยี่ยมแท้วิเศษจริง จึงถูกเลือกให้เป็นภาพยนตร์ประเดิมชัย เปิดโรงภาพยนตร์ใหม่ในพระนคร แม่ย่านาง นำโดย มิตร ชัยบัญชา พิศมัย วิไลศักดิ์ โสภา สถาพร และรวมดาราจากหลายสาขาคือ วัฒนา กีชานนท์, รองเค้ามูลคดี, ส.อาสนจินดา, ล้อต๊อก, จำรูญ หนวดจิ๋ม, ถนอม นวลอนันต์, สีเทา, เชาว์ แคล่วคล่อง, พฤหัส บุญหลง และอีกมากเป็นประวัติการณ์ เนรมิต กำกับการแสดง อนันต์ อินละออ ถ่ายภาพ ร่วมใจฟิล์ม จัดจำหน่าย
ทุ่งมหาราช (2513/1970) ข้อความบนใบปิด รุ่งโรจน์ภาพยนตร์ ผู้สร้าง “ภูพานอย่าร้องไห้” “นางละคร” เสนอภาพยนตร์ชีวิตต่อสู้ยิ่งใหญ่ประจำปี 2513 ทุ่งมหาราช จากวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ในชีวิตของ ‘เรียมเอง’ สมบัติ เมทะนี สุทิศา พัฒนุช ทักษิณ แจ่มผล ชุมพร เทพพิทักษ์, ชาณีย์ ยอดชัย, ทัต เอกทัต, ประมินทร์ จารุจารีต, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ทองฮะ, สีเทา ขอเสนอดาวยั่วดวงใหม่ มาลาริน บุนนาค, นกเริง รัมภา เนตรดาว นภาพรรณ ฟังเพลงในระบบ 35 ม.ม. จากการขับร้องของ สมบัติ เมทะนี, ชรินทร์ นันทนาคร, สวลี ผกาพันธุ์, ฉลอง สิมะเสถียร, รอง เค้ามูลคดี, ประสานศรี สิงหานนท์ ส.อาสนจินดา กำกับการแสดง วิเชียร วีระโชติ, วินิจ ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ ไพโรจน์ เย็นอุรา อำนวยการสร้าง ชาลี อินทรวิจิตร-อ.กวี สัตโกวิท สร้างเพลง อุไร ศิริสมบัติ สร้างฉาก คณะอัชชาวดี โดย จีราภา ปัญจศีล เสนอเป็นละครวิทยุ
ฝนเดือนหก (2513)
ฝนเดือนหก (2513/1970) ข้อความบนใบปิด พิษณุภาพยนตร์ เสนอภาพยนตร์ชีวิต เพลงลูกทุ่งยิ่งใหญ่! มิตร ชัยบัญชา อรัญญา นามวงษ์ โสภา สถาพร และ ฉัตร มงคลชัย ร่วมด้วย พฤหัส บุญหลง, พยงค์ มุกดาพันธ์, โขมพัสตร์ อรรถยา, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ, แป้น ปลื้มสระไชย, พรชัย, เมฆ ฝนเดือนหก ของ จักรา ฟัง 9 เพลงไพเราะ ตลกเฮฮา บู๊อย่างว่า 35 ม.ม. สันทัด ศรีสัมพันธ์ ถ่ายภาพ วิจารณ์ ภักดีวิจิตร กำกับการแสดง-อำนวยการสร้าง
วนาสวรรค์ (2513)
วนาสวรรค์ (2513/1970) สมบัติ-พิศมัย ข้อความบนใบปิด รังษิยาฟิล์ม ภูมิใจเสนอ ความยิ่งใหญ่และล้ำค่า ชาวประชาทั่วแดนไทยย่อมทราบดี จากบทประพันธ์ในนิตยสารบางกอก และละครวิทยุท็อปฮิท คณะแก้วฟ้า วนาสวรรค์ ของ เทพเทวี ดาราเงินล้าน พิศมัย วิไลศักดิ์ สมบัติ เมทะนี โสภา สถาพร ดารายอดนิยม สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, เมตตา รุ่งรัตน์, ชาญ กัมปนาท, กำจาย คุณะดิลก, สมชาย ศรีภูมิ, ชฎาพร วชิรปราณี, เทียนชัย, เสริมพันธ์ สุทธิเนตร, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, สรวง, นุจรี และรังษิยา บรรณกร สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ ที่ปรึกษา จิรวรรณ กัมปนาทแสนยากร อุปการะ รังษิยา บรรณกร อำนวยการสร้าง ศักดา ธงชัย ดำเนินงานสร้าง อนุมาศ บุนนาค กำกับการแสดง แสวง ดิษยวรรธนะ ถ่ายภาพ
หวานใจ (2513)
หวานใจ (2513/1970) หวานใจ เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2513 เป็นผลงานการกำกับของ ส.อาสนจินดา สร้างโดย ชื่นจิตภาพยนตร์ โดยมี สายจิตต์ ตันตรวงศ์ เป็นผู้อำนวยการสร้าง
ไอ้สู้ (2513)
ไอ้สู้ (2513/1970) ข้อความบนใบปิด เทียน-ศิวาพร สุยสว่าง อำนวยการสร้าง ศิวาพรฟิล์ม จัดจำหน่าย ไอ้สู้ สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ ส.อาสนจินดา, ทม วิศวชาติ, เมตตา รุ่งรัตน์, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ชุมพร เทพพิทักษ์, สุวิน สว่างรัตน์, อรสา อิศรางกูร, มนัส บุณยเกียรติ, ศิริพงษ์ อิศรางกูร, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, พัลลภ พรพิษณุ, ชาณีย์ ยอดชัย, จำรูญ หนวดจิ๋ม, พิภพ ภู่ภิญโญ, วลิต สนธิรัตน์, เทอด ดาวไท, ดาวน้อย ดวงใหญ่, ฉกาจ, บิส, พิส, ทวน, สมชาย แสดงนำ รุ่งฤดี จัดทำละครวิทยุ ส.อาสนจินดา กำกับการแสดง แสวง ดิษยวรรธนะ ถ่ายภาพ อดิศักดิ์ รัตนศักดิวิบูลย์ ดำเนินงาน ไกสร โกศลวิจิตร กำกับบท สุธรรพ์ ธนะประวิตร-พร พิรุณ สร้างเพลง
ฝนใต้ (2513)

ฝนใต้ (2513/1970) ข้อความบนใบปิด บางกอกการภาพยนตร์ โดย ฉลอง ภักดีวิจิตร 2 ตุ๊กตาทองพระราชทาน ฝนใต้ บทประพันธ์ ของ เทอด ธรณินทร์ ฟัง 6 เพลงเอก ในระบบ 35 ม.ม. เสียงในฟิล์ม นำโดย สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ ดาราคู่ขวัญประชันยอดลูกทุ่ง เพลิน พรหมแดน กังวานไพร ลูกเพชร นวลละออง รุ้งเพชร ร่วมด้วย พันคำ, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, อดุลย์ ดุลยรัตน์, เสน่ห์ โกมารชุน, วาสนา ชลากร, จอมใจ จรินทร, สุวิน สว่างรัตน์, ชาณีย์ ยอดชัย และด.ช.ปรีชา เกิดกำแพง ส.อาสนจินดา สร้างบท วิสิทธิ์ แสนทวี ถ่ายภาพ ฉลอง ภัดีวิจิตร กำกับการแสดง รัตนาชัยฟิล์ม จัดจำหน่าย

 
กิ่งแก้ว (2513)

กิ่งแก้ว (2513/1970) มิตร-สุทิศา-โสภา ข้อความบนใบปิด อินทรวิจิตรภาพยนตร์ เสนอ ไม่ใช่ชาติ ไม่ใช่เชื้อ ถ้ามีความเอื้อเฟื้อ ก็เหมือนเนื้ออาตมา... ที่เป็นชาติที่เป็นเชื้อ ถ้าขาดความเอื้อเฟื้อ ก็เหมือนเสือที่อยู่ในป่า... ”กิ่งแก้ว” เกี่ยวก้อยกันมา จากป่าเถื่อนฟ้าจรดน้ำทะเล กิ่งแก้ว ของ “อรจิตต เพลงในระบบ 35 ม.ม. “3 เพลง”” มิตร ชัยบัญชา สุทิศา พัฒนุช โสภา สถาพร พร้อมด้วย ประจวบ ฤกษ์ยามดี, อดุลย์ ดุลยรัตน์, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, สุวิน สว่างรัตน์, ธัญญา ธัญญารักษ์, โขมพัสตร์ อรรถยา, มารศรี อิศรางกูร, ชฎาพร วชิปราณี, และ 2 นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง ชินกร ไกรลาศ, กังวานไพร ลูกเพชร ชาลี อินทรวิจิตร กำกับการแสดง ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, สมพงษ์ วงศ์รักไทย อำนวยการสร้าง ทินกร ทิพย์มาศ ถ่ายภาพ

 
พระจันทร์แดง (2513)
พระจันทร์แดง (2513/1970) ปาริชาต (อรัญญา นามวงศ์) ต้องประสบปัญญาชีวิตเมื่อบิดาถึงแก่กรรม อีกทั้งยังถูกฟ้องล้มละลายและถูกยึดบ้าน คู่หมั้นก็มาถอนหมั้น จึงตัดสินใจเดินทางไปเป็นครูที่บ้านหนองโหงตามหนังสือที่ติดต่อมา เธอเดินทางมาถึงหมู่บ้านหนองโหงเป็นเวลาเกือบเที่ยงคืนแล้ว ปาริชาตเป็นไข้จึงขึ้นไปที่บ้านพักของสุขศาลา แต่กลับพบตัวประหลาดร่างกายเป็นมนุษย์ ศรีษะและแขนเป็นเสือ ปาริชาตหนีเข้าไปในห้องแต่ตัวประหลาดก็พ้งประตูตามเข้าไป ขณะที่ตัวประหลาดกำลังจะทำร้ายปาริชาตดวงจันทร์ก็เคลื่อนผ่านพ้นเที่ยงคืน ตัวประหลาดหันหลังวิ่งข้ามหน้าต่างไป ส่วนปาริชาตเป็นลมด้วยความตกใจกลัว เมื่อปาริชาตฟื้นขึ้นมาตอนเช้าก็พบหมอศมา (มิตร ชัยบัญชา) กำลังดูแลตนเองอยู่ ปาริชาตเล่าเรื่องที่ตนเองประสบให้ฟ้ง แต่หมอศมาบอกว่าเธอตาฝาดเพราะพิษไข้ เมื่อปาริชาตแข็งแรงแล้วหมอศมาจึงพาไปที่บ้านพักโรงเรียน แต่แล้วเธอต้องประสบปัญหาความเจ้าชู้ของครูใหญ่ (อดุลย์ ดุลย์รัตน์) และความหึงหวงของบรรดาเมียของครูใหญ่ ปาริชาตทำความสนิทสนมกับชาวบ้านและเด็กจนได้ทราบว่า ตัวประหลาดที่เธอพบคือ "สาง" เป็นวิญญาณเสือร้ายที่เข้าสิงสู่มนุษย์ และจะออกล่าเหยื่อทุกคืนวัน 15 ค่ำ ในที่สุดปาริชาตก็สืบจนได้รู้ความจริงว่า ผู้ที่ถูกวิญญาณร้ายเข้าสิงก็คือหมอศมา และผู้ที่ปลุกวิญญาณร้ายขึ้นมาก็คือ ยูโซ๊ะ (ล้อต๊อก) หมอผีซึ่งมีความอาฆาตแค้นกับพ่อของหมอศมา มาแต่อดีต อีกทั้งยูโซ๊ะไม่พอใจที่หมอศมานำวิชาแพทย์สมัยใหม่มารักษาชาวบ้าน ทำให้ตนเองเสื่อมความศรัทธาจากชาวบ้าน เมื่อถึงคืนวัน 15 ค่ำ ยูโซ๊ะปลุกวิญญาณสางให้เข้าสิงสู่หมอศมา ขณะที่หมอศมากำลังจะกลายร่างเป็นสาง ปาริชาตซึ่งอยู่ในที่นั้นได้พยายามปลุกเร้าให้หมอศมาทำจิตใจให้เข้มแข็งสู้กับอำนาจวิญญาณร้าย ในที่สุดปาริชาตยอมพลีร่างเป็นเมียของหมอศมาทำให้วิญญาณร้ายเข้าสิงสู่หมอศมาไม่สำเร็จและเป็นการทำลายอาถรรพ์ เมื่อวิญญาณร้ายเข้าสิงสู่หมอศมาไม่สำเร็จจึงย้อนมาสิงสู่ยูโซะ ทำให้ยูโซะกลายเป็นสาง เมื่อสางยูโซะจะทำร้ายปาริชาตจึงถูกหมอศมายิงด้วยลูกปืนลงอาคมที่พ่อหมอศมาซ่อนเอาไว้ทำให้วิญญาณร้ายดับสูญไป ความสงบสุขกลับมาที่หมู่บ้านหนองโหงอีกครั้ง หมอศมากับปาริชาตก็ครองคู่กันสืบต่อมา
รักชั่วฟ้า (2513)
รักชั่วฟ้า (2513/1970) รักของ ซูจินน่า สาวไทยเชื้อสายจีนกับ จักรี หนุ่มนักเรียนนอกต้องมีอันพลัดพราก เมื่อมารดาของซูจินส่งข่าวให้เธอกลับมาที่เมืองไทยเนื่องจากทางบ้านกำลังมีปัญหาเดือดร้อน โดยทั้งคู่ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะกลับมาพบกัน ครั้นถึงเมืองไทย ซูจินกลับต้องแต่งงานกับ เรืออากาศเอก วีระ นายทหารหนุ่ม เพื่อช่วยเหลือเรื่องธุรกิจของครอบครัวเธอไว้ สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายมากขึ้น เมื่อซูจินพบว่าเธอเองนั้นกำลังตั้งท้อง
เรารักกันไม่ได้ (2513)
เรารักกันไม่ได้ (2513/1970) ข้อความบนใบปิด อัศวินภาพยนตร์ ขอเสนอภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ ซูเปอร์ซีเนสโคป 35 ม.ม.สีอิสต์แมน เขาห้ามไม่ให้เรารักกัน แต่เราก็รักกันจนได้ ใน... เรารักกันไม่ได้ สมบัติ เมทะนี มานพ อัศวเทพ พบ สุทิศา พัฒนุช ร่วมด้วย เมตตา รุ่งรัตน์, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, สายัณห์ จันทรวิบูลย์, แมน ธีระพล, พฤหัส บุญหลง, รุจิรา-มารศรี อิศรางกูร, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, ล้อต๊อก, เยาวเรศ นิสากร, ชฎาพร วชิรปราณี, อุไรวรรณ จันทร์ทิพย์, แป๊ะอ้วน, จุมพล ปริม บุนนาค อำนวยการสร้าง ภาณุพันธ์ กำกับการแสดง โชน บุนนาค ถ่ายภาพ อัศวินภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
เพลงรักแม่น้ำแคว (2513)
เพลงรักแม่น้ำแคว (2513/1970) ข้อความบนใบปิด สุริยเทพภาพยนตร์ โดย ไถง สุวรรณทัต ภูมิใจเสนอ เพลงรักแม่น้ำแคว THE SOUND OF RIVER KWAI 21 เพลงเอก 35 ม.ม.ซูเปอร์ซีเนมาสโคป สีอิสต์แมน เสียงในฟิล์ม สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ เมตตา รุ่งรัตน์ นำขบวนดาวลูกทุ่ง สังข์ทอง สีใส, ชินกร ไกรลาศ, พนม นพพร, สมานมิตร เกิดกำแพง, น้ำผึ้ง, ปทุมทิพย์, สรวง สันติ ฯลฯ และ เทิ่ง สติเฟื่อง, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, ท้วม ทรนง, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, จำรูญ หนวดจิ๋ม, เชาว์ แคล่วคล่อง, วิชิต ไวงาน, ถวัลย์ คีรีวัต, พิภพ ภู่ภิญโญ, ชาณีย์ ยอดชัย, พิศ, หม่อมชั้น พวงวัน ฯลฯ สมวงษ์ สุวรรณทัต อำนวยการสร้าง ภรณี สุวรรณทัต กำกับ อัศนีย์ สุวรรณทัต ถ่ายภาพ