ฝนเหนือ (2513)

ฝนเหนือ (2513/1970) เรื่องราวของเชิง ช่อตำแย และเพลิน เดียวดาย สองหนุ่มพเนจรเกิดไปขัดผลประโยชน์ของเสือคล้าม ที่หมายจะเอาที่ดินเขาชมพูของกำนันฉะมาเป็นของตน การห้ำหั่นกันด้วยชั้นเชิงจึงเกิดขึ้น ท่ามกลางความรักระหว่างเชิงกับฝนเหนือ และเพลินกับตุ๊กตุ่น ลูกสาวสุดหวงของกำนันฉะ ฝนเหนือ สาวน้อยที่เกิดมาท่ามกลางสายฝนที่ตกหนัก ลูกสาวกำนันฉะ ผู้กว้างขวางและคหบดีแห่งหมู่บ้านวังชมพู ที่ต้องร่วมมือกับ เชิง ช่อตำแย หนุ่มกะล่อนนักถ่ายรูป เพลิน เดียวดาย หนุ่มขี้เหงาหัวใจว้าเหว่ และไว ว่องวิทย์ หนุ่มบ้านนอกขี้กลัว เพื่อกำจัดเสือคร้าม ที่ปลอมตัวเป็นนักธุรกิจเพื่อที่จะมากว้านซื้อที่ดินในหมู่บ้านเพื่อใช้เป็นฐานในการผลิตยาเสพติด

เสน่ห์ลูกทุ่ง (2513)
เสน่ห์ลูกทุ่ง (2513/1970) ข้อความบนใบปิด บุศยรัตน์ภาพยนตร์ เสนอ โก้ เก๋ เท่ ทุ่ม ฟัง 14 เพลงในระบบ 35 ม.ม.เสียงในฟิล์ม เสน่ห์ลูกทุ่ง ของ บุศยรัตน์ สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ พบ ภาวนา ชนะจิต เมตตา รุ่งรัตน์, ชุมพร เทพพิทักษ์, เสถียร ธรรมเจริญ, พร ไพโรจน์, สุนทร, พีระพล, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, พิภพ ภู่ภิญโญ, หมี, พรชัย, ล้อต๊อก, ชูศรี มีสมมนต์, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม และลูกทุ่งเจ้าเสน่ห์ ชินกร ไกรลาศ, เรียม ดาราน้อย, พนม นพพร, ละอองดาว-สะกาวเดือน, ศรีไพร ใจพระ, พนาไพร, นพดล, สรวง สันติ, นฤมล, ดวงสมร, บุญมี เดชขจร, มานะชัย, ขุนแผน, ถนอม นวลอนันต์, เสนีย์ ถนอมรัตน์, ประจวบ จำปาทอง, ด.ญ.อรุณี ดารารับเชิญ เพลิดเพลินเพราะคุณภาพหนัง แถมยังได้ฟังและชมวงดนตรีลูกทุ่งถึง ห้า วงใหญ่ อนินธิตา นุตไพโรจน์-ธงชัย พิริยะจิตตะ อำนวยการสร้าง ปง อัศวินิกุล-ชูศักดิ์ ถ่ายภาพ “อนิรุทธิ์” กำกับการแสดง สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ ที่ปรึกษา ร่วมใจฟิล์ม จัดจำหน่าย
บ้านสาวโสด (2513)
บ้านสาวโสด (2513/1970) บ้านสุนทรพันธ์หรือที่คนทั่วไปเรียกว่าบ้านสาวโสด มีพี่น้องสามสาวคือ ประเทืองทิพย์ (จุรี โอศิริ) หยิบทหัย (ปริม ประภาพร) วไลพร (เมตตา รุ่งรัตน์) พากันดีใจเมื่อติ่ง (มิตร ชัยบัญชา / ครรชิต ขวัญประชา) ซึ่งเป็นหลานชายจะมาอยู่ด้วยเพื่อเรียนต่อ ทั้งสามสาวพยายามใช้เสน่ห์ยั่วยวนติ่ง แต่ก็ไม่ได้ผล ขณะเดียวกันหญิง สุระกานต์ (เพชรา เชาวราษฎร์) ลูกสาวอธิบดี (เชาว์ แคล่วคล่อง) ก็อ้างตัวว่าชื่อแต๋ว เข้าเป็นคนรับใช้ในบ้านสาวโสด ซึ่งสามสาวไม่ค่อยพอใจที่ติ่งหันไปสนใจแต๋วมากกว่า ประเทืองทิพย์จึงไปบอกพ่อแม่ของติ่งว่า ติ่งจะเอาคนใช้เป็นเมีย ส่วนติ่งเองก็สงสัยในพฤติกรรมของแต๋วจึงแอบไปสมัครเป็นคนสวนบ้านพ่อของแต๋วจนสืบรู้ความจริง แต่แต๋วก็ไม่พอใจที่เห็นติ่งไปสนิทสนมกับพิณ (จอมใจ จรินทร) เมียนายไปล่ (เมือง อพอลโล) คนขับรถในบ้านจนเกิดเรื่องชกต่อยกัน นายไปล่ถูกไล่ออกจากบ้าน จึงได้พาพวกเข้ามาปล้นบ้านอธิบดีเพื่อแก้แค้น แต่ติ่งและเพื่อนๆ ก็มาช่วยไว้ได้ทัน
สิงห์สาวเสือ (2513)
สิงห์สาวเสือ (2513/1970) ชาติชาย เกียรติกำจร (สมบัติ เมทะนี) เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจปีสุดท้าย แต่พอได้ข่าวว่า พ่อถูกฆ่าตาย ก็หนีออกจากโรงเรียนกลับไปบ้านที่ตำบลวังพญา จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อสืบหาตัวคนร้าย ที่ตลาดวังพญานั้นมี คุณหญิงปัทมา (อรัญญา นามวงษ์) เป็นเจ้าของตลาด แต่ในตลาดชอบมีนักเลงมาก่อกวน ปัทมาจึงจ้าง เสือหาญ (ไสล พูนชัย) เป็นผู้ดูแลตลาด ซึ่งเสือหาญก็ปราบพวกเกเรให้หมด แต่ชาติชายที่มาถึงใหม่ๆ ก็อยากลองของจึงแกล้งกวนเสือหาญต่อหน้าปัทมา ทั้งคู่ก็เลยเกิดเรื่องฟาดปากกัน แม้ว่าชาติชายจะเป็นคนชนะ แต่เพราะเห็นเสือหาญมีคนเชียร์เยอะกว่าและยังเป็นคนปราบนักเลงในตลาด ชาติชายก็เลยแกล้งแพ้เสือหาญ ส่วนปัทมาพอเห็นว่า เสือหาญชนะ ก็มอบสร้อยเป็นรางวัล ระหว่างนั้น นักเลงที่ถูกเสือหาญปราบไป ก็กลับมาลอบยิงเสือหาญ คราวนี้ ชาติชายก็เลยช่วยเสือหาญไว้และกลายเป็นเพื่อนกัน ต่อมาชาติชายทราบจากลุงว่า ผู้ที่บงการฆ่าพ่อตนก็คือ เสี่ยบู๊ (สิงห์ มิลินทราศัย) มีสมุนมือขวาเป็นเสือร้าย 2 คนคือ ไอ้เสือ (สุวิน สว่างรัตน์) และไอ้จอม (พิภพ ภู่ภิญโญ) ต่อมาเสี่ยบู๊ซึ่งหวังจะได้ปัทมาเป็นเมีย แค้นใจที่ผิดหวัง จึงฆ่าผู้จัดการป่าไม้ของปัทมาใส่กล่องส่งมาเป็นของขวัญวันเกิด ทุกคนในงานเกิดความกลัว ชาติชายเองเห็นภาพเหตุการณ์นี้ด้วย เมื่อได้รับทาบทามให้เป็นผู้จัดการป่าไม้แทน จึงตอบตกลงแม้ว่าปัทมาที่เริ่มชอบชาติชายแล้ว จะห้ามปรามเพราะกลัวชาติชายจะถูกฆ่าตายไปอีกคน ต่อมาเสี่ยบู๊จ้างชาติชายให้เลิกช่วยงานปัทมา เลิกยุ่งเกี่ยวกับปัทมาแต่ชาติชายไม่ยอม จึงเกิดการทะเลาะยิงปืนกัน ไอ้เสือสมุนมือขวาจะยิงชาติชาย แต่เสี่ยบู๊ห้ามไว้บอกว่า วันหลังค่อยจัดการ คืนหนึ่งขณะที่ชาติชาย-ปัทมาร้องเพลงพลอดรักกันในสวน เจ้าเสือก็มาลอบยิงชาติชายล้มพุบและจับตัวปัทมาไป แต่เสือหาญก็ตามไปช่วยกลับมาได้ ขณะที่ชาติชายรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล น้ำผึ้ง (สุมาลี ทองหล่อ) ลูกสาวของลุงชาติชายก็มาพูดบอกว่า ถ้าชาติชายหายป่วยจะแต่งงานกัน ทำให้ปัทมาที่รักชาติชายงอนและกลับบ้านไปเก็บตัวอยู่เงียบๆ จะหนีเข้ากรุงเทพฯ ต่อมาชาติชายสืบรู้แน่ชัดว่า เสี่ยบู๊เป็นคนฆ่าพ่อตน จึงจะไปแก้แค้น ก็เป็นเวลาเดียวกับที่เสี่ยบู๊ลงมือฆ่าพ่อปัทมา แล้วก็เผาตลาดและจับตัวปัทมาไป ชาติชายก็ตามไปช่วยมาปัทมามาได้
สวรรค์บ้านนา (2513)
สวรรค์บ้านนา (2513/1970) บทประพันธ์ของ ชุติมา สุวรรณรัต ละครวิทยุโดยคณะ แก้วฟ้า ฟัง 7 เพลงเอกในระบบ 35 ม.ม. จาก 4 นักประพันธ์เพลงชื่อก้อง ไพบูลย์ บุตรขัน, ประดิษฐ์ อุตตะมัง, กานต์ การุณวงศ์, วิมล จงวิไล
ลูกทุ่งเข้ากรุง (2513)

ลูกทุ่งเข้ากรุง (2513/1970) ข้อความบนใบปิด ศิวะลักษณ์ภาพยนตร์ ภูมิใจเสนอ นิยายรักระหว่างกำนันรูปหล่อ กับสาวโสภา นางพญาของเมืองกรุง ท่ามกลางเพลงรัก เพลงลูกทุ่ง ไอดิน กลิ่นหญ้า เฮฮาประทับใจ ใน... ลูกทุ่งเข้ากรุง ของ แสงหล้า ฟัง 11 เพลงเอก ในระบบ 35 ม.ม. นำโดย สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ เมตตา รุ่งรัตน์, โขมพัสตร์ อรรถยา, พร ไพโรจน์, ชุมพร เทพพิทักษ์, อนุชา รัตนมาลย์, สุวิน สว่างรัตน์, เมืองเริง ปัทมินทร์, วีระพล, พรชัย, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ชูศรี มีสมมนต์, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ดาวน้อย ดวงใหญ่, ชื้นแฉะ, ขุนแผน ภุมรักษ์, ถนอม นวลอนันต์, โขน หมอผี และลูกทุ่งชื่อดังก้องฟ้าเมืองไทย ศรีไพร ใจพระ, พนาไพร ลูกราชบุรี, ขวัญจิต-ขวัญใจ ศรีประจันต์, เรียม ดาราน้อย, นพพร เมืองสุพรรณ, พร บูรพา, วินัย แก้วส่งศรี และ จิ๋ว พิจิตร ยอดนักแต่งเพลง ชุมนุมนักแต่งเพลงชั้นยอด จิ๋ว พิจิตร, พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา อุดม ฤทธิดิเรก อำนวยการสร้าง เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ ประทีป โกมลภิส กำกับการแสดง

 
กายทิพย์ (2513)
กายทิพย์ (2513/1970) ข้อความบนใบปิด วัฒนภาพยนตร์ โดย ไพรัช กสิวัฒน์ ผู้สร้างผลงานยอดเยี่ยม น้อยไจยา จุฬาตรีคูณ สันกำแพง ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ เสนอผลงานวิเศษสุดประจำปี 2513 กายทิพย์ ของ เทพเทวี สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ โสภา สถาพร ประจวบ ฤกษ์ยามดี ร่วมด้วย ชนะ ศรีอุบล, สุมาลี ทองหล่อ, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, รุจน์ รณภพ, โขมพัสตร์ อรรถยา, ไกร ครรชิต, สมพงษ์ พงษ์มิตร, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สีเทา, ธัญญา ธัญญลักษณ์, อบ บุญติด, ปราณีต คุ้มเดช, แพน บรเพ็ด, พิมล และด.ช.อิงทอง ศรีเปีย ไพลิน พันธุ์พิริยะเจตน์ ดำเนินงาน ราม ทิพย์รจน์ บทภาพยนตร์ ชวลิต พละเดช ธุรกิจ สมเกียรติ พันธุ์พิริยะเจตน์-รสสุคนธ์ กสิวัฒน์ อำนวยการสร้าง ไพรัช กสิวัฒน์ กำกับการแสดง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ ฟังเพลงจาก 2 ดาราลูกทุ่ง เรียม ดาราน้อย กิ่งดาว จันทร์สวัสดิ์ นวฤทธิ์ฟิล์ม จัดจำหน่าย
รักเธอเสมอ (2513)
รักเธอเสมอ (2513/1970) ข้อความบนใบปิด ชรินทร์ นันทนาคร รับประกันคุณภาพ นันทนาครภาพยนตร์ เสนอ สมบัติ งามสง่า เพชรา หวานนัก รักเธอเสมอ ของ อิงอร มโหฬารที่สุดในรอบ 40 ปี เพราะยกกองไปถ่ายทำในงาน “เอ็กซ์โป 70” ทะเลสาบฮาโกเน่ ที่สวยที่สุดในโลก สวนสามพราน บ่อน้ำพุร้อนฝาง ลัดดาแลนด์ ฟัง! 9 เพลงมโหฬาร 35 ม.ม. รักเธอเสมอ, ไทยดำรำพัน, กาสะลองบานแล้ว, ฮักถิ่นไทยดำ, ไม่อยากบอกว่าคิดถึง, ปูน้อยหนีบมือ, รักเดียวกลางแสงเดือน, ซังคนหลายใจ และลีลาเพลง “รักเธอเสมอ” ชุมนุมดาราชั้นมาตรฐาน ประจวบ ฤกษ์ยามดี, อดุลย์ ดุลยรัตน์, ทักษิณ แจ่มผล, พันคำ, ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร, วาสนา ชลากร, วิไลวรรณ วัฒนพานิช ดาราทองพระราชทาน ชรินทร์ นันทนาคร-ลินจง บุนนากรินทร์ และ ล้อต๊อก ฯลฯ ชม! บทบาทใหม่ของนักร้องยอดเสน่ห์ ไทยดำรำพัน และชนะเลิศลูกทุ่งหญิง กิ่งดาว จันทร์สวัสดิ์ เชื่อถือได้เพราะ ส.อาสนจินดา สร้างบท ฉลอง ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ นันทวัต ลำดับภาพ ชรินทร์ นันทนาคร อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
ลำพู (2513)
ลำพู (2513/1970) ลำพู สาวงามแห่งแหลมตะลุมพุกที่พบรักกับหนุ่มเมืองกรุง ทั้งคู่สัญญารักนัดหมายกันว่าอีก 3 ปีชายหนุ่มจะกลับมาพบกับเธอที่สะพานคุ้งหิ่งห้อย แต่พอถึงวันนัดหมายเกิดมหาวาตภัยถล่มแหลมตะลุมพุก ทั้งคู่ก็พยายามฝ่าฟันอันตราย ฝ่าสายฝนและพายุไปยังจุดนัดพบ แต่ลำพูโชคร้ายถูกพายุพัดตกทะเลได้รับบาดเจ็บหน้าเสียโฉมจนไม่อยากพบใคร ขณะที่สมบัติเองก็ออกตามหาลำพูสาวคนรักอย่างไม่ย่อท้อและด้วยอานุภาพแห่งรักแท้ ทั้งคู่ก็ได้พบกันอีกครั้งโดยมีผ้าเช็ดหน้าดอกลำพูเป็นสื่อรักและสมบัติก็พาลำพูไปรักษาตัวจนใบหน้าสวยงามดังเดิม แล้วก็ครองรักกันอย่างมีความสุข
กำแพงเงินตรา (2513)
กำแพงเงินตรา (2513/1970) กำนันสิงห์ (ล้อต๊อก) มีลูกสาวสวยอยู่ 2 คน คนพี่ชื่อ สาหร่าย (มิสอันฮวา) คนน้องชื่อ ผึ้ง (เพชรา เชาวราษฎร์) ซึ่งกำนันสิงห์ทั้งรักและหวงมากๆ ถึงขนาดออกปากห้ามมิให้ใครมายุ่งเกี่ยวกับลูกสาวทั้งสองคน แต่ยง (มิตร ชัยบัญชา) ครูสอนดนตรีคนจนๆ ก็ยังตามจีบสาหร่ายเพราะหลงรักตั้งแต่แรกเห็น แต่ผึ้งก็กีดกันตลอด ต่อมาธรรมนูญ (อดุลย์ ดุลยรัตน์) นายอำเภอคนใหม่มาเยี่ยมกำนันสิงห์และได้พบกับสาหร่ายก็แสดงออกว่ารัก แต่กำนันสิงห์กลับไม่ขัดขวางเหมือนหนุ่มคนอื่นๆ ขณะเดียวกันยงซึ่งเข้ามาทำงานในบ้านกำนันสิงห์เพื่อใช้หนี้แทนน้า รู้เรื่องว่านายอำเภอจะมาสู่ขอสาหร่าย จึงคิดจะพาสาหร่ายหนี ผึ้งแอบได้ยินก็ไปบอกนายอำเภอให้หาทางแก้ไข เมื่อยงเข้าห้องสาหร่ายก็พบแต่ผึ้ง ด้วยความโกรธที่ผึ้งชอบเป็นตัวกัน ยงจึงจับตัวผึ้งไปแทน กำนันสิงห์แค้นใจมาก สั่งลูกน้องออกตามล่ายงทันที ระหว่างหลบหนี ยงกับน้ำผึ้งเกิดความรักซึ่งกันและกัน ยงจึงขอให้นายอำเภอช่วยเจรจาสู่ขอผึ้งกับกำนันสิงห์ นายอำเภอจึงทำทีวางแผนให้มีคนเข้าไปทำร้ายกำนันสิงห์และให้ยงเข้าไปช่วยจนกำนันสิงห์เห็นใจยงและรับเป็นลูกเขย
ภูตเสน่หา (2513)
ภูตเสน่หา (2513/1970) ข้อความบนใบปิด ชมพูนุชภาพยนตร์ เสนอ...ภาพยนตร์ระดับเงินล้าน ภูตเสน่หา ของ สุชาดา สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ รักชนก จินดาวรรณ ร่วมด้วย มาลาริน บุนนาค, รุจน์ รณภพ, เมืองเริง ปัทมินทร์, ฑัต เอกฑัต, เสน่ห์ โกมารชุน, สีเทา, ถวัลย์ คีรีวัต, ชูศรี โรจนประดิษฐ์, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง ฯลฯ “อุดม พลูพานิช” ที่ปรึกษา สุรีย์ พุกกะเวส อำนวยการสร้าง สุริยน ดวงทองดี กำกับการแสดง สงคราม กวี ถ่ายภาพ ส.อาสนจินดา สร้างบท พิริยะฟิล์ม จัดจำหน่าย
จุ๊บแจง (2513)
จุ๊บแจง (2513/1970) ข้อความบนใบปิด นวนิยายเรื่องเยี่ยม ที่ลงในนิตยสาร “ดรุณี” รายสัปดาห์ ละครวิทยุคณะ “แก้วฟ้า” พิภพภาพยนตร์ เสนอ จุ๊บแจง ของ ภูธัย กันชน สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, สมจิตร ทรัพย์สำรวย, อบ บุญติด, โขมพัสตร์ อรรถยา, มารศรี อิศรางกูร, สมควร กระจ่างศาสตร์, พฤหัส บุญหลง, เทียวธารา, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, ปราณีต คุ้มเดช, ชูศรี โรจนประดิษฐ์, สมพงษ์ พงษ์มิตร, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม และ ด.ช.ตุ๊ดติ่ง ทัศนพยัคฆ์ พร้อมด้วยนักร้องลูกทุ่งพระเอก “สุรพลลูกพ่อ” บรรจบ เจริญพร และสองสาวดาวเต้นคู่ฝาแฝด อารยา-ปาริชาติ ฉายาลักษณ์ ฟัง 4 เพลงเอกแสนไพเราะ ในระบบ 35 ม.ม.สีเสียงในฟิล์ม วิฑูรย์ เชาวน์ประดิษฐ์ อำนวยการสร้าง ธีระ แอคะรัจน์ ถ่ายภาพ พงษ์สิทธิ์ กำกับการแสดง
กำแพงแสน (2513)
กำแพงแสน (2513/1970) ข้อความบนใบปิด พิจิตรภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์รัก ตลก แนวแปลก แหวกตลาด ฉ่ำชื่นใจและครื้นเครง ด้วยเสียงเพลงในระบบมาตรฐานโลก ชุมนุมเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง 7 เพลง ในระบบ 35 ม.ม.สี เสียงในฟิล์ม กำแพงแสน ของ กอบกุล พนมชัย จากละครวิทยุคณะ แก้วฟ้า ออกอากาศสถานีวิทยุ วพท 705 สมบัติ เมทะนี ภาวนา ชนะจิต เมตตา รุ่งรัตน์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ศศิธร เพชรรุ่ง พร้อมด้วย สุชาดา, พร ไพโรจน์, เมืองเริง ปัทมินทร์, สุวิน สว่างรัตน์, วีระพล, ล้อต๊อก, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ชูศรี โรจนประดิษฐ์, ดาวน้อย ดวงใหญ่, พร บูรพา, โขน หมอผี, ปราณีต คุ้มเดช, พิภพ ภู่ภิญโญ, พรชัย, กุญชร เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ เฉลียว เทียนทอง อำนวยการสร้าง ไพบูลย์ บุตรขัน สร้างเพลง กาย บางขุนนท์ สร้างบท พิชิต มีชัย กำกับการแสดง พิจิตรภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
เจ้าแม่สไบทอง (2513)
เจ้าแม่สไบทอง (2513/1970) มิตร-เพชรา ข้อความบนใบปิด ภูมินทราภาพยนตร์ ผู้สร้าง เจ้าแม่สาลิกา และ พระจันทร์แดง เสนอภาพยนตร์ชีวิตประทับใจ เจ้าแม่สไบทอง ของ ภูมิ ราชรงค์ จากละครวิทยุอดนิยมของคณะ...แก้วฟ้า... นำโดย มิตร-เพชรา อดุลย์ ดุลยรัตน์, ปริม ประภาพร, ฤทธี นฤบาล, ชุมพร เทพพิทักษ์, จอมใจ จรินทร์, วงทอง ผลานุสนธิ์, ขอใจ ฤทัยประชา, ดาวน้อย ดวงใหญ่ และ ล้อต๊อก สันทัด ศรีสัมพันธ์ ถ่ายภาพ วินิจ ภักดีวิจิตร กำกับการแสดง ณรงค์ ภูมินทร์ อำนวยการสร้าง
โทน (2513)
โทน (2513/1970) โทน (ไชยา สุริยัน) หนุ่มกำพร้า อาศัยอยู่กับหลวงตาในชนบท โทนเป็นคนหน้าตาดี ฉลาด เรียนจบช่างยนต์ มีน้ำใจและชอบช่วยเหลือผู้อื่น สังข์ทอง (สังข์ทอง สีใส) เพื่อนรักของโทนเป็นลูกศิษย์วัดด้วยกัน ชอบร้องเพลง ทั้งสองสาบานว่าจะเป็นเพื่อนตายจนกว่าชีวิตจะหาไม่ โทนไม่สมหวังในเรื่องรักเช่นเดียวกับกุหลาบ (จารุวรรณ ปัญโญภาส) สาวผู้ที่มีอันจะกิน มีแต่สังข์ที่ใช้เพลงเป็นเพื่อนปลอบใจ แต่ไม่นานสงข์ก็ถูกยิงตกเขาตายในขณะที่โทนได้เข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพที่มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยการช่วยเหลือของอ๊อด (สายัณห์ จันทรวิบูลย์) จึงได้พบกับแดง (อรัญญา นามวงศ์) สาวสังคมที่มีนิสัยเย่อยิ่งและเกลียดขี้หน้าโทนอย่างไม่มีเหตุผล แต่เมื่อแดงถูกอิทธิพล (สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์) ฉุดไปแต่โทนช่วยแตงออกมาได้ ทำให้แตงเริ่มมองเห็นความดีของโทนที่คอยช่วยเหลือแต่เกิดเหตุร้ายขึ้นเมื่อแดงกับกุหลาบ ถูกคนร้ายจับตัวไป โทนและอ๊อดจึงตามไปช่วย
ม้ามืด (2513)
ม้ามืด (2513/1970) ข้อความบนใบปิด กัญญามาลย์ภาพยนตร์ โดย ดอกดิน ศิลปินของท่าน เสนอ สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ ในภาพยนตร์ชีวิตรักหวานสนิท พิสดาร และสนุกสนานเฮฮา... ม้ามืด ของ แพร ชมภู ดาราสมทบคับคั่ง ประจวบ ฤกษ์ยามดี, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ชฎาพร วชิรปราณี, สุวิน สว่างรัตน์, ชุมพร เทพพิทักษ์, รุจิรา อิศรางกูร, ธัญญา ธัญญรักษ์, โขมพัสตร์ อรรถยา, จุรี โอศิริ, น้อย, ชาย, เทียมจันทร์ และขอแนะนำ มาลาริน บุนนาค พร้อมด้วย อรสา ตัวขาวๆ/ดอกดิน ตัวดำๆ พรั่งพร้อมด้วย คณะฟุตบอลทีมชาติ และคณะดารานักร้อง กาเหว่า เสียงทอง, ชาตรี ศรีชล, เรียม ดาราน้อย มาในเพลงลูกทุ่ง 35 ม.ม.! ดอกดิน กัญญามาลย์ กำกับการแสดง บรรจง กัญญามาลย์ อำนวยการสร้าง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย

หน้าที่