สิงห์สาวเสือ (2513)
สิงห์สาวเสือ (2513/1970) ชาติชาย เกียรติกำจร (สมบัติ เมทะนี) เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจปีสุดท้าย แต่พอได้ข่าวว่า พ่อถูกฆ่าตาย ก็หนีออกจากโรงเรียนกลับไปบ้านที่ตำบลวังพญา จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อสืบหาตัวคนร้าย ที่ตลาดวังพญานั้นมี คุณหญิงปัทมา (อรัญญา นามวงษ์) เป็นเจ้าของตลาด แต่ในตลาดชอบมีนักเลงมาก่อกวน ปัทมาจึงจ้าง เสือหาญ (ไสล พูนชัย) เป็นผู้ดูแลตลาด ซึ่งเสือหาญก็ปราบพวกเกเรให้หมด แต่ชาติชายที่มาถึงใหม่ๆ ก็อยากลองของจึงแกล้งกวนเสือหาญต่อหน้าปัทมา ทั้งคู่ก็เลยเกิดเรื่องฟาดปากกัน แม้ว่าชาติชายจะเป็นคนชนะ แต่เพราะเห็นเสือหาญมีคนเชียร์เยอะกว่าและยังเป็นคนปราบนักเลงในตลาด ชาติชายก็เลยแกล้งแพ้เสือหาญ ส่วนปัทมาพอเห็นว่า เสือหาญชนะ ก็มอบสร้อยเป็นรางวัล ระหว่างนั้น นักเลงที่ถูกเสือหาญปราบไป ก็กลับมาลอบยิงเสือหาญ คราวนี้ ชาติชายก็เลยช่วยเสือหาญไว้และกลายเป็นเพื่อนกัน ต่อมาชาติชายทราบจากลุงว่า ผู้ที่บงการฆ่าพ่อตนก็คือ เสี่ยบู๊ (สิงห์ มิลินทราศัย) มีสมุนมือขวาเป็นเสือร้าย 2 คนคือ ไอ้เสือ (สุวิน สว่างรัตน์) และไอ้จอม (พิภพ ภู่ภิญโญ) ต่อมาเสี่ยบู๊ซึ่งหวังจะได้ปัทมาเป็นเมีย แค้นใจที่ผิดหวัง จึงฆ่าผู้จัดการป่าไม้ของปัทมาใส่กล่องส่งมาเป็นของขวัญวันเกิด ทุกคนในงานเกิดความกลัว ชาติชายเองเห็นภาพเหตุการณ์นี้ด้วย เมื่อได้รับทาบทามให้เป็นผู้จัดการป่าไม้แทน จึงตอบตกลงแม้ว่าปัทมาที่เริ่มชอบชาติชายแล้ว จะห้ามปรามเพราะกลัวชาติชายจะถูกฆ่าตายไปอีกคน ต่อมาเสี่ยบู๊จ้างชาติชายให้เลิกช่วยงานปัทมา เลิกยุ่งเกี่ยวกับปัทมาแต่ชาติชายไม่ยอม จึงเกิดการทะเลาะยิงปืนกัน ไอ้เสือสมุนมือขวาจะยิงชาติชาย แต่เสี่ยบู๊ห้ามไว้บอกว่า วันหลังค่อยจัดการ คืนหนึ่งขณะที่ชาติชาย-ปัทมาร้องเพลงพลอดรักกันในสวน เจ้าเสือก็มาลอบยิงชาติชายล้มพุบและจับตัวปัทมาไป แต่เสือหาญก็ตามไปช่วยกลับมาได้ ขณะที่ชาติชายรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล น้ำผึ้ง (สุมาลี ทองหล่อ) ลูกสาวของลุงชาติชายก็มาพูดบอกว่า ถ้าชาติชายหายป่วยจะแต่งงานกัน ทำให้ปัทมาที่รักชาติชายงอนและกลับบ้านไปเก็บตัวอยู่เงียบๆ จะหนีเข้ากรุงเทพฯ ต่อมาชาติชายสืบรู้แน่ชัดว่า เสี่ยบู๊เป็นคนฆ่าพ่อตน จึงจะไปแก้แค้น ก็เป็นเวลาเดียวกับที่เสี่ยบู๊ลงมือฆ่าพ่อปัทมา แล้วก็เผาตลาดและจับตัวปัทมาไป ชาติชายก็ตามไปช่วยมาปัทมามาได้
อินทรีทอง (2513)
อินทรีทอง (2513/1970) โรม ฤทธิไกร (มิตร ชัยบัญชา) อินทรีแดงตัวจริง ต้องเป็นอินทรีทอง เพื่อตามไล่ล่า ภูวนาท อินทรีแดงตัวปลอม (ครรชิต ขวัญประชา) ที่ออกมาสร้างความสับสนให้กับบ้านเมืองและโรมยังต้องกวาดล้างเหล่าร้ายไผ่แดงที่มีบาคิน (อบ บุญติด) เป็นหัวหน้าโดยมีวาสนา (เพชรา เชาวราษฏร์) เป็นผู้ช่วย โรม ฤทธิไกร ผู้ใช้ชีวิตปกติอย่างสำราญในช่วงที่บ้านเมืองอยู่ในความสงบ จนไม่ต้องเปลี่ยนตนเองเป็นอินทรีแดงอีกต่อไป ทว่า หลังการปรากฏตัวของอินทรีแดงตัวปลอม ที่ออกปล้นฆ่าผู้คนอย่างโหดเหี้ยมต่อเนื่อง เขาจึงจำต้องกลับมาสืบหาความจริงอีกครั้ง ด้วยการสวมหน้ากากอินทรีทอง
ชุมทางนักเลง (2513)
ชุมทางนักเลง (2513/1970) ข้อความบนใบปิด พันธุ์ทองภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์รัก บู๊ สู้ยับ แบบฉบับมือปืนจับวาง 7 ทิศ เคยพิชิตศัตรู มาชุมนุมใน... ชุมทางนักเลง ของ สราวุฒิ นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ อดุลย์ ดุลยรัตน์ ชุมพร เทพพิทักษ์ ขบวนดาราคับคั่ง อดินันท์ สิงห์หิรัญ, ประมินทร์ จารุจารีต, ฉัตร มงคลชัย, ไกร ครรชิต, ชาณีย์ ยอดชัย, ชฎาพร วชิรปราณี, ศศิธร เพชรรุ่ง, โขมพัสตร์ อรรถยา, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม ขอแนะนำดาวยั่วดวงใหม่ ดุจเดือน พรรณราย ฟังเพลงระบบ 35 ม.ม. 4 เพลง จินดา พันธุ์ทองดี อำนวยการสร้าง วินิจ ภักดีวิจิตร กำกับการแสดง สันทัด ศรีสัมพันธ์ ถ่ายภาพ รัตาชัยฟิล์ม จัดจำหน่าย
7 สิงห์คืนถิ่น (2513)
7 สิงห์คืนถิ่น (2513/1970) ข้อความบนใบปิด ราชภักดีภาพยนตร์ เสนอ พฤติการณ์อันห้าวหาญ บ้าบิ่น ของเหล่า 7 ชายฉกรรจ์ ใน 7 สิงห์คืนถิ่น ของ กริช กำจาย ชาญ ราชภักดี อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ชุมพร เทพพิทักษ์, เมตตา รุ่งรัตน์, ราชันย์ กาญจนมาศ, อภิญญา วีระขจร, สมชาย ศรีภูมิ นำขบวน 70 ดาราเด่น ชุมนุมดาราดาวร้ายครั้งยิ่งใหญ่ อาทิเช่น ประมินทร์ จารุจารีต, สุวิน สว่างรัตน์, ชาณีย์ ยอดชัย, เมืองเริง ปัทมินทร์, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, พรชัย, เทียนชัย, หมี หมัดแม่น, แป้น ปลื้มสระไชย, แพน, ทวน, ประกอบ, แอ๋ , ไกร ครรชิต, ภูมิ เพชรพนม, สรวง ศักดิ์เพชร, วินัย แก้วส่งศรี, ดาวน้อย ดวงใหญ่, ชื้นแฉะ, เทอด, ปรีชา, รวิวรรณ-อรวรรณ สร้อยหงส์พราย, วิภาวดี ตรียะกุล, นิภา แก้วจำบัง, มิส ซวนเฮือง, น้ำเพชร ดารารัตน์, แพรวพรรณ ฯลฯ ฟังเพลงเอก 2 เพลง ร่วมใจฟิล์ม จัดจำหน่าย
จอมบึง (2513)
จอมบึง (2513/1970) เริง หนุ่มชาวจอมบึง จ.ราชบุรีที่ฝันอยากเป็นนักร้องลูกทุ่ง แม้พ่อที่เป็นครูจะไม่เห็นด้วยและคัดค้านอย่างเต็มที่ และให้เริงดูแลไร่ซึ่งเริงก็รับคำของพ่อแต่เขาก็ยังไม่ทิ้งความฝันในการเป็นนักร้อง จนกระทั่งได้มีโอกาสเมื่อมีวงดนตรีเข้ามาแสดงในตำบลใกล้ๆ เขาพยายามจนได้ขึ้นร้องเพลงแต่ทว่ามันกลับสร้างความผิดหวังให้กับตัวเขา จนเริงอับอายและหนีเตลิดออกจากหมู่บ้านไป ร้อนถึงเพื่อนๆ ที่ออกตามหา เริงได้พบกับ นำพร และจับพลัดจับผลูได้ไปทำงานในบ้านของเธอ เริงเกิดความรักต่อนำพรทว่าต้องผจญกับเรื่องยุ่งๆ จากพี่สะใภ้ของนำพรที่มาหลงรักเขาเข้า และสร้างความเข้าใจผิดระหว่างเขาและนำพร
จอมโจรมเหศวร (2513)
จอมโจรมเหศวร (2513/1970) ศวร ลูกชายผู้ใหญ่สุข ที่ปลดประจำการจากการเกณฑ์ทหารกลับมาบ้าน แล้วต้องพบกับเหตุการณ์พ่อถูกฆ่าด้วยน้ำมือของหมื่นชล ผู้ที่อยากเป็นเจ้าพ่อและครอบครองที่ดินทั้งหมดของผู้ใหญ่สุข โดยศวรถูกหมื่นชลและพวกไล่ตามฆ่าจึงต้องหนีเอาชีวิตรอดไปถึงที่ไร่แห่งหนึ่ง และพบรักกับโฉมยา หลานสาวเจ้าของไร่ ท่ามกลางความไม่พอใจของพิทักษ์ พี่ชายของโฉมยา ซึ่งได้วางแผนหลอกศวรว่าโฉมยากำลังจะแต่งงานกับชายอื่นที่คู่ควรกว่า ทำให้ศวรเสียใจมาก ด้วยความแค้นที่พ่อถูกฆ่าและโดนพรากคนรัก ทำให้ศวรเดินทางไปพบกับเสือฝ้าย และสร้างชื่อเป็นที่ร่ำลือกันทั่วในฉายาว่า "จอมโจรมเหศวร"
ชาติทองแดง (2513)
ชาติทองแดง (2513/1970) ข้อความบนใบปิด พันคำภาพยนตร์ ชีวิตชายชาตินักสู้ ที่ไม่รู้จักคำว่าถอย แกร่งฉกาจเยี่ยง ชาติทองแดง ของ โสจิรัตน์ บุญเรือง นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี สุทิศา พัฒนุช พันคำ อดุลย์ ดุลยรัตน์ ชุมพร เทพพิทักษ์, โขมพัสตร์ อรรถยา, กันทิมา ดาราพันธ์, ชาณีย์ ยอดชัย, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สุวิน สว่างรัตน์, อนุชา รัตนมาลย์, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, เทอด ดาวไท, ณรงค์, นวลศรี ฯลฯ พันคำ สร้าง-กำกับการแสดง วิเชียร วีระโชติ ถ่ายภาพ รัตนาชัยฟิล์ม จัดจำหน่าย
อีสาวบ้านไร่ (2513)
อีสาวบ้านไร่ (2513/1970) สมบัติ-อรัญญา ข้อความบนใบปิด โด่งดัง! สนั่นลั่น! กันคราวนี้ กรนิมิตภาพยนตร์ เสนอ... อีสาวบ้านไร่ นำโดย สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ ฉัตร มงคลชัย ร่วมด้วย อนุชา รัตนมาลย์, ปริม ประภาพร, ชุมพร เทพพิทักษ์, โขมพัสตร์ อรรถยา, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, ชาณีย์ ยอดชัย, มารศรี อิศรางกูร, พุทธชาติ, เทอด ดาวไท, พุทธพงษ์, เนตรดาว นภาพรรณ, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สีเทา, ก๊กเฮง, เสน่ห์ โกมารชุน ฯลฯ และดาราสาวคนใหม่ สาวิตรี สุวรรณจิต ระบบมาตรฐานโลก 35 ม.ม. 4 เพลงลูกกรุงพบลูกทุ่ง ชาย นิมิตโชติชัย อำนวยการสร้าง สันทัด ศรีสัมพันธ์ ถ่ายภาพ วินิจ ภักดีวิจิตร กำกับการแสดง รัตนาชัยฟิล์ม จัดจำหน่าย
วิญญาณดอกประดู่ (2513)
วิญญาณดอกประดู่ (2513/1970) ข้อความบนใบปิด ลูกหลวงภาพยนตร์ วิญญาณดอกประดู่ ของ ส.อาสนจินดา ฟัง 2 เพลงเอก ระบบ 35 ม.ม. ดอกประดู่คู่ฟ้า นาวาคู่สมุทร เกียรติก้องทั่วสมุทร คือ วิญญาณดอกประดู่ มิตร ชัยบัญชา พบ เพชรา เชาวราษฎร์ โสภา สถาพร พร้อมด้วย อดุลย์ ดุลยรัตน์, เมตตา รุ่งรัตน์, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ทัต เอกทัต, สมควร กระจ่างศาสตร์, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, ทานทัต วิภาตะโยธิน, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ถวัลย์ คีรีวัต, โขน หมอผี, พฤหัส บุญหลง, ล้อต๊อก, พงษ์ลดา พิมลพรรณ, ปราณีต คุ้มเดช นำแสดง อนุมาศ บุนนาค กำกับการแสดง ณรงค์ หล่อสมบูรณ์ อำนวยการสร้าง แสวง ดิษยะวรรธนะ ถ่ายภาพ มนัส เข็มกาญจน์ อุปการะ ร่วมใจฟิล์ม จัดจำหน่าย
ไอ้เบี้ยว (2513)
ไอ้เบี้ยว (2513/1970) ข้อความบนใบปิด นฤาชาภาพยนตร์ เสนอ ใครจะเบี้ยวกว่าใคร ยอดเยี่ยม ใหญ่ยิ่ง รวมดาราไว้อย่างคับคั่ง ที่ไม่มีใครกล้าสร้าง! ไอ้เบี้ยว ฟัง 4 เพลงเอก ระบบ 35 ม.ม. มิตร ชัยบัญชา พบ ลือชัย นฤนาท อดุลย์ ดุลยรัตน์, แมน ธีระพล, ชุมพร เทพพิทักษ์, ทม วิศวชาติ, ถวัลย์ คีรีวัต, ขุนแผน, ถนอม นวลอนันต์, ลุงโกร่ง กางเกงแดง, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สีเทา, พิภพ ภู่ภิญโญ, นาขา ชัยบดินทร์, ชิดชัย ฯลฯ ลือชัย นฤนาท พบ มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์, บุศรา นฤมิตร, เมตตา รุ่งรัตน์, ศศิธร เพชรรุ่ง, โขมพัสตร์ อรรถยา, หยาดรุ้ง ระพี และศิริวรรณ ทองแสง อนุมาศ บุนนาค กำกับการแสดง กวี เกียรตินันท์-ปง อัศวินิกุล ถ่ายภาพ เครือมาศ สร้อยคีรี อำนวยการสร้าง
สามยอด (2513)

สามยอด (2513/1970) ข้อความบนใบปิด เทวราชฟิล์ม เสนผลงานเด่นในรอบปี... ดีกว่า...”นักเลงสี่แคว” แน่กว่า...”เสือภุพาน” สามยอด ดัง! กึกก้อง กัมปนาท สุดยอด ยิ่งใหญ่ 3 ทีมผู้สร้างที่เชื่อถือได้ รับรองคุณภาพ วินิจ ภักดีวิจิตร กำกับการแสดง สันทัด ศรีสัมพันธ์ ถ่ายภาพ โยธิน เทวราช อำนวยการสร้าง 3 ผู้ประพันธ์ อรชร, เพชร สถาบัน, นัทที เจษฎา 3 ดาราเด่น สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ ฉัตร มงคลชัย ร่วมด้วยดาราชั้นนำคับคั่ง อดุลย์ ดุลยรัตน์, ชุมพร เทพพิทักษ์, ปริม ประภาพร, เพชร พิษณุ, อนุชา รัตนมาลย์ และใจดาว บุษยา, หยาดรุ้ง ระพี ฯลฯ นำแสดง เสรีภาพยนตร์ จัดจำหน่าย

 
สองสิงห์จ้าวพยัคฆ์ (2513) 2 สิงห์จ้าวพยัคฆ์
2 สิงห์จ้าวพยัคฆ์ (2513/1970). เมื่อนาวิน (มิตร ชัยบัญชา) กับรุ่งรวี (ปริศนา ชบาไพร) สองสายลับชาวไทยเดินทางไปรับเอกสารลับที่ประเทศมาเลเซียและมอบให้รุ่งรวีนำกลับกรุงเทพฯ ในระหว่างทางมีเหล่าร้ายดักปล้นชิงเอาเอกสาร แต่รุ่งรวีก็ยิงต่อสู้และหนีกลับกรุงเทพฯมาได้ พวกเหล่าร้ายยังคงติดตามมาถึงกรุงเทพฯและจับตัวรุ่งรวีไปขังไว้ที่องค์การร้าย ซึ่งที่นั่นมีชาตรี (ลือชัย นฤนาท) เป็นหัวหน้าใหญ่และสายสุนีย์ (อรัญญา นามวงษ์) เป็นนักจิตวิทยา ซึ่งทั้งคู่ได้ร่วมกันสอบเค้นเอาความจริงถึงแผนการที่ระบุอยู่ในเอกสารลับ แต่รุ่งรวีก็ไม่ยอมปริปากบอก ชาตรีจึงวางแผนหลอกให้นาวินเอาเอกสารลับมาแลกตัวรุ่งรวีคืน แต่เมื่อนาวินมาถึงก็ถูกชาตรีหักหลังจึงเกิดการต่อสู้กัน นาวินอาศัยชั้นเชิงที่เหนือกว่ากระโจนหนีออกทางหน้าต่างไปได้ เมื่อชาตรีเห็นว่ารุ่งรวีไม่มีประโยชน์แล้วจึงสั่งให้อำนาจ (แมน ธีระพล) นำตัวรุ่งรวีไปฆ่าทิ้ง แต่ระหว่างทางรุ่งรวีก็ฉวยโอกาสแย่งปืนจากสิงห์ (ชุมพร เทพพิทักษ์) แล้วหลบหนีไปได้ จากนั้นนาวินและรุ่งรวีก็ออกเดินทางไปยังประเทศลาวเพื่อประสานงานกับหน่วยจารกรรมลับที่รออยู่อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งก็คือ ชาตรี นั่นเอง จากนั้นทั้งหมดก็เดินทางสู่ทุ่งไหหินซึ่งเป็นขุมกำลังใหญ่ของพวกผู้ก่อการร้ายและช่วยกันทำลายล้างจรวดนำวิถีที่กำลังจะยิงถล่มกรุงเทพฯได้สำเร็จ
ดาวพระเสาร์ (2513)

ดาวพระเสาร์ (2513/1970) ข้อความบนใบปิด ชมพูนุชภาพยนตร์ ทุ่มทุนสร้างเสนอ ภาพยนตร์ชีวิต การต่อสู้ของลูกผู้ชาย ผู้หยิ่งในศักดิ์ ดาวดวงไหนหรือจะใสเท่า ดาวพระเสาร์ ของ เสนีย์ บุษปะเกศ ละครวิทยุ คณะเสนีย์ บุษปะเกศ สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ รุจน์ รณภพ, เยาวเรศ นิสากร, ชุมพร เทพพิทักษ์ พร้อมด้วยขบวนดารา สุมาลี ทองหล่อ, ถวัลย์ คีรีวัตร, เมืองเริง ปัทมินทร์, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ล้อต๊อก, ชูศรี มีสมมนต์, ดาวน้อย ดวงใหญ่, สีเทา, ทองฮะ, เทียนชัย, พิภพ ภู่ภิญโญ, ลุงโกร่ง กางเกงแดง, เสนอ โกมารชุน ฯลฯ ดาราเกียรติยศ ส.อาสนจินดา ฟังเพลงเอกในระบบ 35 ม.ม. 

 
ท่าจีน (2513)
ท่าจีน (2513/1970) ข้อความบนใบปิด ทหารเรือมาแล้ว! ลูกประดู่สู้ไม่ถอย นำโดย สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ชุมพร เทพพิทักษ์, ฤทธี นฤบาล, ปริม ประภาพร, อภิญญา วีระขจร, ชาณีย์ ยอดชัย และดาราหน้าหวาน เสียงทองจากจอแก้ว ภูษิต อภิมันต์ ส.อาสนจินดา ภาพยนตร์ เสนอ ท่าจีน จากบทประพันธ์ของ ไกรสร โกมลวิจิตร ฉลวย ศรีรัตนา ลำดับภาพ-กำกับการแสดง ส.อาสนจินดา อำนวยการสร้าง
ไอ้สู้ (2513)
ไอ้สู้ (2513/1970) ข้อความบนใบปิด เทียน-ศิวาพร สุยสว่าง อำนวยการสร้าง ศิวาพรฟิล์ม จัดจำหน่าย ไอ้สู้ สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ ส.อาสนจินดา, ทม วิศวชาติ, เมตตา รุ่งรัตน์, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ชุมพร เทพพิทักษ์, สุวิน สว่างรัตน์, อรสา อิศรางกูร, มนัส บุณยเกียรติ, ศิริพงษ์ อิศรางกูร, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, พัลลภ พรพิษณุ, ชาณีย์ ยอดชัย, จำรูญ หนวดจิ๋ม, พิภพ ภู่ภิญโญ, วลิต สนธิรัตน์, เทอด ดาวไท, ดาวน้อย ดวงใหญ่, ฉกาจ, บิส, พิส, ทวน, สมชาย แสดงนำ รุ่งฤดี จัดทำละครวิทยุ ส.อาสนจินดา กำกับการแสดง แสวง ดิษยวรรธนะ ถ่ายภาพ อดิศักดิ์ รัตนศักดิวิบูลย์ ดำเนินงาน ไกสร โกศลวิจิตร กำกับบท สุธรรพ์ ธนะประวิตร-พร พิรุณ สร้างเพลง
คมแฝก (2513)
คมแฝก (2513/1970) ข้อความบนใบปิด แคล้วพิศดารภาพยนตร์ เชิญพบกับความเผ็ดร้อน จากการร่วมบรรเลงเพลงบู๊ของ 4 พระเอก ผู้เกรียงไกรที่ร่วมแสดงกันได้ในเรื่องนี้เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น!! คิงส์ 4 คิงส์ คม 4 คม คิงส์โพธิ์ดำ สมบัติ เมทะนี คมที่ 1 คิงส์หัวใจ ลือชัย นฤนาท คมที่ 2 คิงส์ข้าวหลามตัด เกชา เปลี่ยนวิถี คมที่ 3 คิงส์ดอกจิก เพชร พิษณุ คมที่ 4 ร่วมในหนังบู๊ระดับ จอมทัพ พร้อมด้วย อรัญญา นามวงษ์ และ เมตตา รุ่งรัตน์, รุจน์ รณภพ, ศศิธร เพ็ชรรุ่ง, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, ไกร ครรชิต, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สีเทา คมแฝก ของ เสนีย์ บุษปะเกศ จากละครวิทยุที่ดังลั่นไปทั่วเจ็ดคาบสมุทร ส.อาสนจินดา กำกับการแสดง วิเชียร วีระโชติ-สล้าง ศราภัยวนิช ถ่ายภาพ ร่วมใจฟิล์ม จัดจำหน่าย

หน้าที่