ไอ้แมวดำ (2512)
ไอ้แมวดำ (2512/1969) มิตร-ปริศนา ชบาไพร ข้อความบนใบปิด เมืองสยามภาพยนตร์ ดู!! หนังบู๊แนวแปลกที่ใช้กำลังมหัศจรรย์ จากอำนาจจิตที่เหนือกว่า กำลังภายในและภายนอก ชม!! บทบาทอันโลดโผนโจนทะยาน ของนางโจรสาวที่ดุเด็ด จนเหล่าร้ายและหมู่พาลต้องขยาดกลัว ตะลึง!! ทิวทัศน์อันงดงาม ทั่วเกาะปีนังแห่งประเทศมาเลเซีย เหมือนท่านได้บินไปเที่ยวด้วยตัวเอง ไปไม่ลา มาไม่บอก เขาล่ะ ไอ้แมวดำ NO NAME ON THE BULLET บทประพันธ์ของ ก้องสยาม นำโดย มิตร ชัยบัญชา ปริศนา ชบาไพร ร่วมด้วย แมน ธีระพล, เยาวเรศ นิศากร, ชุมพร เทพพิทักษ์, ใจดาว บุษยา, อุไรวรรณ จันทร์ทิพย์, เปลวใจ หทัยทิพย์, หยาดรุ้ง ระพี, รุ่ง, ทานทัต วิภาตะโยธิน, แป้น ปลื้มสระไชย, สกล, อัศชัย, รวงทิพย์, สนอง, เสถียร, และ ฯลฯ ขอฝากฝังน้องใหม่ รุ่งรัตน์ จันทร์ละออ พยุง พยกุล กำกับการแสดง บัญยญติ ยุธินากร อำนวยการสร้าง กวี เกียรตินันท์ ถ่ายภาพ
ชาติลำชี (2512)
ชาติลำชี (2512/1969) เรื่องของ ลูกลำชี พลีชีวิตสู้เพื่อหมู่ไทย ระทึกใจไปกับฉากต่อสู้ ดูบทชีวิตสะท้านอก แถมตลกครื้นเครง ฟัง 7 เพลงลูกทุ่งยอดนิยม ที่ระดมนักร้องหัวหน้าคณะทั้งสิ้น ถ่ายทำในระบบ 35 ม.ม.สีใส เสียงในฟิล์ม โดยคุณภาพด้วยฝีมือ สร้างให้ลือกันว่า เพลงเสนาะนัก รักร้อนแรง รบแกร่งฉกาจ...
ปราสาททราย (2512)
ปราสาททราย (2512/1969) ข้อความบนใบปิด อินทรวิจิตรภาพยนตร์ ภูมิใจเสนอภาพยนตร์ชีวิตแนวประหลาด ปราสาททราย บทประพันธ์ ของ ส.เนาวราช ปราสาททราย จะเป็นภาพยนตร์เงินล้าน เพราะดาราคู่ขวัญ มิตร ชัยบัญชา+เพชรา เชาวราษฎร์ หัวเราะเฮฮา อ้าปากไม่หุบ ด้วยกรุ๊ฟหน้าทะเล้น อรสา อิศรางกูร-เมตตา รุ่งรัตน์-ประจวบ ฤกษ์ยามดี ใหม่แปลกแหวกแนวตลาดพิลึกกึกกือ...คือ หน้ากากเหล็ก... ขอเสนอ ยอดดาราเอกจากจอแก้ว...สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์ และสองสาวทรงสะท้านจอ...โขมพัสตร์ อรรถยา-วาสนา ชลากร กำกับการแสดงโดย ชาลี อินทรวิจิตร ผู้กำกับภาพยนตร์เงินล้าน จั๊กจั่น-ไอ้หนึ่ง ศรินทิพย์ ศิริวรรณ-สมพงษ์ วงศ์รักไทย อำนวยการสร้าง นวฤทธิฟิล์ม จัดจำหน่าย
ตาลเดี่ยว (2512)
ตาลเดี่ยว (2512/1969) ชมภาพยนตร์ชีวิตรัก รันทดใจ แนวแปลก แหวกแนว ของหนุ่มชาวสวนตาล ที่ต้องสู้เพื่อ..ความรัก.. เดี่ยว (สมบัติ เมทะนี) ชายหนุ่มรูปงามแต่ยากจน ไปรับจ้างขึ้นตาลที่สวนของกำนันเพชร (ฑัต เอกฑัต) ได้พบกับลูกตาล (อรัญญา นามวงษ์) ลูกสาวคนเดียวซึ่งกำนันเพชรหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง แต่ลูกตาลกลับมีใจให้เดี่ยวที่เป็นคนดี ในที่สุดเดี่ยวกับลูกตาลลักลอบได้เสียกัน ด้วยความกลัวกำนันเพชรทั้งสองจึงหลบหนีเข้ากรุงเทพฯ เดี่ยวต้องทำงานหนักเพื่อเลี้ยงดูลูกตาล ต่อมาทั้งสองให้กำเนิดพยานรักชื่อ ตาลเดี่ยว ทั้งหมดอยู่กรุงเทพเป็นเวลา 2 ปี ลูกตาลคิดถึงพ่อมากเดี่ยวจึงตัดสินใจพาลูกตาลกลับบ้านเดิม เมื่อกลับมาถึงกำนันเพชรก็มาพรากลูกตาลไปจากเดี่ยวเพื่อจะให้แต่งงานกับปรก (ชุมพร เทพพิทักษ์) เศรษฐีหนุ่มจอมเกเร แต่เดี่ยวและเพื่อนได้ข่าวว่าปรกวางแผนจะเข้าปล้นบ้านกำนันเพชรและโยนความผิดมาให้เดี่ยว เมื่อปรกลงมือปล้นเดี่ยวใช้ชีวิตเข้าปกป้องกำนันเพชร จนกำนันเพชรทราบซึ้งใจ เมื่อเหตุการณ์สงบแล้วพวกโจรถูกตำรวจยิงตายและจับกุม กำนันเพชรจึงประกาศยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้กับตาลเดี่ยว และให้เดี่ยวกับลูกตาลครองรักกันได้
พญาโศก (2512)
พญาโศก (2512/1969) เพราะถูกตราหน้าว่าเป็นลูกสาวของนายทหารขายชาติทำให้ ลำหับ ต้องหนีจาก บริพัตร คนรักของเธอไป แม้จะมีลูกกับเขาแล้วก็ตาม จนนำไปสู่การตายของบริพัตรในเวลาต่อมา เวลาผ่านไป คนัง ลูกชายที่ลำหับเลี้ยงดูจนโตเป็นหนุ่ม ได้ตกหลุมรักกับ เพ็ญโพยม สาวชาวกรุงที่พบกันโดยบังเอิญ แต่เมื่อลำหับรู้ว่า เธอนั้นกลับเป็นลูกสาวของ ยศพงษ์ นักธุรกิจจอมเจ้าเล่ห์ ผู้มีส่วนสำคัญให้บริพัตรต้องตาย โดยยศพงษ์ก็แสดงความรังเกียจที่ลำหับเป็นลูกสาวคนขายชาติเช่นกัน ความสัมพันธ์ของคนังและเพ็ญโพยมจึงจำต้องถูกตัดขาดไปโดยปริยาย
เด็กวัด (2512)
เด็กวัด (2512/1969) ข้อความบนใบปิด ปฏิมาภาพยนตร์ เสนอ เด็กวัด ของ จำลักษณ์ ละครวิทยุคณะ แก้วฟ้า นำโดย สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ ทม วิศวชาติ เมตตา รุ่งรัตน์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี, รุจน์ รณภพ, ชุมพร เทพพิทักษ์, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร, สมควร กระจ่างศาสตร์, สมพล กงสุวรรณ, มาลี เวชประเสริฐ, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, พฤหัส บุญหลง, มนัส บุณยเกียรติ, ด.ช.ธีรโชค สุภาพ ประจวบเหมาะ อำนวยการสร้าง เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ หวน รัตนงาม กำกับการแสดง
ดวงใจแม่ (2512)

ดวงใจแม่ (2512/1969) เป็นเรื่องของชีวิตที่จะให้ความสดชื่น ดื่มด่ำประทับใจไม่มีวันลืม.. บทประพันธ์ของ ปฤศนา ความรักของแม่ยิ่งใหญ่ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อแม่ที่ต่ำต้อยทั้งฐานะและบรรดาศักดิ์ จำต้องยกลูกให้ฝ่ายสามีผู้สูงส่งกว่าไปเลี้ยง เพราะถูกกีดกันจากแม่สามีผู้ไม่เคยยอมรับเธอในฐานะลูกสะใภ้ และถึงแม้จะไม่ได้เลี้ยงดูหรืออยู่ด้วยกัน เมื่อมีเหตุร้ายใดๆ เกิดขึ้นกับลูก เธอก็พร้อมเสียสละทุกอย่างเพื่อลูก

ไทยน้อย (2512)
ไทยน้อย (2512/1969) ข้อความบนใบปิด กัญญามาลย์ภาพยนตร์ โดย ดอกดิน ศิลปินของท่าน เสนอ วงการภาพยนตร์ก้าวหน้า ดาราหมุนเวียน สมบัติ-เพชรา มาพบกันเป็นเรื่องแรก ของ กัญญามาลย์ภาพยนตร์ ไทยน้อย บทประพันธ์ ของ อิงอร ดอกดิน กัญญามาลย์ กำกับการแสดง สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ ชนะ ศรีอุบล, อดุลย์ ดุลยรัตน์, พัลลภ พรพิษณุ, ชฎาพร วชิรปราณี, สุวิน สว่างรัตน์, ธัญญา ธัญญารักษ์, มารศรี อิศรางกูร, ชาณีย์ ยอดชัย, ชาย, น้อย, เทียมจันทร์, จุมพล, สมชาย สามิภักดิ์ อรสา ตัวขาวๆ ดอกดิน ตัวดำๆ และมิสเวอร์จิเนียร์ ยีน บรรจง กัญญามาลย์ อำนวยการสร้าง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ ราชาเพลงลูกทุ่ง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ร้องเพลง ไทยน้อย เพลงเอกครั้งแรกในจอเงิน กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
สอยดาว สาวเดือน (2512) สอยดาวสาวเดือน
สอยดาวสาวเดือน (2512/1969) ลานเท อยุธยา สมิง (ชนะ/-/รังสิโรจน์) เด็กหนุ่มแห่งบ้านลานเทยิงคนตายเพื่อชำระแค้นให้กับพ่อแม่ตัวเองที่ถูกฆ่าตาย สมิงได้รับบาดเจ็บและหลบหนีเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้าน ผู้ใหญ่ธง (จำรูญ/-/เอกพัน) ศรีนวล (เพชรา/-/จีระนันท์) ลูกสาวเพียงคนเดียวของผู้ใหญ่ธง ที่เก่งการร้องลำตัดจนมีชื่อเสียงลือเลื่อง จนได้รับฉายาว่า เจ้าแม่ลานเท ก็เป็นที่หมายปองของสมิง แม้ศรีนวลจะเห็นว่าสมิงเป็นเพียงเพื่อนชายที่แสนดีก็ตาม เลอสรร หรือ คุณหนึ่ง (มิตร/-/ธนา) ลูกชายเพียงคนเดียวของท่านข้าหลวงเมืองอยุธยา เมื่อปิดเทอมได้เดินทางมาที่ลานเทเพื่อหาประสบการณ์ คุณหนึ่งได้พบเจอทั้งสมิงและศรีนวล คุณหนึ่งแอบรักกับศรีนวล จนกระทั่งทั้งคู่ลักลอบได้เสียกัน มีแต่เพียงผู้ใหญ่ธงและสมิงเท่านั้นที่รับรู้เรื่อง คุณหนึ่งสัญญาว่าเมื่อเรียนจบแล้ว จะกลับมาแต่งงานกับศรีนวล แต่ทว่า เมื่อกลับถึงกรุงเทพฯ คุณนาย แม่ของคุณหนึ่งกลับไม่ยินยอม พร้อมกับบีบบังคับให้คุณหนึ่งแต่งงานกับ สร้อยเพชร (ชฎาพร/-/อุษณีย์) ลูกสาวของเพื่อนสนิทตัวเอง ศรีนวลตั้งท้องลูกของเลอสรร จนคลอดออกมาเป็นผู้หญิงชื่อ สอยดาว (โสภา/-/อาภา) ขณะที่คุณหนึ่งก็มีลูกสาวกับสร้อยเพชร ชื่อ สาวเดือน (ขวัญตา/-/รัญดภา) 20 ปีผ่านไป เมื่อคุณหนึ่งกลายเป็นนายตำรวจใหญ่ คุณหนึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปลานเท เพื่อตามจับ สมิง ซึ่งหนีหมายจับและกลายเป็นโจรชื่อดัง และ ณ ที่นั่นเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีตจึงฟื้นคืนมา
ยอดคนจริง (2512)

ยอดคนจริง (2512/1969) ยอดคนจริง เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2512 ให้เสียงพากย์สด เป็นผลงานการกำกับของครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ สร้างโดย สุทธิเทพภาพยนตร์ โดยมี ศิวาภรณ์ อภิชาตกุล เป็นผู้อำนวยการสร้าง และถ่ายภาพโดย ธีระ แอคะรัตน์

ทับสะแก (2512)
ทับสะแก (2512/1969) ภาพยนตร์ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปี 2512 จากบทประพันธ์ ของ เกษม สุขนิรันดร์ ทับสะแก เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2512 สร้างโดย พิชัยภาพยนตร์ โดยมี พิชัย น้อยรอด เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย พันคำ (พร้อมสิน สีบุญเรือง) ถ่ายภาพโดย เฉลิม บุตรบุรุษ และจัดจำหน่ายโดย เสรีภาพยนตร์
รอยปืน (2512)

รอยปืน (2512/1969) ข้อความบนใบปิด ทิพยรัตน์ภาพยนตร์ สร้าง รอยปืน บทประพันธ์ของ...กรกต อลงกรณ์ นำโดย เกชา เปลี่ยนวิถี โสภา สถาพร เมตตา รุ่งรัตน์, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, ชาณีย์ ยอดชัย, นาชา, ถวัลย์ คีรีวัต, อมร, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ, พิภพ ภู่ภิญโญ, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, วินัย, แอ๋ ดาวยั่วดวงใหม่ เกสร ดอกไม้ นพรัตน์ ทิพยโอสถ อำนวยการสร้าง-ถ่ายภาพ พันทวี กำกับ จอห์นนี่ กีต้าร์ สร้างเพลง ปวาฬ จินตกานนท์ ธุรกิจ เสรีภาพยนตร์ จัดจำหน่าย

 
อภินิหารอาจารย์ทอง (2512)
อภินิหารอาจารย์ทอง (2512/1969) ข้อความบนใบปิด วัฒนาภาพยนตร์ เสนอ อภินิหารอาจารย์ทอง เค้าโครงเรื่อง ของ ล้อต๊อก ภาพยนตร์ตลก ดูแล้ว สมองเบา ไม่โศก ไม่เศร้า ครึกครื้น ชื่นบาน ดู รักแสนหวาน ดู ปาฏิหาริย์ ล้ำลึก ดูแล้วคึกคัก กลับบ้าน สบายใจ นำโดย สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, นวลศรี, ล้อต๊อก, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, อบ บุญติด, สมพงษ์ พงษ์มิตร, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, จำรูญ หนวดจิ๋ม, ทองแถม, โขน หมอผี, โกร่ง กางเกงแดง, ปราณีต คุ้มเดช สยุมพร กำกับการแสดง ศิรินันท์ คานทอง อำนวยการสร้าง เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ เสรีภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
ขวัญหล้า (2512)
ขวัญหล้า (2512/1969) ครอบครัวหนึ่ง มีเด็กสาวแสนสวยน่ารัก ที่ชื่อ ปานแก้ว นภา (เพชรา เชาวราษฎร์) เธอเกิดมาโดยที่ไม่เคยเห็นหน้าพ่อหน้าแม่เลย เธอถูกเลี้ยงดูจากป้าพวงมาตั้งแต่เด็กๆ เธอจึงเรียกป้าพวงว่า แม่ตลอดมา แล้ววันหนึ่งป้าพวงก็มาบอกว่า จะส่งเธอให้ไปอยู่รับใช้นายแม่สารภีที่เชียงใหม่ แม้เธอจะพยายามอ้อนวอนเพราะยังอยากอยู่กับป้าพวงมากกว่า แต่ก็ขัดคำสั่งไม่ได้ จึงยอมเดินทางไปเชียงใหม่ แต่แท้จริงแล้ว ป้าพวงแอบขายเธอให้นายแม่สารภีต่างหาก เมื่อปานแก้ว มาอยู่ที่บ้านนายแม่สารภีที่เชียงใหม่ ก็เกิดถูกตาต้องใจนายแม่สารภีเป็นอย่างมาก ถึงขนาดรับเลี้ยงปานแก้วไว้อย่างลูกอย่างหลานคนหนึ่ง แล้ววันหนึ่งขณะปานแก้ว เดินลัดเลาะไปตามพุ่มไม้หนาทึบใกล้ๆ บ้าน เธอก็ได้ยินเสียงร้องครวญครางคล้ายเสียงชายชรา แต่เธอก็มองไม่เห็นว่า หน้าตาคนนั้นเป็นอย่างไร ได้ยินแต่เสียงร้องบอกว่า หิวข้าว หิวน้ำ ขอกินหน่อย เธอจึงเอาน้ำที่ติดตัวมาด้วยให้ชายคนนั้นกิน ปานแก้วจึงได้ทราบเรื่องว่า ชายคนนั้นถูกจับมาขังไว้ ทรมานให้อดข้าว อดน้ำ เธอจึงรับปากว่า เธอจะแอบเอาข้าวเอาน้ำมาให้ทุกวัน รุ่งขึ้น เธอก็เอาข้าวเอาน้ำไปให้ชายคนนั้นอีก จึงได้เห็นหน้าค่าตากัน ชายชราคนนั้น ก็นึกรักและเอ็นดูปานแก้ว ที่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อคนตกทุกข์ได้ยาก ส่วนปานแก้วเองก็ชักจะถูกชะตากับชายคนนั้นและอยากมาพูดคุยด้วยทุกวัน แต่พอปานแก้วกลับมาถึงบ้านนายแม่สารภี ก็ทราบเรื่องว่า ป้าพวงจะมารับปานแก้วกลับไป บอกว่า จะให้ปานแก้วไปอยู่กรุงเทพฯ ซึ่งความจริงแล้ว ป้าพวงได้ขายปานแก้วให้กับซ่องโสเภณีไปเป็นเงิน 6,000 บาท แม้ว่า นายแม่สารภีจะให้ยอมจ่ายเงินให้สูงกว่าหลายเท่า แต่ป้าพวงก็ไม่ยอมปล่อยตัวปานแก้วให้นายแม่สารภี โดยมีสาเหตุเนื่องจากป้าพวงมีความแค้นแต่เดิมกับพ่อของปานแก้วเพราะป้าพวงเคยอุปถัมภ์เลี้ยงดูพ่อแท้ๆ ของปานแก้วและป้าพวงก็แอบรักพ่อของปานแก้ว แต่พ่อของปานแก้วกลับไม่รัก กลับไปรักแม่ของปานแก้ว จนเมื่อปานแก้วคลอดออกมา ความแค้นทุกอย่างจึงมาตกที่ตัวปานแก้ว เพราะป้าพวงต้องการให้ชีวิตปานแก้วเหลวแหลกและลำบากสุดๆ นั่นเอง ก่อนที่ปานแก้วจะเดินทางไปกรุงเทพฯ ได้เข้าไปบอกลาชายคนนั้นว่าจะต้องไปอยู่กรุงเทพฯโดยไม่รู้ว่า เป็นซ่องนางโลม ชายคนนั้นจึงบอกให้ปานแก้วไปขุดหาโอ่งที่ฝังไว้ใต้ต้นหูกวางใกล้ๆ ซึ่งในโอ่งจะมีกำไลเก่าแก่อันหนึ่ง ให้ปานแก้วใส่กำไลนั่นไว้ตลอดเวลา และถ้ามีใครเห็นกำไลอันนี้แล้วเรียก ปานแก้ว ว่าเป็น "ขวัญหล้า" ก็ให้ดูว่าชายหรือหญิงคนนั้น มีตำหนิไฝแดงที่ท้ายทอยหรือไม่ ถ้ามี ก็ให้ปานแก้วรีบพาคนนั้นมาช่วยเหลือเขาที่นี่ ปานแก้ว เข้ากรุงเทพฯ มาอยู่ที่บ้านคุณนายบานเย็น ซึ่งเป็นเจ้าของซ่องนางโลม ปานแก้วได้รู้จักกับบัวเรียว (อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา) ที่เพิ่งรู้ตัวว่า ถูกหลอกมาขายซ่องเช่นกัน ปานแก้วและบัวเรียวจึงพยายามจะหลบหนี แต่ยังไม่สบโอกาส แล้ววันหนึ่งขณะที่คุณนายบานเย็นพาปานแก้ว บัวเรียวไปดูหนังเพื่อเตรียมให้รับแขก ก็เผอิญเจอกับชาย 2 คนในร้านอาหารที่เฝ้ามองปานแก้วอย่างสนอกสนใจ คนหนึ่งชื่อ สูรย์ อีกคนชื่อ อาโน ปรากฏว่า ชายที่ชื่อสูรย์ เรียก ปานแก้วว่า "ขวัญหล้า" และติดตามปานแก้วมาจนรู้ความจริงว่า อยู่บ้านหลังใหญ่ที่ซ่องของคุณนายบานเย็น จึงคิดจะหาทางพาปานแก้วหลบหนีจากซ่อง ในขณะที่ทรงวิทย์ ลูกชายคนเดียวของคุณนายบานเย็นที่หลงรักปานแก้ว ก็เห็นใจที่ถูกแม่บังคับซื้อตัวมา ก็เลยคิดจะพาปานแก้วหลบหนีจากซ่องด้วยเช่นกัน
ทรชนเดนตาย (2512)
ทรชนเดนตาย (2512/1969) ภาพยนตร์การต่อสู้ปราบปราม ที่ดุเดือดตื่นเต้นหวาดเสียว ระหว่างสายลับมือเพชฌฆาต จากองค์การป้องกันประเทศ ซึ่งมีชื่อว่า "ขบวนการเดนตาย" กับศัตรูที่ลักลอบเข้ามาตั้งฐานทำลายบ้านเมืองไทย... สามทหารเสือ ซึ่งถูกเรียกตัวให้มาร่วมกันทำงานสืบราชการลับต้องปลอมตัวเข้าไปในดินแดนของพรรคคอมมิวนิสต์ โดยมีสาวสวยอดีตคอมมิวนิสต์กลับใจร่วมขบวนไปด้วย
ด่วนเหนือ (2512)
ด่วนเหนือ (2512/1969) ด่วนเหนือ เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2512 สร้างโดย ชมพูนุชภาพยนตร์ โดยมี สุรีย์ รักษาวัย เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย ประทีป โกมลภิส และจัดจำหน่ายโดย ศิวาพรฟิล์ม