เมืองแม่หม้าย (2512)
เมืองแม่หม้าย (2512/1969) ข้อความบนใบปิด ภาพยนตร์ไทยไครมิตร เสนอ ภาพยนตร์รัก ตลก ครื้นเครง 35 ม.ม.ซีเนมาสโคป สีอีสต์แมน 10 เพลงเอก เมืองแม่หม้าย ของ มณเฑียรทอง โชคชนะ นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, เมตตา รุ่งรัตน์, รุจน์ รณภพ, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ล้อต๊อก, สมพงษ์ พงษ์มิตร, สีเทา และดาวโป๊ครบชุด โสภณ เจนพานิชย์ ถ่ายภาพ แท้ ประกาศวุฒิสาร กำกับการแสดง พันทิพา ประกาศวุฒิสาร-เภา ประสาทวิทย์ อำนวยการสร้าง เสรีภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
ความรักเจ้าขา (2512)
ความรักเจ้าขา (2512/1969) ข้อความบนใบปิด สมนึกภาพยนตร์ ภูมิใจเสนอ... ความรักเจ้าขา ของ ก.ศยามานนท์ ชาลี อินทรวิจิตร กำกับการแสดง ความรักอมตะที่หนุ่มสาวปรารถนา มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ประจวบฤกษ์ยามดี, เมตตา รุ่งรัตน์, อดุลย์ ดุลยรัตน์, เยาวเรศ นิสากร, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, อภิญญา วีระขจร, สมควร กระจ่างศาสตร์, ชฎาพร วชิรปราณี ขอแนะนำ ดาวยั่วดวงใหม่ โขมพัสตร์ อรรถยา สมนึก เหมบุตร อำนวยการสร้าง ทินกร ทิพย์มาศ ถ่ายภาพ จินตนาฟิล์ม จัดจำหน่าย
สวรรค์วันเพ็ญ (2512)
สวรรค์วันเพ็ญ (2512/1969) นายพร (สมจินต์ ธรรมฑัต) รับใคร่ชอบพอกับเดือน (ปริม ประภาพร) แต่นายสิน (แมน ธีระพล) ลูกกำนันมาติดพันเดือนด้วย นายพรกับนายสินจึงท้าดวลกันอย่างลูกผู้ชาย ถ้าใครชนะก็จะได้เดือนไปเป็นเมีย ผลการต่อสู้นั้น นายพรเป็นฝ่ายชนะ จึงได้เดือนเป็นเมีย แต่นายสินกลับตระบัดสัตย์โดยหาเรื่องกลั่นแกล้งว่า นายพรเป็นโจรปล้นควายกระทั่งนายพรต้องโทษจำคุก ด้วยความเคียดแค้นที่ถูกนายสินกลั่นแกล้ง นายพรจึงแหกคุกออกมาและฆ่านายสินกับเดือนตายเพราะจับได้ว่า เดือนเมียรักเป็นชู้กับนายสิน พอฆ่าเสร็จ นายพรก็เผากระท่อมทิ้ง แต่ได้ยินเสียงเด็กร้องไห้ ก็เลยอุ้มเด็กติดมือมา เด็กน้อยๆ คนนี้ก็คือลูกสาวของนายพรที่เกิดจากเดือนนั่นเอง แม้นายพรจะเกลียดเดือน แต่ก็ฆ่าเด็กน้อยคนนี้ไม่ได้ นายพรซึ่งตอนนี้ก็กลายเป็นเสือพรไปจริงๆ แล้ว คงไม่มีปัญญาจะเลี้ยงดูลูกน้อยได้ จึงพายเรือนำลูกน้อยไปฝากพี่แพร (สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย) พี่สาวให้เลี้ยงดูแทน คืนนั้นเป็นคืนพระจันทร์เต็มดวง นายพรจึงตั้งชื่อลูกน้อยนี้ว่า วันเพ็ญ (เพชรา เชาวราษฎร์) นายพรกำชับพี่แพรไม่ให้บอกว่าใครเป็นพ่อเด็กและให้พี่แพรรับสมอ้างเป็นแม่ของวันเพ็ญด้วยเลย จากนั้นนายพรก็ไปเสือพรตามโชคชะตาต่อไป แม่แพรก็ต้องหาว่าฆ่านายหวิงตาย ก็ยิ่งทำให้อาการป่วยกำเริบอีกจนแม่แพรเสียชีวิต วันเพ็ญตัดสินใจจะออกไปบ้านดอนกระสวยเพื่อไปตามหาพ่อ จึงเอาห่อเถ้ากระดูกแม่แพรไปซ่อนไว้ข้างๆ องค์พระพูดได้ จากนั้นวันเพ็ญกับหว่างก็มุ่งไปสถานีรถไฟ ระหว่างที่รถไฟยังไม่ออก หว่างก็ลงไปขายไม้กวาดก่อน ก็เลยกลับขึ้นรถไฟไม่ทัน วันเพ็ญเข้ากรุงเทพฯเพื่อติดตามหาพ่อโดยมีรูปถ่ายของพ่อเพียงใบเดียว ก็เผอิญเดินไปพบบ้านหลังหนึ่งกำลังมีงานเลี้ยงใหญ่โต ด้วยความหิววันเพ็ญจึงไปเกาะรั้วมองถาดข้าวปลาอาหารโดยไม่รู้ว่ามีสายตาของสารวัตรสดุดี (มิตร ชัยบัญชา) จ้องมองอยู่เพราะคิดว่าวันเพ็ญเป็นสายลับมาดูลาดเลาก่อนจะเข้าปล้นบ้าน ต่อมาเมื่อสารวัตรสดุดีจับผู้ร้ายตัวจริงได้ จึงรู้ว่าวันเพ็ญไม่ใช่คนร้าย จะปล่อยตัววันเพ็ญไป วันเพ็ญก็ไม่ยอมไปเพราะไม่รู้ว่าจะไปไหน สารวัตรสดุดีจึงพาวันเพ็ญไปอยู่บ้านและให้สมอ้างหลอกคุณหญิงแม่ (มาลี เวชประเสริฐ) ว่าวันเพ็ญเป็นภรรยาและมีลูกด้วยกัน คุณหญิงแม่จะได้ไม่บังคับให้แต่งงานกับสร้อยระย้า (วาสนา ชลากร) แต่ความก็แตกก่อนเพราะสุทธินี (ศรีนวล สมบัติเจริญ) น้องสาวสารวัตรไม่รู้แผนมาก่อนจึงบอกคุณหญิงแม่ว่าวันเพ็ญไม่ใช่ภรรยาพี่ชาย วันเพ็ญอยู่บ้านสารวัตรสดุดีก็มีนายอ่อน (ชรินทร์ นันทนาคร) เป็นเพื่อน ส่วนความรักของวันเพ็ญกับสารวัตรก็ก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ สารวัตรรับปากจะช่วยตามหาพ่อให้วันเพ็ญ ต่อมาวันเพ็ญเห็นสารวัตรนอนห้องเดียวกับสร้อยระย้า ก็น้อยใจและแอบหนีออกจากบ้าน โดยไม่รู้ว่านั่นคือ แผนลวงที่สร้อยระย้าสร้างขึ้นเพราะอิจฉาวันเพ็ญ
นางสาวอบเชย (2512)
นางสาวอบเชย (2512/1969) ข้อความบนใบปิด นพรัตน์ภาพยนตร์ ภูมิใจเสนอ ภาพยนตร์ชีวิตรักของหญิงสาว ผู้ชื่อว่า “อบเชย” สดชื่นเฮฮา ตลก ครื้นเครง อนุมาศ กำกับการแสดง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ นางสาวอบเชย บทประพันธ์ของ รพีพร มิตร ชัยบัญชา สุทิศา พัฒนุช ประจวบ ฤกษ์ยามดี, เมตตา รุ่งรัตน์, อดุลย์ ดุลยรัตน์, บุศรา นฤมิต, ชุมพร เทพพิทักษ์, ศศิธร เพชรรุ่ง, ชาญ กัมปนาท, มนัส บุณยเกียรติ, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, มาลี เวชประเสริฐ, ดาวน้อย ดวงใหญ่ แสดงนำ นพรัตน์ ศศิวิมลรักษ์ อำนวยการสร้าง
ลอยกระทง (2512)
ลอยกระทง (2512/1969) ข้อความบนใบปิด นพรัตน์ภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์อมตะประเพณีไทย ครบทุกรส ชีวิตรักแสนหวาน เศร้าเคล้าอารมณ์ ตื่นเต้นบู๊ดุเดือด สุดยอด สุดเยี่ยม ซึ้ง นพรัตน์ ศศิวิมลรักษ์ บรรจงสร้าง ให้ยิ่งใหญ่กว่า รักเอย-วิมานไฟ และ สาปสวาท ลอยกระทง จากบทประพันธ์ยอดฮิต ของ อิงอร จากนิยายที่ฮิตที่สุด..ในนิตยสารประจำครอบครัว..บางกอก นำโดย มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ร่วมด้วย เมตตา รุ่งรัตน์, วาสนา ชลากร, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, อดุลย์ ดุลยรัตน์, ฤทธี นฤบาล, ทัต เอกทัต, ประมินทร์ จารุจารีต, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, พิภพ ภู่ภิญโญ, บู๊ วิบูลย์นันท์, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, หม่อมชั้น พวงวัน, พร้อมด้วย ด.ญ.ตุ๊กตา จินดานุช และ ด.ช.ปรีชา เกิดกำแพง ฟัง 4 เพลงเอก สง่า อารัมภีร, ปรีชา เมตไตรย์ สร้างเพลง กำกับการแสดงโดย เนรมิต อำนวยการสร้างโดย นพรัตน์ ศศิวิมลรักษ์ ถ่ายภาพโดย อนันต์ อินละออ
กามเทพลวง (2512)
กามเทพลวง (2512/1969) ข้อความบนใบปิด ต๊อกบูมภาพยนตร์ ขอเสนอ... กามเทพลวง ของ บุษยมาส ละครวิทยุคณะ “แก้วฟ้า” มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ปริม ประภาพร, มนัส บุณยเกียรติ, สมควร กระจ่างศาสตร์, ล้อต๊อก, ขอแนะนำ น้ำเพ็ญ จิระจันทร์ ฟัง 2 เพลงชื่นใจ “กามเทพลวง” และ “เรือนใจ” ในระบบ 35 ม.ม.สี เสียงในฟิล์ม สมจิตร ทรัพย์สำรวย อำนวยการสร้าง รังสี ทัศนพยัคฆ์ กำกับการแสดง เสรีภาพยนตร์ (ปราการฟิล์ม) จัดจำหน่าย
เจ้าแม่สาริกา (2512)
เจ้าแม่สาริกา (2512/1969) ในงานแต่งงานของ แก้ว (มิตร ชัยบัญชา) กับ สาริกา (วาสนา ชลากร) แก้วกับสาริกานั้นรักกันมานานแล้ว ทำให้ วิทย์ (ฤทธี นฤบาล) นักเลงหัวไม้ประจำหมู่บ้านที่แอบรักสาริกา ไม่พอใจแก้ว แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ฝ่ายสาริกาเองก็มีน้องสาวคนหนึ่งชื่อ รัญจวน (อรัญญา นามวงศ์) ซึ่งรัญจวนก็แอบชอบแก้วเช่นเดียวกัน หลังงานแต่งงานผ่านไป แก้วก็ได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นทหาร ไปรบที่เวียตนาม แก้วไปเป็นทหารพร้อมกับ ไผ่ (วิน วิษณุรักษ์) เพื่อนซี้อีกคน ระหว่างที่รบอยู่เวียตนามนั้น สาริกาก็ตั้งท้องได้สามเดือนกว่าๆ มีอยู่วันหนึ่งสาริกาได้ทราบเรื่องจากจดหมายของเพื่อนแก้วว่า แก้วออกไปรบครั้งหลัง แล้วหายตัวไป ยังไม่รู้จะเป็นตาย ร้ายดีประการใด ทำให้สาริกาเสียใจมาก คิดมากเพราะขณะนั้นท้องแก่ใกล้จะคลอดแล้ว สาริกาจึงไปเดินเล่นที่น้ำตก วิทย์ ซึ่งร่วมมือกับ พิกุล (อุไรวรรณ จันทร์ทิพย์) สาวอีกคนหนึ่งที่หลงรักแก้ว อยากจะได้แก้วมาเป็นผัว ก็เลยวางแผนให้วิทย์ฆ่าสาริกาทิ้ง ขณะที่สาริกากำลังเดินทอดอารมณ์ถึงแก้วคนรักอยู่ที่ผาน้ำตกนั้น สมุนของวิทย์ก็ผลักสาริกาตกกหน้าผาตาย ฝ่ายรัญจวนกับพ่อและใครๆ ก็พากันคิดว่า สาริกาเสียใจที่ได้ข่าวว่า แก้วตาย จึงฆ่าตัวตายตามแก้ว ระหว่างที่กำลังสวดศพสาริกานั้น แก้วกับไผ่ก็กลับมาจากรบที่เวียตนาม ขณะกำลังจะเดินเข้าบ้าน ก็เจอเพื่อนที่เพิ่งกลับมาจากงานศพสาริกา เพื่อนกำลังจะบอกว่า สาริกาตายแล้ว แต่ผีสาริกาก็แสดงปาฏิหาริย์จนเพื่อนๆ ไม่กล้าบอกแก้ว จากนั้นสาริกาก็ปรากฏตัวขึ้นมาอย่างคนมีชีวิต พาแก้วไปส่งที่บ้านโดยบอกว่า ข้างบนบ้านมีงานศพญาติห่างๆ กัน พอแก้วขึ้นไปบนบ้านงานศพ ทุกคนก็ตกใจเพราะคิดว่า แก้วตายไปแล้ว แต่เมื่อทราบความจริง ก็ไม่มีใครกล้าบอกแก้วว่า ศพที่ตั้งอยู่นั้นคือสาริกาเพราะกลัวว่าแก้วจะเสียใจ แก้วเข้าไปห้องนอน ก็พบกับสาริกาและลูกน้องอยู่ด้วยกัน ก็พักผ่อนนอนหลับด้วยกันจนรุ่งขึ้นอีกวัน แก้วตื่นมาก็ไม่พบสาริกากับลูกน้อยในห้อง ก็ออกไปถามรัญจวน ทำให้ทุกคนรู้ว่า สาริกาแปลงกายมาอยู่กับแก้ว จึงเล่าความจริงให้ฟังว่า สาริกากระโดดน้ำตายไปแล้วเพราะคิดว่า แก้วออกรบแล้วตาย ทำให้แก้วเสียใจ เมื่อพิกุลรู้ว่า แก้วกลับจากรบเวียตนามแล้ว ก็ไปหาหมอเสน่ห์ทำเสน่ห์ยาแฝดเพื่อให้แก้วหลงรัก จากนั้นก็จะฆ่าแก้วเพื่อหวังมรดก ฝ่ายแก้วเมื่อไม่มีสาริกา ก็ได้รัญจวนมาเป็นคนปลอบใจจนเกิดเป็นความรักขึ้นมา ผีสาริกาก็ออกอาละวาดหนักขึ้นเพราะคิดว่า จะสูญเสียแก้วคนรักไป จนชาวบ้านต้องหาหมอผีมาปราบ แต่หมอผีสงสารในความรักของสาริกา จึงขอให้แก้วกับรัญจวนพูดให้สาริกาเห็นใจในความรัก สาริกาก็เข้าใจและขอให้ทั้งสองสร้างศาลเพียงตาไว้ที่น้ำตกเพื่อเป็นพยานรักระหว่างแก้วกับสาริกาสืบไป
ต้อยติ่ง (2512)
ต้อยติ่ง (2512/1969) ข้อความบนใบปิด สุจินต์ภาพยนตร์ เสนอ จากความดี 3 ประการ...คือ เป็นนวนิยาย เยี่ยม เป็นละคร T.V. ยอด เป็นละครวิทยุ ฮิต จากจอทีวี โดยฉากแคบๆแสนจะจำกัด ยังตึงตัง มาเป็นภาพยนตร์ ด้วยฉากธรรมชาติสุดกว้าง...จึงสุดดีเยี่ยม ต้อยติ่ง บทประพันธ์ของ รพีพร นำโดย พิศมัย วิไลศักดิ์ สมบัติ เมทะนี ร่วมด้วย ชนะ ศรีอุบล, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ดรุณี ชื่นสกุล, มาลี เวชประเสริฐ, ประมินทร์ จารุจารีต, อดุลย์ กรีน, สีเทา... และดาวรุ่งดวงใหม่ให้อุ้มชู..คือ เบญจวรรณ สนธิกุล ส.อาสนจินดา กำกับการแสดง วัธนี สุจิตรภารพิทยา อำนวยการสร้าง วิเชียร วีระโชติ ถ่ายภาพ
นางกวัก (2512)
นางกวัก (2512/1969) ข้อความบนใบปิด พันคำภาพยนตร์ เสนอ... เธอเป็นอรูปที่ใครมิอาจแตะต้องได้ แต่เธอก็มีหัวใจเช่นหญิงคนหนึ่ง นางกวัก ของ พรน้ำเพชร สมบัติ เมทะนี พิศมัย วิไลศักดิ์ โสภา สถาพร เมตตา รุ่งรัตน์, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, แมน ธีระพล, สุวิน สว่างรัตน์, วิน วันชัย, ศรีไพร ใจพระ, ชาณีย์ ยอดชัย, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, โกร่ง กางเกงแดง, ทองฮะ แสดงนำ สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ ประสิทธิ์ ศิริบันเทิง สร้างบท พันคำ อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง ร่วมใจฟิล์ม จัดจำหน่าย
ปราสาททราย (2512)
ปราสาททราย (2512/1969) ข้อความบนใบปิด อินทรวิจิตรภาพยนตร์ ภูมิใจเสนอภาพยนตร์ชีวิตแนวประหลาด ปราสาททราย บทประพันธ์ ของ ส.เนาวราช ปราสาททราย จะเป็นภาพยนตร์เงินล้าน เพราะดาราคู่ขวัญ มิตร ชัยบัญชา+เพชรา เชาวราษฎร์ หัวเราะเฮฮา อ้าปากไม่หุบ ด้วยกรุ๊ฟหน้าทะเล้น อรสา อิศรางกูร-เมตตา รุ่งรัตน์-ประจวบ ฤกษ์ยามดี ใหม่แปลกแหวกแนวตลาดพิลึกกึกกือ...คือ หน้ากากเหล็ก... ขอเสนอ ยอดดาราเอกจากจอแก้ว...สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์ และสองสาวทรงสะท้านจอ...โขมพัสตร์ อรรถยา-วาสนา ชลากร กำกับการแสดงโดย ชาลี อินทรวิจิตร ผู้กำกับภาพยนตร์เงินล้าน จั๊กจั่น-ไอ้หนึ่ง ศรินทิพย์ ศิริวรรณ-สมพงษ์ วงศ์รักไทย อำนวยการสร้าง นวฤทธิฟิล์ม จัดจำหน่าย
ตาลเดี่ยว (2512)
ตาลเดี่ยว (2512/1969) ชมภาพยนตร์ชีวิตรัก รันทดใจ แนวแปลก แหวกแนว ของหนุ่มชาวสวนตาล ที่ต้องสู้เพื่อ..ความรัก.. เดี่ยว (สมบัติ เมทะนี) ชายหนุ่มรูปงามแต่ยากจน ไปรับจ้างขึ้นตาลที่สวนของกำนันเพชร (ฑัต เอกฑัต) ได้พบกับลูกตาล (อรัญญา นามวงษ์) ลูกสาวคนเดียวซึ่งกำนันเพชรหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง แต่ลูกตาลกลับมีใจให้เดี่ยวที่เป็นคนดี ในที่สุดเดี่ยวกับลูกตาลลักลอบได้เสียกัน ด้วยความกลัวกำนันเพชรทั้งสองจึงหลบหนีเข้ากรุงเทพฯ เดี่ยวต้องทำงานหนักเพื่อเลี้ยงดูลูกตาล ต่อมาทั้งสองให้กำเนิดพยานรักชื่อ ตาลเดี่ยว ทั้งหมดอยู่กรุงเทพเป็นเวลา 2 ปี ลูกตาลคิดถึงพ่อมากเดี่ยวจึงตัดสินใจพาลูกตาลกลับบ้านเดิม เมื่อกลับมาถึงกำนันเพชรก็มาพรากลูกตาลไปจากเดี่ยวเพื่อจะให้แต่งงานกับปรก (ชุมพร เทพพิทักษ์) เศรษฐีหนุ่มจอมเกเร แต่เดี่ยวและเพื่อนได้ข่าวว่าปรกวางแผนจะเข้าปล้นบ้านกำนันเพชรและโยนความผิดมาให้เดี่ยว เมื่อปรกลงมือปล้นเดี่ยวใช้ชีวิตเข้าปกป้องกำนันเพชร จนกำนันเพชรทราบซึ้งใจ เมื่อเหตุการณ์สงบแล้วพวกโจรถูกตำรวจยิงตายและจับกุม กำนันเพชรจึงประกาศยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้กับตาลเดี่ยว และให้เดี่ยวกับลูกตาลครองรักกันได้
พญาโศก (2512)
พญาโศก (2512/1969) เพราะถูกตราหน้าว่าเป็นลูกสาวของนายทหารขายชาติทำให้ ลำหับ ต้องหนีจาก บริพัตร คนรักของเธอไป แม้จะมีลูกกับเขาแล้วก็ตาม จนนำไปสู่การตายของบริพัตรในเวลาต่อมา เวลาผ่านไป คนัง ลูกชายที่ลำหับเลี้ยงดูจนโตเป็นหนุ่ม ได้ตกหลุมรักกับ เพ็ญโพยม สาวชาวกรุงที่พบกันโดยบังเอิญ แต่เมื่อลำหับรู้ว่า เธอนั้นกลับเป็นลูกสาวของ ยศพงษ์ นักธุรกิจจอมเจ้าเล่ห์ ผู้มีส่วนสำคัญให้บริพัตรต้องตาย โดยยศพงษ์ก็แสดงความรังเกียจที่ลำหับเป็นลูกสาวคนขายชาติเช่นกัน ความสัมพันธ์ของคนังและเพ็ญโพยมจึงจำต้องถูกตัดขาดไปโดยปริยาย
ไทยน้อย (2512)
ไทยน้อย (2512/1969) ข้อความบนใบปิด กัญญามาลย์ภาพยนตร์ โดย ดอกดิน ศิลปินของท่าน เสนอ วงการภาพยนตร์ก้าวหน้า ดาราหมุนเวียน สมบัติ-เพชรา มาพบกันเป็นเรื่องแรก ของ กัญญามาลย์ภาพยนตร์ ไทยน้อย บทประพันธ์ ของ อิงอร ดอกดิน กัญญามาลย์ กำกับการแสดง สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ ชนะ ศรีอุบล, อดุลย์ ดุลยรัตน์, พัลลภ พรพิษณุ, ชฎาพร วชิรปราณี, สุวิน สว่างรัตน์, ธัญญา ธัญญารักษ์, มารศรี อิศรางกูร, ชาณีย์ ยอดชัย, ชาย, น้อย, เทียมจันทร์, จุมพล, สมชาย สามิภักดิ์ อรสา ตัวขาวๆ ดอกดิน ตัวดำๆ และมิสเวอร์จิเนียร์ ยีน บรรจง กัญญามาลย์ อำนวยการสร้าง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ ราชาเพลงลูกทุ่ง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ร้องเพลง ไทยน้อย เพลงเอกครั้งแรกในจอเงิน กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
สอยดาว สาวเดือน (2512) สอยดาวสาวเดือน
สอยดาวสาวเดือน (2512/1969) ลานเท อยุธยา สมิง (ชนะ/-/รังสิโรจน์) เด็กหนุ่มแห่งบ้านลานเทยิงคนตายเพื่อชำระแค้นให้กับพ่อแม่ตัวเองที่ถูกฆ่าตาย สมิงได้รับบาดเจ็บและหลบหนีเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้าน ผู้ใหญ่ธง (จำรูญ/-/เอกพัน) ศรีนวล (เพชรา/-/จีระนันท์) ลูกสาวเพียงคนเดียวของผู้ใหญ่ธง ที่เก่งการร้องลำตัดจนมีชื่อเสียงลือเลื่อง จนได้รับฉายาว่า เจ้าแม่ลานเท ก็เป็นที่หมายปองของสมิง แม้ศรีนวลจะเห็นว่าสมิงเป็นเพียงเพื่อนชายที่แสนดีก็ตาม เลอสรร หรือ คุณหนึ่ง (มิตร/-/ธนา) ลูกชายเพียงคนเดียวของท่านข้าหลวงเมืองอยุธยา เมื่อปิดเทอมได้เดินทางมาที่ลานเทเพื่อหาประสบการณ์ คุณหนึ่งได้พบเจอทั้งสมิงและศรีนวล คุณหนึ่งแอบรักกับศรีนวล จนกระทั่งทั้งคู่ลักลอบได้เสียกัน มีแต่เพียงผู้ใหญ่ธงและสมิงเท่านั้นที่รับรู้เรื่อง คุณหนึ่งสัญญาว่าเมื่อเรียนจบแล้ว จะกลับมาแต่งงานกับศรีนวล แต่ทว่า เมื่อกลับถึงกรุงเทพฯ คุณนาย แม่ของคุณหนึ่งกลับไม่ยินยอม พร้อมกับบีบบังคับให้คุณหนึ่งแต่งงานกับ สร้อยเพชร (ชฎาพร/-/อุษณีย์) ลูกสาวของเพื่อนสนิทตัวเอง ศรีนวลตั้งท้องลูกของเลอสรร จนคลอดออกมาเป็นผู้หญิงชื่อ สอยดาว (โสภา/-/อาภา) ขณะที่คุณหนึ่งก็มีลูกสาวกับสร้อยเพชร ชื่อ สาวเดือน (ขวัญตา/-/รัญดภา) 20 ปีผ่านไป เมื่อคุณหนึ่งกลายเป็นนายตำรวจใหญ่ คุณหนึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปลานเท เพื่อตามจับ สมิง ซึ่งหนีหมายจับและกลายเป็นโจรชื่อดัง และ ณ ที่นั่นเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีตจึงฟื้นคืนมา
ขวัญหล้า (2512)
ขวัญหล้า (2512/1969) ครอบครัวหนึ่ง มีเด็กสาวแสนสวยน่ารัก ที่ชื่อ ปานแก้ว นภา (เพชรา เชาวราษฎร์) เธอเกิดมาโดยที่ไม่เคยเห็นหน้าพ่อหน้าแม่เลย เธอถูกเลี้ยงดูจากป้าพวงมาตั้งแต่เด็กๆ เธอจึงเรียกป้าพวงว่า แม่ตลอดมา แล้ววันหนึ่งป้าพวงก็มาบอกว่า จะส่งเธอให้ไปอยู่รับใช้นายแม่สารภีที่เชียงใหม่ แม้เธอจะพยายามอ้อนวอนเพราะยังอยากอยู่กับป้าพวงมากกว่า แต่ก็ขัดคำสั่งไม่ได้ จึงยอมเดินทางไปเชียงใหม่ แต่แท้จริงแล้ว ป้าพวงแอบขายเธอให้นายแม่สารภีต่างหาก เมื่อปานแก้ว มาอยู่ที่บ้านนายแม่สารภีที่เชียงใหม่ ก็เกิดถูกตาต้องใจนายแม่สารภีเป็นอย่างมาก ถึงขนาดรับเลี้ยงปานแก้วไว้อย่างลูกอย่างหลานคนหนึ่ง แล้ววันหนึ่งขณะปานแก้ว เดินลัดเลาะไปตามพุ่มไม้หนาทึบใกล้ๆ บ้าน เธอก็ได้ยินเสียงร้องครวญครางคล้ายเสียงชายชรา แต่เธอก็มองไม่เห็นว่า หน้าตาคนนั้นเป็นอย่างไร ได้ยินแต่เสียงร้องบอกว่า หิวข้าว หิวน้ำ ขอกินหน่อย เธอจึงเอาน้ำที่ติดตัวมาด้วยให้ชายคนนั้นกิน ปานแก้วจึงได้ทราบเรื่องว่า ชายคนนั้นถูกจับมาขังไว้ ทรมานให้อดข้าว อดน้ำ เธอจึงรับปากว่า เธอจะแอบเอาข้าวเอาน้ำมาให้ทุกวัน รุ่งขึ้น เธอก็เอาข้าวเอาน้ำไปให้ชายคนนั้นอีก จึงได้เห็นหน้าค่าตากัน ชายชราคนนั้น ก็นึกรักและเอ็นดูปานแก้ว ที่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อคนตกทุกข์ได้ยาก ส่วนปานแก้วเองก็ชักจะถูกชะตากับชายคนนั้นและอยากมาพูดคุยด้วยทุกวัน แต่พอปานแก้วกลับมาถึงบ้านนายแม่สารภี ก็ทราบเรื่องว่า ป้าพวงจะมารับปานแก้วกลับไป บอกว่า จะให้ปานแก้วไปอยู่กรุงเทพฯ ซึ่งความจริงแล้ว ป้าพวงได้ขายปานแก้วให้กับซ่องโสเภณีไปเป็นเงิน 6,000 บาท แม้ว่า นายแม่สารภีจะให้ยอมจ่ายเงินให้สูงกว่าหลายเท่า แต่ป้าพวงก็ไม่ยอมปล่อยตัวปานแก้วให้นายแม่สารภี โดยมีสาเหตุเนื่องจากป้าพวงมีความแค้นแต่เดิมกับพ่อของปานแก้วเพราะป้าพวงเคยอุปถัมภ์เลี้ยงดูพ่อแท้ๆ ของปานแก้วและป้าพวงก็แอบรักพ่อของปานแก้ว แต่พ่อของปานแก้วกลับไม่รัก กลับไปรักแม่ของปานแก้ว จนเมื่อปานแก้วคลอดออกมา ความแค้นทุกอย่างจึงมาตกที่ตัวปานแก้ว เพราะป้าพวงต้องการให้ชีวิตปานแก้วเหลวแหลกและลำบากสุดๆ นั่นเอง ก่อนที่ปานแก้วจะเดินทางไปกรุงเทพฯ ได้เข้าไปบอกลาชายคนนั้นว่าจะต้องไปอยู่กรุงเทพฯโดยไม่รู้ว่า เป็นซ่องนางโลม ชายคนนั้นจึงบอกให้ปานแก้วไปขุดหาโอ่งที่ฝังไว้ใต้ต้นหูกวางใกล้ๆ ซึ่งในโอ่งจะมีกำไลเก่าแก่อันหนึ่ง ให้ปานแก้วใส่กำไลนั่นไว้ตลอดเวลา และถ้ามีใครเห็นกำไลอันนี้แล้วเรียก ปานแก้ว ว่าเป็น "ขวัญหล้า" ก็ให้ดูว่าชายหรือหญิงคนนั้น มีตำหนิไฝแดงที่ท้ายทอยหรือไม่ ถ้ามี ก็ให้ปานแก้วรีบพาคนนั้นมาช่วยเหลือเขาที่นี่ ปานแก้ว เข้ากรุงเทพฯ มาอยู่ที่บ้านคุณนายบานเย็น ซึ่งเป็นเจ้าของซ่องนางโลม ปานแก้วได้รู้จักกับบัวเรียว (อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา) ที่เพิ่งรู้ตัวว่า ถูกหลอกมาขายซ่องเช่นกัน ปานแก้วและบัวเรียวจึงพยายามจะหลบหนี แต่ยังไม่สบโอกาส แล้ววันหนึ่งขณะที่คุณนายบานเย็นพาปานแก้ว บัวเรียวไปดูหนังเพื่อเตรียมให้รับแขก ก็เผอิญเจอกับชาย 2 คนในร้านอาหารที่เฝ้ามองปานแก้วอย่างสนอกสนใจ คนหนึ่งชื่อ สูรย์ อีกคนชื่อ อาโน ปรากฏว่า ชายที่ชื่อสูรย์ เรียก ปานแก้วว่า "ขวัญหล้า" และติดตามปานแก้วมาจนรู้ความจริงว่า อยู่บ้านหลังใหญ่ที่ซ่องของคุณนายบานเย็น จึงคิดจะหาทางพาปานแก้วหลบหนีจากซ่อง ในขณะที่ทรงวิทย์ ลูกชายคนเดียวของคุณนายบานเย็นที่หลงรักปานแก้ว ก็เห็นใจที่ถูกแม่บังคับซื้อตัวมา ก็เลยคิดจะพาปานแก้วหลบหนีจากซ่องด้วยเช่นกัน
ไพรรัก (2512)
ไพรรัก (2512/1969) ข้อความบนใบปิด โชว์ให้ชมมาแล้วอย่างเกรียงไกร ทางโทรทัศน์สีกองทัพบก เกรียวกราวที่สุด เพราะเป็น...ละครวิทยุยอดฮิตของ แก้วฟ้า ไพรรัก ของ ชูวงศ์ ฉายะจินดา มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี, วาสนา ชลากร, ชฎาพร วชิรปราณี, บุษกร สาครรัตน์, อดุลย์ ดุลยรัตน์, มิส หลิว ฮั้ว, พูลสวัสดิ์ ธีมากร, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ล้อต๊อก, ดาวน้อย ดวงใหญ่, สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย,สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, จันตรี สาริกบุตร, แป้น ปลื้มสระไชย กิตติ ประสบสุข-ทินกร ตรีนุมิตร อำนวยการสร้าง วิจารณ์ ภักดีวิจิตร กำกับการแสดง สันทัด ศรีสัมพันธ์ ถ่ายภาพ จินตนาฟิล์ม จัดจำหน่าย

หน้าที่