ยอดแก่น (2511)
ยอดแก่น (2511/1968) จักรวาล สุภาพบุรุษหนุ่มแห่งวงการการค้าและอุตสาหกรรม ได้ฉลองการหมั้นกับ อร อินทรา สาวชั้นสูงด้วยการพาไปพักผ่อนบนหุบเขาริมทะเลระหว่างศรีราชากับสัตหีบ แต่ระหว่างทางพวกเขากลับถูกเสือเปลื้อง ปล้นเอาทรัพย์สินไปจนหมด เหตุการณ์นี้ทำให้จักรวาลได้พบกับ แรม ลูกเลี้ยงของเสือเปลื้องและเกิดถูกอัธยาศัยกัน จนตัดสินใจขอซื้อแรมมาจากเสือเปลื้อง ด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าเธอเป็นผู้ชาย
เหนือน้ำใจ (2511)
เหนือน้ำใจ (2511/1968) ข้อความบนใบปิด นครพิงค์ภาพยนตร์ เสนอ เหนือน้ำใจ...เหนือสิ่งใด...น้ำใจญาติ...น้ำใจเพื่อน น้ำใจฟ้า น้ำใจดิน ยังรางเลือน ไม่แน่เหมือน น้ำใจแท้ ของแม่เรา ใจแม่นั้น สูงกว่าฟ้า มีค่ากว่าเพชร ยามถูกลูกเด็ดดวงใจ แม่สู้ทนไว้เพื่อถนอมน้ำใจลูก โอ้...แม่จ๋า ลูกขอบูชาน้ำใจแม่... เหนือน้ำใจ ของ...หญิงนันทาวดี นำโดย สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ ชนะ ศรีอุบล รุจน์ รณภพ, ปรียา รุ่งเรือง, เมตตา รุ่งรัตน์, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, ขอใจ ฤทัยประชา, สิงห์ มิลินทราศัย, มนัส บุณยเกียรติ, มาลี เวชประเสริฐ, สัมพันธ์, ชาญ กัมปนาท, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ดาวน้อย ดวงใหญ่, หม่อมชั้น พวงวัน, ชื้นแฉะ, ปราณีต คุ้มเดช และดาราตุ๊กตาเงิน ปนัดดา กัลย์จาฤก นำท่านมาพบกับ พัชนี อุรารักษ์ แม่คนใหม่แห่งจอเงิน กมลวรรณ วิเศษประภา อำนวยการสร้าง เทวินทร์ สุขศิลา ถ่ายภาพ ส.คราประยูร กำกับการแสดง จากละครวิทยุ แก้วฟ้า พรานบูรพ์ สร้างบท บริษัทเอกรัตน์ จัดจำหน่าย
ไซอิ๋ว ตอน ปีศาจตั๊กแตนไฟ (2511/1968) ข้อความบนใบปิด พี.เอ.ฟิล์มบางกอก เสนอ... อัศจรรย์ อภินิหาร เหาะเหินเดินอากาศ ไซอิ๋ว (ไทย) ตอน ปีศาจตั๊กแตนไฟ ตอนใหม่เอี่ยมไม่เคยฉายทางโทรทัศน์ นำแสดงโดย ดาราจอแก้ว สมชาย ศรีภูมิ สุดาดวง ขันธสุวรรณ วัฒนา กีชานนท์ อ.อรรถจินดา อำนวยการสร้าง คับคั่งด้วยดารา จันตรี สาริกบุตร, ปราณีต คุ้มเดช, ก๊กเฮง, ทองแถม, ถนอม นวลอนันต์ และดาวโป๊บันลือโลก เปลวใจ หทัยทิพย์ สนั่นศิลป์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย *ใบปิดวาดโดย ชวนะ (ที่มา :Thai Movie Posters)
ป่าช้าแตก (2511/1968) ข้อความบนใบปิด สุริยนโปรดั๊กชั่น ผู้สร้าง 7 ป่าช้า ขอเสนอ 40 ดาราพาเหรดใน... ป่าช้าแตก ขอเสนอ พระเอกขวัญใจวัยรุ่น ชัยยุทธ เวชชยันต์ พบ ใจดาว บุษยา พร้อมด้วย วิน วิษณุรักษ์, เมืองเริง ปัทมินทร์, ถวัลย์ คีรีวัตร, ประมินทร์ จารุจารีต และสองดาวยั่ว อุไรวรรณ จันทร์ทิพย์, หยาดรุ้ง ระพี ติดตามด้วยดาวตลก ดาวน้อย ดวงใหญ่, สีเทา, หม่อมชั้น พวงวัน, ทองฮะ, ขวัญ, แป๊ะอ้วน, ยรรยงค์ พยงค์ มุกดาพันธ์, ยอดลักษณ์ กรรณสูต ให้เกียรติร่วมแสดง เกรียงศักดิ์ ฤกษ์ชนะ กำกับการแสดง สุริยน ดวงทองดี อำนวยการสร้าง กวี เกียรตินันท์ ถ่ายภาพ สว่าง บุญกาญจน์ ฝ่ายธุระกิจ สบายใจฟิล์ม จัดจำหน่าย *ใบปิดวาดโดย ชวนะ (ที่มา :Thai Movie Posters)
นางครวญ (2511)
นางครวญ (2511/1968) ข้อความบนใบปิด สนั่นศิลป์ภาพยนตร์ เสนอ นิยายรักรันทดของหญิงสาว ผู้ต้องผจญเคราะห์กรรมด้วย ความขมขื่นและชื่นชีวิต... จากละครวิทยุประจำครัวเรือน คณะเสนีย์ บุษปะเกศ นางครวญ ของ จำลักษณ์ สมบัติ เมทะนี พิศมัย วิไลศักดิ์ ปรียา รุ่งเรือง, เมตตา รุ่งรัตน์, โยธิน เทวราช, ฑัต เอกฑัต, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, มาลี เวชประเสริฐ, สรยุทธ นิยมพงษ์ และ ทองฮะ นำแสดง ขอแนะนำดาวยั่วคนใหม่ เธอคือ นวลปรางค์ อุไรศรี บรรจง ศรีสวัสดิ์ อำนวยการสร้าง แสง สุทธินันท์ ถ่ายภาพ สนั่น จรัศศิลป์ กำกับการแสดง สนั่นศิลป์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
กบเต้น (2511)
กบเต้น (2511/1968) กบเต้น เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2511 สร้างจากบทประพันธ์ของ อิงอร (ศักดิ์เกษม หุตาคม) เคยดัดแปลงเป็นละครวิทยุของคณะแก้วฟ้า สร้างโดย กัญญามาลย์ภาพยนตร์ โดยมี บรรจง กัญญามาลย์ เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย ดอกดิน กัญญามาลย์ และถ่ายภาพโดย สมาน ทองทรัพย์สิน ภาพยนตร์เรื่องนี้มีคำโปรยว่า หนังที่ท่านประชาชนยกย่องเป็นหนังยอดเยี่ยม
สมบัติแม่น้ำแคว (2511)
สมบัติแม่น้ำแคว (2511/1968) แมน ธีระพล พา มิตร ชัยบัญชา เพื่อนคู่หู ไปเยี่ยม ยามาโมโต นักสมุทรศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่เกาะแห่งหนึ่งของอ่าวไทย ในอดีตนั้น ยามาโมโต ก็คือพันโททหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ลำเลียงทองคำมูลค่ามหาศาลจากพม่าจะไปญี่ปุ่น แต่เรือบรรทุกทองคำถูกเรือฝ่ายสัมพันธมิตรยิงจมลงกลางอ่าวไทย จุดที่เรือจมนั้นก็มีแต่พันตรีทานากะคนเดียวที่รู้ตำแหน่ง เมื่อสงครามยุติ พันตรีทานากะก็กลับไปอยู่ฮ่องกง ขณะที่แมนกับมิตรไปหายามาโมโตนั้น มิตรก็ได้พบกับไพลินลูกสาวคนสวยของผู้ใหญ่สิน มิตรกับไพลินจึงเริ่มรักใคร่ชอบพอกัน ชัช เป็นหัวหน้าขบวนการใต้ดินสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้จับตาดูพฤติกรรมการเลี้ยงหอยมุขของยามาโมโต เพราะคิดว่ายามาโมโตจะต้องรู้จุดที่เรือบรรทุกทองคำจมลง จึงแกล้งมาเลี้ยงหอยมุขอยู่บนเกาะแห่งนี้เพื่อจะหาโอกาสนำทองคำกลับไปญี่ปุ่น ต่อมา ยามาโมโต ก็ได้รับโทรเลขด่วนจากทานากะ บอกให้รีบเดินทางไปฮ่องกงเพื่อทานากะจะบอกจุดที่เรือบรรทุกทองคำจมลง ยามาโมโตและโชโกะจึงเดินทางไปฮ่องกง แมนรู้เรื่องก็แอบตามไปด้วย โดยแมนก็ไม่รู้ว่าชัชได้ส่งสมุนสะกดรอยตามไปด้วยเช่นกัน สมุนของชัชเข้าถึงตัวทานากะได้ก่อนและฆ่าทานากะตายก่อนที่ทานากะจะบอกความจริงว่า เรือบรรทุกทองคำจมอยู่ ณ จุดใด ย้อนกลับมาที่เกาะในอ่าวไทย ก็มีนักดำน้ำขี้เมาอยู่คนหนึ่งชื่อ ตาบุญ ตาบุญรู้ว่าจุดที่เรือบรรทุกทองคำจมลงนั้นอยู่ตรงไหน ตาบุญสนิทสนมกับไพลิน มีอะไรก็จะเล่าบอกไพลิน จุดเรือจมนี้ตาบุญก็เคยเล่าบอกไพลินแล้ว แต่ไพลินไม่เชื่อ คิดว่าตาบุญพูดเรื่อยเปื่อยตามประสาคนเมา แล้วจู่ๆ วันหนึ่ง ตาบุญก็พาไพลินไปยังจุดที่เรือจม ตาบุญดำน้ำลงไปงมเอาเศษไม้ป้ายชื่อเรือมาให้ไพลินดู เมื่อรู้จุดที่เรือจม ยามาโมโตกับสินจึงพาชาวบ้านไปงมหาทองคำ เมื่อได้ทองคำขึ้นมาแล้วก็ถูกชัชกับสมุนดักปล้นเอาทองคำไป ไพลินและโชโกะถูกจับเป็นตัวประกัน มิตรกับแมนก็ขับเครื่องบินบินสกัดรถบรรทุกทองของชัช เกิดการต่อสู้กัน ชัชขับรถบรรทุกทองหนีไปได้ แต่ระหว่างทาง รถก็เกิดระเบิดขึ้นเพราะยามาโมโตได้แอบซุกระเบิดไว้ในหีบบรรจุทองคำ ทำให้ชัชกับสมุนเสียชีวิต ไม่มีใคร
ปราสาทรัก (2511)
ปราสาทรัก (2511/1968) หม่อมเจ้าหญิงอุมารังษี (พิศมัย วิไลศักดิ์) ทะเลาะกับหม่อมอร ผู้เป็นมารดา จึงออกจากบ้านเพื่อเดินทางไปเป็นครูที่จ.เชียงใหม่ บนรถไฟนายแพทย์ภะรต (สมบัติ เมทะนี) เอ่ยชวนเธอไปทำงานเป็นครูพี่เลี้ยงให้น้องสาวพิการ คืนหนึ่งที่ปราสาทอุมารังษีนอนไม่หลับ ได้ยินเสียงกรีดร้องของผู้หญิง เธอเห็นภะรตจึงสะกดรอยตาม วันต่อมาอุมารังษีฝันว่ามีผู้หญิงถูกล่ามข้อเท้า ยื่นมือขอความช่วยเหลือ อุมารังษีสะดุ้งตื่นก็พบป้าแช่ม (สะอาด อรรถจินดา) ป้าแช่มตกใจรีบแก้ตัวว่ามาตรวจดูความเรียบร้อย ภะรตไปงานเต้นรำกับวาสิณ ได้พบเด็กผู้หญิงชื่อพิมพ์ทิพก็ตะลึง เพราะพิมพ์ทิพหน้าตาคล้ายคุณแจ๋วมาก ส่วนอุมารังษีนอนไม่หลับ ออกไปเดินเล่นที่เฉลียง พบกับชายลึกลับที่ปีนขึ้นมาพร้อมเรียกหาประวิญ เมื่อเห็นอุมารังษีก็ตกใจและหนีไป ภะรตไปรักษาคนไข้จนเย็นก็ยังไม่กลับ นายชดขี่ม้ากลับมา บอกอุมารังษีว่าภะรตถูกยิงบาดเจ็บสาหัส อุมารังษีเป็นห่วงจึงขอตามนายชดไปด้วย ระหว่างทางนายชดจะขืนใจอุมารังษีแต่ภะรตตามไปช่วยได้ทัน อุมารังษีเป็นไข้และเพ้อจนภะรตรู้ว่าเธอคือหม่อมเจ้าหญิงอุมารังษี ป้าแช่มบอกอุมารังษีว่าภะรตเป็นผู้ร้ายฆ่าคน เกลี้ยกล่อมให้เธอไปจากที่นี่ ทั้งวางแผนจะให้กัญญาเข้าไปนอนกับภะรต แต่ถูกคุณแจ๋วขวางไว้ ป้าแช่มจึงเป่าหูแม่ทิพ (สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย) หญิงสติไม่ดีว่าภะรตจะส่งคุณแจ๋วไปอยู่สถานเด็กพิการ ทำให้แม่ทิพแอบมาอุ้มคุณแจ๋วไป ภะรตออกตามหาคุณแจ๋วกับแม่ทิพไปจนถึงหน้าผา แม่ทิพกำลังจะตกหน้าผา ภะรตกระโดดคว้าตัวคุณแจ๋วได้ทัน ลุงเทพ (ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร) ฝากฝังคุณแจ๋วกับพิมพ์ทิพ ทำให้ภะรตรู้ว่ามีน้องสาวอีกคน ภะรตขอร้องให้อุมารังษีไปหาคุณแจ๋ว อุมารังษีคิดถึงคุณแจ๋วจึงตัดสินใจกลับปราสาททันที ระหว่างแวะพักโรงแรม ทั้งคู่มีโอกาสพูดคุยกัน แต่ด้วยทิฐิบวกกับความหึงหวง ทำให้ทั้งคู่ไม่เข้าใจกันเสียที พอถึงปราสาทคุณแจ๋วได้เห็นหน้าครูอุมาของเธออีกครั้งก็ยิ้มและสิ้นใจอย่างสงบ ต่อมาความจริงจึงปรากฎว่าแม่ทิพคืออาของภะรต และเป็นแม่ของคุณแจ๋วกับพิมพ์ทิพ ส่วนป้าแช่มคือผู้อยู่เบื้องหลังของเหตุร้ายทั้งหลายที่เกิดขึ้นในบ้าน ภะรตและอุมารังสีก็ทำความเข้าใจกันได้และได้ครองรักกัน
สิงห์ล้างสิงห์ (2511)
สิงห์ล้างสิงห์ (2511/1968) ข้อความบนใบปิด ภาพยนตร์บู๊ ล้างผลาญ สุดยอด สุดเยี่ยม พจนาภิรมย์ภาพยนตร์ ผู้สร้าง “สิงห์ล่าสิงห์” ภูมิใจเสนอ สิงห์ล้างสิงห์ ของ พัชราวดี สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ นำเหล่าขบวนดารา ชนะ ศรีอุบล, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, ทานทัต วิภาตะโยธิน, ชาณีย์ ยอดชัย, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, แป้น ปลื้มสระไชย, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ, ทองถม, ชื้นแฉะ ร่วมด้วยวงดนตรีหญิง “ลิตเติ้ลสตาร์” ขอฝากฝัง ดอกไม้ ถิ่นไทยงาม นางเอกหน้ามนคนใหม่ โสภณ เจนพานิช ถ่ายภาพ นำดี วิตตะ อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง จินตนาฟิล์ม จัดจำหน่าย