ลูกชาติเสือ (2511)
ลูกชาติเสือ (2511/1968) ชาติเสือไม่ทิ้งลาย ชาติชายไม่ทิ้งเชื้อ ลูกชาติเสือ ยิ่งใหญ่เหนือความยิ่งใหญ่ สะเทือนใจทั้งบู๊และชีวิต สร้างบทจากนวนิยายยอดฮิต ของ กรกฏ อลงกรณ์ ในเดลิเมล์วันจันทร์
ป่าลั่น (2511)
ป่าลั่น (2511/1968) ข้อความบนใบปิด อัมพรภาพยนตร์ สร้าง เพราะ...ลูกแม่ เกิดมาได้ชื่อว่า..ลูกกาฝาก ใจของแม่จึงร่ำร้องเรียกหาศักดิ์ศรี ของ สาวบ้านนอก... จึงขอนำท่านพบกับเรื่องราวอันล้นฟ้า จากภาพยนตร์มาตรฐาน... ป่าลั่น จากบทประพันธ์ของ เสนีย์ บุษปะเกศ มาสั่นสะเทือนอารมณ์ท่าน จากเหล่าดารายอดศิวิไล พิศมัย วิไลศักดิ์ สมบัติ เมทะนี ภาวนา ชนะจิต ร่วมด้วย อดุลย์ ดุลยรัตน์, ฤทธี นฤบาล, อนุชา รัตนมาลย์, ปริม ประภาพร, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, เชาว์ แคล่วคล่อง, สน่ำ, จำรูญ หนวดจิ๋ม, ทองฮะ, สีเทา, และด.ช.ภูมิภัทร์ นาวานุเคราะห์ อัมพร ประทีปเสน อำนวยการสร้าง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ สุวีระ กำกับการแสดง ร่วมใจฟิล์ม จัดจำหน่าย
ป้อมปืนตาพระยา (2511)
ป้อมปืนตาพระยา (2511/1968) ข้อความบนใบปิด เทพกรภาพยนตร์ สร้าง ป้อมปืนตาพระยา จากบทประพันธ์ของ อรชร เทพกร-ส.อาสนจินดา ร่วมมือกันครั้งไร เกรียงไกรและยิ่งใหญ่ทุกที... เหนือกว่า...ยิ่งใหญ่กว่า... ชุมทางเขาชุมทอง-ใจเพชร นำโดย 6 ดาราใหญ่ สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ เกชา เปลี่ยนวิถี โสภา สถาพร ชนะ ศรีอุบล เมตตา รุ่งรัตน์ ร่วมด้วย ฑัต เอกฑัต, ประมินทร์ จารุจารีต, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ชาญ กัมปนาท และดาราประกอบ ส.อาสนจินดา กำกับ อดุลย์ เศรษฐภักดี ถ่ายภาพ รัตน์ เศรษฐภักดี อำนวยการสร้าง
เลือดอาชาไนย (2511)

เลือดอาชาไนย (2511/1968) ข้อความบนใบปิด รังษิยาฟิล์ม เสนอให้พบความสำคัญครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด... เลือดอาชาไนย ของ เพชร สถาบัน สุดยอดนวนิยายในนิตยสาร “บางกอก” มาเป็นหนังใหญ่ สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ พบ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, เมตตา รุ่งรัตน์, ชุมพร เทพพิทักษ์, ประมินทร์ จารุจารีต, ฤทธี นฤบาล, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, สาหัส บุญหลง, นุสรา แสงรัตน์, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ทศ และดาราสมทบทั่วประเทศ รังษิยา บรรณกร อำนวยการสร้าง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ ศักดา ธงชัย ดำเนินงาน สุวีระ กำกับการแสดง ร่วมใจฟิล์ม โดย สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ จัดจำหน่าย

 
พันดง (2511)
พันดง (2511/1968) ข้อความบนใบปิด รัตนเดชาภาพยนตร์ สร้าง พันดง จากบทประพันธ์ ของ อ้อย อัจฉริยกร สมบัติ เมทะนี โสถา สถาพร พัลลภ พรพิษณุ, เยาวเรศ นิสากร, สัมพันธ์, อบ บุญติด, สิงห์ มิลินทราศัย, ชาณีย์ ยอดชัย, พิภพ ภู่ภิญโญ, เมืองเริง ปัทมินทร์, พร ไพโรจน์, ไกร ครรชิต, ราม, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, เชิง, สมถวิล, ดาวน้อย ดวงใหญ่ แสดงนำ ไกรสร โกศลวิจิตร์ สร้าง-กำกับบท จากละครวิทยุฮิทของคณะ รุ่งฤดี ปริญญา ลีละศร กำกับการแสดง แสวง ดิษยวรรธนะ ถ่ายภาพ อดิสักดิ์ รัตนศักดิ์วิบูลย์ อำนวยการสร้าง ศิวาพรฟิล์ม จัดจำหน่าย
ดอกอ้อ (2511)
ดอกอ้อ (2511/1968) ดอกอ้อ เมื่อตอนยังเล็กๆ อาศัยอยู่และหนีตายข้ามโขงมายังฝั่งไทยกับแม่และป้าแหวน (มนัส บุญยเกียรติ) ซึ่งเป็นแม่นม ระหว่างหลบหนีมานั้น แม่ก็ถูกฆ่าตาย ส่วนป้าแหวนก็ถูกยิงได้รับบาดเจ็บและพลัดหลงกัน แม่ครูพร (ศรินทิพย์ ศิริวรรณ) ซึ่งเป็นเจ้าของโรงเรียนพรพิทยา เห็นเหตุการณ์จึงช่วยนางเอกซึ่งมีชื่อว่า อ๋อ มาเลี้ยงไว้แทน แต่เพราะเห็นว่าชื่อ อ๋อ นั้นไม่ค่อยจะเพราะ แม่ครูพรจึงเปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า ดอกอ้อ (เพชรา เชาวราษฏร์) ส่วนชื่อจริงๆ ของดอกอ้อ ก็คือ กมลมาศ สิทธิกร ซึ่งสลักไว้ในเหรียญห้อยคอที่ติดตัวดอกอ้อมานั่นเอง 15 ปีต่อมา ดอกอ้อก็โตเป็นสาวและเป็นครูสอนที่โรงเรียนของแม่ครูพร โดยมีเพื่อนซี้อยู่สองคนซึ่งแม่ครูพรเลี้ยงมาพร้อมๆ กันคือ เมี่ยง (ดอกดิน กัญญามาลย์) ทำหน้าที่เป็นภารโรง ส่วน เอื้องคำ (อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา) นั้นเป็นแม่ครัว นอกจากนี้ยังมี ภาณี (ชฎาพร วชิรปราณี) ซึ่งแม่ครูพรเลี้ยงมาแต่เด็กๆ แต่ภาณีไม่ค่อยจะถูกชะตากับดอกอ้อ วันหนึ่ง พิทักษ์ (แมน ธีระพล) ซึ่งได้รับมรดกที่ดินโรงเรียนที่แม่ครูพรเช่าก็ขอขึ้นค่าเช่าที่ดิน ภาณีจึงได้รู้จักสนิทสนมกับพิทักษ์ ต่อมาแม่ครูพรก็มอบสายสร้อยและเหรียญสลักชื่อสกุลให้ดอกอ้อ ทำให้ภาณีไม่พอใจ ดอกอ้อจึงตัดความรำคาญยกสายสร้อยของตนเองให้ภาณีไปโดยไม่รู้ว่านั่นเป็นสร้อยนามสกุลของตนเอง ดอกอ้อ เมี่ยงและเอื้องคำ พานักเรียนไปเที่ยวป่าและหลงป่าจึงได้พบกับผู้การวิคุณ (อดุลย์ ดุลยรัตน์) ที่ไล่ยิงพวกคนร้ายผ่านมา วิคุณสนใจในตัวดอกอ้อ ส่วนภาณีนั้นก็ขโมยเงินแม่ครูหนีเข้ากรุงเทพฯ ดอกอ้อจะไปตามภาณี แต่เกิดการยิงกันและมีชายคนหนึ่งถูกยิงบาดเจ็บมาซ่อนตัวในโรงเรียน เขาบอกแต่ชื่อว่า นายอ่อน (มิตร ชัยบัญชา) ดอกอ้อสงสารจึงช่วยเหลือนายอ่อนจนอาการดีขึ้น แท้จริงแล้ว นายอ่อนก็คือ เจ้าตรีทศวงศ์ นายพลทหารบกลาว ซึ่งหนีภัยการเมืองและกำลังถูกนายพิทักษ์กับพวกที่รับจ้างทหารลาวตามฆ่า ผู้การวิคุณจึงวางแผนให้เจ้าตรีทศวงศ์ไปหลบซ่อนตัวอยู่ที่บ้านของพี่สุทธิ (สุวิน สว่างรัตน์) ในกรุงเทพฯ โดยวางแผนให้เห็นว่า นายอ่อนถูกยิงตายและทหารไทยนำศพไป ทำให้ดอกอ้อซึ่งไม่รู้แผนนี้เสียใจเพราะเริ่มมีใจให้นายอ่อนแล้ว ต่อมาพิทักษ์พูดสู่ขอดอกอ้อกับแม่ครู แต่ครูไม่ชอบนิสัยนักเลงของพิทักษ์ จึงให้ดอกอ้อหนีไปเรียนต่อในกรุงเทพฯ ฝ่ายนายอ่อนเมื่อมาอยู่กรุงเทพฯ ก็ปลอมตัวเป็นคนตาบอดชื่อนายนิ่มและสนิทสนมกับลูกสาวพี่สุทธิซึ่งตาบอดเช่นกันชื่อว่า อ้อย (ด.ญ.จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา) ส่วนนายทักษ์เมื่อรู้ว่า แม่ครูกีดกันไม่ให้แต่งงานกับดอกอ้อ ก็ลอบเผาโรงเรียนทิ้ง ครูพรจึงต้องเข้ากรุงเทพฯไปอยู่กับดอกอ้อ
จ้าวแผ่นดิน (2511)
จ้าวแผ่นดิน (2511/1968) ข้อความบนใบปิด จอมทองภาพยนตร์ เสนอ จ้าวแผ่นดิน พบ สมบัติ เมทะนี เนาวรัตน์ วัชรา ทักษิณ แจ่มผล เมตตา รุ่งรัตน์ 4 ดาราตุ๊กตาทอง สมทบด้วย เยาวเรศ นิสากร, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, ฑัต เอกฑัต, เชาว์ แคล่วคล่อง, ถวัลย์ คีรีวัตร, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ไสล พูนชัย, บู๊ วิบูลย์นันท์, เมฆ เมืองแมน, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ล้อต๊อก, ผาสุก แสง สุทธินันท์-โสภณ เจนพานิชย์ ถ่ายภาพ ทักษิณ แจ่มผล กำกับการแสดง ปัทมา รัตนใส อำนวยการสร้าง
สิงห์เหนือเสือใต้ (2511)
สิงห์เหนือเสือใต้ (2511/1968) ข้อความบนใบปิด ส.อาสนจินดาภาพยนตร์ เสนอ ผลงานยอดเยี่ยมแห่งยุค สิงห์เหนือเสือใต้ ไชยา สุริยัน พบ เกชา เปลี่ยนวิถี โสภา สถาพร พบ ชัชฎาภรณ์ รักษนาเวศ รุจน์ รณภพ, ฑัต เอกฑัต, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, สถาพร มุกดาประกร, ชุมพร เทพพิทักษ์, ชฎาพร วชิรปราณี, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ, ชาณีย์ ยอดชัย, ชนินทร์ นฤปกรณ์, ปฐมชัย, โขน, ชื้นแฉะ, ทองถม, เสริมพันธ์ สุทธิเนตร, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, สมชาย, เมฆ และดาวยั่วดวงใหม่ จันทิรา สุภาษิต เอวันฟิล์ม จัดจำหน่าย
ลาวแพน (2511)
ลาวแพน (2511/1968) ข้อความบนใบปิด โปรดเก็บน้ำตาของท่าน ไว้ให้กับ... ภาพยนตร์ฟิล์มสยาม เสนอ 7 ตุ๊กตาทองใน ลาวแพน ของ วิจิตร สุวรรณสันต์ สมบัติ เมทะนี ภาวนา ชนะจิต เมตตา รุ่งรัตน์ น้ำเงิน บุญหนัก, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, รุจิรา-มารศรี อิศรางกูร, วิน วิษณุรักษ์, จุรีรัตน์, สุวิน สว่างรัตน์, เมืองเริง ปัทมินทร์, ทองฮะ, หม่อมชั้น พวงวัน, ยรรยงค์, นิดหน่อย ประสพ ปิ่นน้อย กำกับการแสดง กวี คงกระพัน ถ่ายภาพ ประสพ ปิ่นน้อย-มานพ มิ่งขวัญ อำนวยการสร้าง สนั่นศิลป์ จัดจำหน่าย
สัญชาติชาย (2511)
สัญชาติชาย (2511/1968) มิตร-เพชรา ข้อความบนใบปิด จิตรวาณีภาพยนตร์ เสนอการต่อสู้ของลูกผู้ชาย ที่สู้อย่างถวายชีวิต เพื่อพิชิตอุปสรรค ทั้งรัก ทั้งบู๊ สู้ฉกรรจ์ใน สัญชาติชาย ของ เสนีย์ บุษปะเกศ จากละครวิทยุที่ผู้ฟังขอร้อง ต้องแสดงซ้ำถึงสามครั้ง ของคณะเสนีย์ บุษปะเกศ มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ดาราสมทบ ประจวบ ฤกษ์ยามดี, อดุลย์ ดุลยรัตน์, กิ่งดาว ดารณี, ชุมพร เทพพิทักษ์, ชินตา ธนานนท์, เปรมชัย ประภากร, สุดเฉลียว เกตุผล, สมจิตร ทรัพย์สำรวย, สมควร กระจ่างศาสตร์, เชาว์ แคล่วคล่อง, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, เทียว ธารา, เมฆ เมืองกรุง, หมี หมัดแม่น, พิศ ณรงค์, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ล้อต๊อก กิตติพงษ์ เวชภูญาณ อำนวยการสร้าง ธีระ แอคะรัจน์ ถ่ายภาพ รังสี ทัศนพยัคฆ์ กำกับการแสดง จินตนาฟิล์ม จัดจำหน่าย
เล็บครุฑ ตอน ประกาศิตจางซูเหลียง (2511)
เล็บครุฑ ตอน ประกาศิตจางซูเหลียง (2511/1968) ดร. จาง จำเป็นต้องหาหางของหุ่นนกอินทรีที่เขาคิดว่ายังคงอยู่ในประเทศไทย เพื่อไปทำการถอดรหัสลับสูตรมหาประลัย โดยอาศัยความช่วยเหลือจากสมุนเก่า ๆ ในไทย เมื่อหน่วยสืบราชการลับของไทยได้ข่าว จึงได้ส่ง เคลียว บางคล้า หนุ่มเจ้าสำอาง ออกสืบหาเรื่องราวเกี่ยวกับด็อกเตอร์เจ้าเล่ห์ผู้นี้ และหาทางปราบผู้ก่อการร้ายข้ามชาติให้หมดสิ้น
จ้าวอินทรี (2511)
จ้าวอินทรี (2511/1968) อินทรีแดงผงาดฟ้าอีกครั้งหนึ่งแล้ว ใน จ้าวอินทรี โรม ฤทธิไกร (มิตร ชัยบัญชา) ชายหนุ่มผู้แปลงตัวเองเป็นอินทรีแดงเพื่อกวาดล้างเหล่าอาชญากร โดยในภาคนี้อินทรีแดงต้องปลอมตัวเข้าไปเป็นลูกสมุนของนักธุรกิจวายร้าย ผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรมและพัวพันกับแก๊งภูตมรณะ กลุ่มอาชญากรที่กำลังออกอาละวาด โดยมีคู่หูคือนางแมวป่า (พิศมัย วิไลศักดิ์)
สมบัติแม่น้ำแคว (2511)
สมบัติแม่น้ำแคว (2511/1968) แมน ธีระพล พา มิตร ชัยบัญชา เพื่อนคู่หู ไปเยี่ยม ยามาโมโต นักสมุทรศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่เกาะแห่งหนึ่งของอ่าวไทย ในอดีตนั้น ยามาโมโต ก็คือพันโททหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ลำเลียงทองคำมูลค่ามหาศาลจากพม่าจะไปญี่ปุ่น แต่เรือบรรทุกทองคำถูกเรือฝ่ายสัมพันธมิตรยิงจมลงกลางอ่าวไทย จุดที่เรือจมนั้นก็มีแต่พันตรีทานากะคนเดียวที่รู้ตำแหน่ง เมื่อสงครามยุติ พันตรีทานากะก็กลับไปอยู่ฮ่องกง ขณะที่แมนกับมิตรไปหายามาโมโตนั้น มิตรก็ได้พบกับไพลินลูกสาวคนสวยของผู้ใหญ่สิน มิตรกับไพลินจึงเริ่มรักใคร่ชอบพอกัน ชัช เป็นหัวหน้าขบวนการใต้ดินสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้จับตาดูพฤติกรรมการเลี้ยงหอยมุขของยามาโมโต เพราะคิดว่ายามาโมโตจะต้องรู้จุดที่เรือบรรทุกทองคำจมลง จึงแกล้งมาเลี้ยงหอยมุขอยู่บนเกาะแห่งนี้เพื่อจะหาโอกาสนำทองคำกลับไปญี่ปุ่น ต่อมา ยามาโมโต ก็ได้รับโทรเลขด่วนจากทานากะ บอกให้รีบเดินทางไปฮ่องกงเพื่อทานากะจะบอกจุดที่เรือบรรทุกทองคำจมลง ยามาโมโตและโชโกะจึงเดินทางไปฮ่องกง แมนรู้เรื่องก็แอบตามไปด้วย โดยแมนก็ไม่รู้ว่าชัชได้ส่งสมุนสะกดรอยตามไปด้วยเช่นกัน สมุนของชัชเข้าถึงตัวทานากะได้ก่อนและฆ่าทานากะตายก่อนที่ทานากะจะบอกความจริงว่า เรือบรรทุกทองคำจมอยู่ ณ จุดใด ย้อนกลับมาที่เกาะในอ่าวไทย ก็มีนักดำน้ำขี้เมาอยู่คนหนึ่งชื่อ ตาบุญ ตาบุญรู้ว่าจุดที่เรือบรรทุกทองคำจมลงนั้นอยู่ตรงไหน ตาบุญสนิทสนมกับไพลิน มีอะไรก็จะเล่าบอกไพลิน จุดเรือจมนี้ตาบุญก็เคยเล่าบอกไพลินแล้ว แต่ไพลินไม่เชื่อ คิดว่าตาบุญพูดเรื่อยเปื่อยตามประสาคนเมา แล้วจู่ๆ วันหนึ่ง ตาบุญก็พาไพลินไปยังจุดที่เรือจม ตาบุญดำน้ำลงไปงมเอาเศษไม้ป้ายชื่อเรือมาให้ไพลินดู เมื่อรู้จุดที่เรือจม ยามาโมโตกับสินจึงพาชาวบ้านไปงมหาทองคำ เมื่อได้ทองคำขึ้นมาแล้วก็ถูกชัชกับสมุนดักปล้นเอาทองคำไป ไพลินและโชโกะถูกจับเป็นตัวประกัน มิตรกับแมนก็ขับเครื่องบินบินสกัดรถบรรทุกทองของชัช เกิดการต่อสู้กัน ชัชขับรถบรรทุกทองหนีไปได้ แต่ระหว่างทาง รถก็เกิดระเบิดขึ้นเพราะยามาโมโตได้แอบซุกระเบิดไว้ในหีบบรรจุทองคำ ทำให้ชัชกับสมุนเสียชีวิต ไม่มีใคร
สิงห์ล้างสิงห์ (2511)
สิงห์ล้างสิงห์ (2511/1968) ข้อความบนใบปิด ภาพยนตร์บู๊ ล้างผลาญ สุดยอด สุดเยี่ยม พจนาภิรมย์ภาพยนตร์ ผู้สร้าง “สิงห์ล่าสิงห์” ภูมิใจเสนอ สิงห์ล้างสิงห์ ของ พัชราวดี สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ นำเหล่าขบวนดารา ชนะ ศรีอุบล, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, ทานทัต วิภาตะโยธิน, ชาณีย์ ยอดชัย, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, แป้น ปลื้มสระไชย, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ, ทองถม, ชื้นแฉะ ร่วมด้วยวงดนตรีหญิง “ลิตเติ้ลสตาร์” ขอฝากฝัง ดอกไม้ ถิ่นไทยงาม นางเอกหน้ามนคนใหม่ โสภณ เจนพานิช ถ่ายภาพ นำดี วิตตะ อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง จินตนาฟิล์ม จัดจำหน่าย

กำลังแสดงผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ