สุรพลลูกพ่อ (2511)
สุรพลลูกพ่อ (2511/1968) เรื่องราวชีวิตจริงของราชาเพลงลูกทุ่ง "สุรพล สมบัติเจริญ" ผ่านมุมมองของบิดาของครูคือ "พ่อเปลื้อง สมบัติเจริญ" ตั้งแต่สุรพลเริ่มชีวิตการร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ ด้วยเอกลักษณ์ ลีลา รูปแบบเฉพาะตัว และความสามารถในการร้องและแต่งเพลงเอง รวมถึงการใช้เพลงจังหวะรำวงในเพลงที่เขาแต่ง ทำให้เพลงของเขามีความสนุกครึกครื้นและเป็นที่นิยมจนกลายเป็นราชาแห่งวงการเพลงลูกทุ่ง ก่อนที่สุรพลจะจบชีวิตอย่างน่าเศร้าด้วยเหตุฆาตกรรมที่ใครก็คาดไม่ถึง
ลูกชาติเสือ (2511)
ลูกชาติเสือ (2511/1968) ชาติเสือไม่ทิ้งลาย ชาติชายไม่ทิ้งเชื้อ ลูกชาติเสือ ยิ่งใหญ่เหนือความยิ่งใหญ่ สะเทือนใจทั้งบู๊และชีวิต สร้างบทจากนวนิยายยอดฮิต ของ กรกฏ อลงกรณ์ ในเดลิเมล์วันจันทร์
16 ปีแห่งความหลัง (2511)

16 ปีแห่งความหลัง (2511/1968) ลำดวล สมบัติเจริญ กับ การะเวก เพื่อนสนิท เดินทางจากสุพรรณมากรุงเทพฯ หา จ่าโทแต้ม นักดนตรีในกองดุริยางค์ทหารอากาศ เพื่อหางานทำ ที่บ้านของจ่าโทแต้ม มี จ่าโทโปร่ง เพื่อนสนิทอีกคนอาศัยอยู่ด้วย จ่าโทแต้มให้การต้อนรับลำดวลกับการะเวกอย่างดี และเมื่อทราบว่าลำดวลได้ลาออกจากการเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ และลาออกจากการเป็นครูที่สุพรรณแล้ว ก็หาทางช่วยเหลือ ได้พาลำดวลไปพบ ร.ท.ปราโมทย์ นายของตนเพื่อฝากเข้าทำงานในกองทัพอากาศ

ร.ท.ปราโมทย์ ได้ตั้งค่ายมวยชื่อ ค่ายเลือดชาวฟ้า ได้รับลำดวลกับการะเวกเข้าทำงาน โดยบรรจุ ลำดวล เข้าทำงานในฝ่ายโยธา กองทัพอากาศ พร้อมกับแนะนำให้ลำดวลหัดมวยเพื่อหาลำไพ่พิเศษ จ่าตรีอ่อน ผู้ควบคุมดูแลนักมวยในค่าย ชอบพอสนิทสนมกับลำดวลและการะเวกเป็นพิเศษ สาเหตุเพราะทั้งสามคนชอบรำวง เมื่อมีคณะรำวงมาตั้งใกล้ๆ ค่ายอ่อนก็เป็นตัวการทำให้ลำดวลกับการะเวกได้หนีไปรำวงด้วยทุกคืน

จิ๋มลิ้ม หัวหน้าคณะรำวงชอบพอกับอ่อน เมื่อลำดวลได้แต่งเพลงรำวงไว้และอยากที่จะแสดงผลงานของตัว ก็ได้รับการสนับสนุนจากจิ๋มลิ้มเป็นอย่างดี เพลงชูชกสองกุมาร ของลำดวลได้รับกาารต้อนรับที่ดีจากประชาชนที่มารำวง ในคืนหนึ่ง ร.ท.ปราโมทย์ มาพบทั้งสามเข้า ทำให้ทั้งสามคนตกใจมาก แต่ ร.ท.ปราโมทย์ กลับแสดงความยินดีกับผลงานเพลงของลำดวล และย้ายลำดวลเข้าสู่กองดุริยางค์ทหารอากาศ

ที่กองดุริยางค์ทหารอากาศ ในระยะแรกลำดวลทำงานอยู่ฝ่ายการเงิน ได้รับยศเป็นจ่าตรี การะเวกและจ่าอ่อนก็ย้ายตามมาด้วย เนื่องจากบ้านพักเต็มทั้งสามคนจึงต้องมาขออาศัยที่บ้านพักของ จ่าแต้ม ที่บ้านของจ่าแต้มทั้งสามคนได้รับการขูดรีด และกดขี่จาก "นางแหว" เมียจ่าแต้มที่มีนิสัยเห็นแก่ตัวและปากร้ายเป็นที่สุด ทั้งสามคนได้หาทางแก้เผ็ดยายแหวทุกครั้ง ที่กองดุริยางคืทหารอากาศลำดวลได้รับความสนับสนุนจากนักร้องนักแต่งเพลงรุ่นพี่ ทำให้มีโอกาสแสดงผลงานที่แต่งและร้อง จนประชาชนให้ความนิยม และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สุรพล สมบัติเจริญ

ป่าลั่น (2511)
ป่าลั่น (2511/1968) ข้อความบนใบปิด อัมพรภาพยนตร์ สร้าง เพราะ...ลูกแม่ เกิดมาได้ชื่อว่า..ลูกกาฝาก ใจของแม่จึงร่ำร้องเรียกหาศักดิ์ศรี ของ สาวบ้านนอก... จึงขอนำท่านพบกับเรื่องราวอันล้นฟ้า จากภาพยนตร์มาตรฐาน... ป่าลั่น จากบทประพันธ์ของ เสนีย์ บุษปะเกศ มาสั่นสะเทือนอารมณ์ท่าน จากเหล่าดารายอดศิวิไล พิศมัย วิไลศักดิ์ สมบัติ เมทะนี ภาวนา ชนะจิต ร่วมด้วย อดุลย์ ดุลยรัตน์, ฤทธี นฤบาล, อนุชา รัตนมาลย์, ปริม ประภาพร, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, เชาว์ แคล่วคล่อง, สน่ำ, จำรูญ หนวดจิ๋ม, ทองฮะ, สีเทา, และด.ช.ภูมิภัทร์ นาวานุเคราะห์ อัมพร ประทีปเสน อำนวยการสร้าง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ สุวีระ กำกับการแสดง ร่วมใจฟิล์ม จัดจำหน่าย
ป้อมปืนตาพระยา (2511)
ป้อมปืนตาพระยา (2511/1968) ข้อความบนใบปิด เทพกรภาพยนตร์ สร้าง ป้อมปืนตาพระยา จากบทประพันธ์ของ อรชร เทพกร-ส.อาสนจินดา ร่วมมือกันครั้งไร เกรียงไกรและยิ่งใหญ่ทุกที... เหนือกว่า...ยิ่งใหญ่กว่า... ชุมทางเขาชุมทอง-ใจเพชร นำโดย 6 ดาราใหญ่ สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ เกชา เปลี่ยนวิถี โสภา สถาพร ชนะ ศรีอุบล เมตตา รุ่งรัตน์ ร่วมด้วย ฑัต เอกฑัต, ประมินทร์ จารุจารีต, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ชาญ กัมปนาท และดาราประกอบ ส.อาสนจินดา กำกับ อดุลย์ เศรษฐภักดี ถ่ายภาพ รัตน์ เศรษฐภักดี อำนวยการสร้าง
เลือดอาชาไนย (2511)

เลือดอาชาไนย (2511/1968) ข้อความบนใบปิด รังษิยาฟิล์ม เสนอให้พบความสำคัญครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด... เลือดอาชาไนย ของ เพชร สถาบัน สุดยอดนวนิยายในนิตยสาร “บางกอก” มาเป็นหนังใหญ่ สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ พบ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, เมตตา รุ่งรัตน์, ชุมพร เทพพิทักษ์, ประมินทร์ จารุจารีต, ฤทธี นฤบาล, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, สาหัส บุญหลง, นุสรา แสงรัตน์, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ทศ และดาราสมทบทั่วประเทศ รังษิยา บรรณกร อำนวยการสร้าง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ ศักดา ธงชัย ดำเนินงาน สุวีระ กำกับการแสดง ร่วมใจฟิล์ม โดย สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ จัดจำหน่าย

 
น้ำอ้อย (2511)
น้ำอ้อย (2511/1968) ข้อความบนใบปิด นพรัตน์ภาพยนตร์ เสนอ น้ำอ้อย จากบทประพันธ์ ของ สุมนทิพย์.. นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ อดุลย์ ดุลยรัตน์, เมตตา รุ่งรัตน์, บุศรา นฤมิต, ชฎาพร วชิรปราณี, มนัส บุณยเกียรติ, สมพล กงสุวรรณ, มานี มณีวรรณ, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, ธัญญา ธัญญารักษ์, อรสา อิศรางกูร และ ดอกดิน กัญญามาลย์ เชิญชมฉากเพลงเอก 3 เพลง 35 ม.ม.เสียงในฟิล์ม สีสวยสด เพลง “น้ำอ้อย” “ผีเสื้อ” และเพลง “แพรัก” พร้อม รุ่งรังสี สร้างบทภาพยนตร์ ดอกดิน กำกับการแสดง นพรัตน์ ศศิวิมลรักษ์ อำนวยการสร้าง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
บัวหลวง (2511)
บัวหลวง (2511/1968) มิตร-สุทิศา ข้อความบนใบปิด กมลศิลปภาพยนตร์ เสนอ สุขสันต์...เริงรื่น...ชื่นทรวง บัวหลวง 35 ม.ม.ซูเปอร์ซีเนมาสโคป สีอิสต์แมน มิตร ชัยบัญชา สุทิศา พัฒนุช ดาราสาวเงิน 2 ล้านคนใหม่ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, รัตนาภรณ์น้อย, ทัต เอกทัต, วีนัส ศรีประไพ, ชูศรี มีสมมนต์, ชฎาพร วชิรปราณี, สมพงษ์ พงษ์มิตร, เทียว ธารา, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ โอฬารตระการตาด้วย 8 เพลงเอกเสียงในฟิล์ม น้อย กมลวาทิน กำกับการแสดง รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อำนวยการสร้าง ศานิต รุจิรัตน์ตระกูล ถ่ายภาพ กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
แม่นาคคะนองรัก (2511)
แม่นาคคะนองรัก (2511/1968) ข้อความบนใบปิด เสน่ห์ศิลป์ภาพยนตร์ เสนอ ปรียา รุ่งเรื่อง ชุมพร เทพพิทักษ์ ฤทธี นฤบาล แม่นาคคะนองรัก หนังผี หนังดัง ต้อง เสน่ห์ สร้าง แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, นุสรา แสงรัตน์, หยาดรุ้ง ระพี พร้อมด้วย ล้อต๊อก, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ทองฮะ, ขวัญ, ยรรยงค์, ดาวน้อย ดวงใหญ่, ลุงโกร่ง กางเกงแดง ขอเสนอ กันทิมา ดาราพันธ์ สันทัด ถ่ายภาพ เสน่ห์ โกมารชุน กำกับการแสดง (ที่มา :Thai Movie Posters)
พันดง (2511)
พันดง (2511/1968) ข้อความบนใบปิด รัตนเดชาภาพยนตร์ สร้าง พันดง จากบทประพันธ์ ของ อ้อย อัจฉริยกร สมบัติ เมทะนี โสถา สถาพร พัลลภ พรพิษณุ, เยาวเรศ นิสากร, สัมพันธ์, อบ บุญติด, สิงห์ มิลินทราศัย, ชาณีย์ ยอดชัย, พิภพ ภู่ภิญโญ, เมืองเริง ปัทมินทร์, พร ไพโรจน์, ไกร ครรชิต, ราม, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, เชิง, สมถวิล, ดาวน้อย ดวงใหญ่ แสดงนำ ไกรสร โกศลวิจิตร์ สร้าง-กำกับบท จากละครวิทยุฮิทของคณะ รุ่งฤดี ปริญญา ลีละศร กำกับการแสดง แสวง ดิษยวรรธนะ ถ่ายภาพ อดิสักดิ์ รัตนศักดิ์วิบูลย์ อำนวยการสร้าง ศิวาพรฟิล์ม จัดจำหน่าย
ดอกอ้อ (2511)
ดอกอ้อ (2511/1968) ดอกอ้อ เมื่อตอนยังเล็กๆ อาศัยอยู่และหนีตายข้ามโขงมายังฝั่งไทยกับแม่และป้าแหวน (มนัส บุญยเกียรติ) ซึ่งเป็นแม่นม ระหว่างหลบหนีมานั้น แม่ก็ถูกฆ่าตาย ส่วนป้าแหวนก็ถูกยิงได้รับบาดเจ็บและพลัดหลงกัน แม่ครูพร (ศรินทิพย์ ศิริวรรณ) ซึ่งเป็นเจ้าของโรงเรียนพรพิทยา เห็นเหตุการณ์จึงช่วยนางเอกซึ่งมีชื่อว่า อ๋อ มาเลี้ยงไว้แทน แต่เพราะเห็นว่าชื่อ อ๋อ นั้นไม่ค่อยจะเพราะ แม่ครูพรจึงเปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า ดอกอ้อ (เพชรา เชาวราษฏร์) ส่วนชื่อจริงๆ ของดอกอ้อ ก็คือ กมลมาศ สิทธิกร ซึ่งสลักไว้ในเหรียญห้อยคอที่ติดตัวดอกอ้อมานั่นเอง 15 ปีต่อมา ดอกอ้อก็โตเป็นสาวและเป็นครูสอนที่โรงเรียนของแม่ครูพร โดยมีเพื่อนซี้อยู่สองคนซึ่งแม่ครูพรเลี้ยงมาพร้อมๆ กันคือ เมี่ยง (ดอกดิน กัญญามาลย์) ทำหน้าที่เป็นภารโรง ส่วน เอื้องคำ (อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา) นั้นเป็นแม่ครัว นอกจากนี้ยังมี ภาณี (ชฎาพร วชิรปราณี) ซึ่งแม่ครูพรเลี้ยงมาแต่เด็กๆ แต่ภาณีไม่ค่อยจะถูกชะตากับดอกอ้อ วันหนึ่ง พิทักษ์ (แมน ธีระพล) ซึ่งได้รับมรดกที่ดินโรงเรียนที่แม่ครูพรเช่าก็ขอขึ้นค่าเช่าที่ดิน ภาณีจึงได้รู้จักสนิทสนมกับพิทักษ์ ต่อมาแม่ครูพรก็มอบสายสร้อยและเหรียญสลักชื่อสกุลให้ดอกอ้อ ทำให้ภาณีไม่พอใจ ดอกอ้อจึงตัดความรำคาญยกสายสร้อยของตนเองให้ภาณีไปโดยไม่รู้ว่านั่นเป็นสร้อยนามสกุลของตนเอง ดอกอ้อ เมี่ยงและเอื้องคำ พานักเรียนไปเที่ยวป่าและหลงป่าจึงได้พบกับผู้การวิคุณ (อดุลย์ ดุลยรัตน์) ที่ไล่ยิงพวกคนร้ายผ่านมา วิคุณสนใจในตัวดอกอ้อ ส่วนภาณีนั้นก็ขโมยเงินแม่ครูหนีเข้ากรุงเทพฯ ดอกอ้อจะไปตามภาณี แต่เกิดการยิงกันและมีชายคนหนึ่งถูกยิงบาดเจ็บมาซ่อนตัวในโรงเรียน เขาบอกแต่ชื่อว่า นายอ่อน (มิตร ชัยบัญชา) ดอกอ้อสงสารจึงช่วยเหลือนายอ่อนจนอาการดีขึ้น แท้จริงแล้ว นายอ่อนก็คือ เจ้าตรีทศวงศ์ นายพลทหารบกลาว ซึ่งหนีภัยการเมืองและกำลังถูกนายพิทักษ์กับพวกที่รับจ้างทหารลาวตามฆ่า ผู้การวิคุณจึงวางแผนให้เจ้าตรีทศวงศ์ไปหลบซ่อนตัวอยู่ที่บ้านของพี่สุทธิ (สุวิน สว่างรัตน์) ในกรุงเทพฯ โดยวางแผนให้เห็นว่า นายอ่อนถูกยิงตายและทหารไทยนำศพไป ทำให้ดอกอ้อซึ่งไม่รู้แผนนี้เสียใจเพราะเริ่มมีใจให้นายอ่อนแล้ว ต่อมาพิทักษ์พูดสู่ขอดอกอ้อกับแม่ครู แต่ครูไม่ชอบนิสัยนักเลงของพิทักษ์ จึงให้ดอกอ้อหนีไปเรียนต่อในกรุงเทพฯ ฝ่ายนายอ่อนเมื่อมาอยู่กรุงเทพฯ ก็ปลอมตัวเป็นคนตาบอดชื่อนายนิ่มและสนิทสนมกับลูกสาวพี่สุทธิซึ่งตาบอดเช่นกันชื่อว่า อ้อย (ด.ญ.จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา) ส่วนนายทักษ์เมื่อรู้ว่า แม่ครูกีดกันไม่ให้แต่งงานกับดอกอ้อ ก็ลอบเผาโรงเรียนทิ้ง ครูพรจึงต้องเข้ากรุงเทพฯไปอยู่กับดอกอ้อ
จ้าวแผ่นดิน (2511)
จ้าวแผ่นดิน (2511/1968) ข้อความบนใบปิด จอมทองภาพยนตร์ เสนอ จ้าวแผ่นดิน พบ สมบัติ เมทะนี เนาวรัตน์ วัชรา ทักษิณ แจ่มผล เมตตา รุ่งรัตน์ 4 ดาราตุ๊กตาทอง สมทบด้วย เยาวเรศ นิสากร, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, ฑัต เอกฑัต, เชาว์ แคล่วคล่อง, ถวัลย์ คีรีวัตร, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ไสล พูนชัย, บู๊ วิบูลย์นันท์, เมฆ เมืองแมน, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ล้อต๊อก, ผาสุก แสง สุทธินันท์-โสภณ เจนพานิชย์ ถ่ายภาพ ทักษิณ แจ่มผล กำกับการแสดง ปัทมา รัตนใส อำนวยการสร้าง
สิงห์เหนือเสือใต้ (2511)
สิงห์เหนือเสือใต้ (2511/1968) ข้อความบนใบปิด ส.อาสนจินดาภาพยนตร์ เสนอ ผลงานยอดเยี่ยมแห่งยุค สิงห์เหนือเสือใต้ ไชยา สุริยัน พบ เกชา เปลี่ยนวิถี โสภา สถาพร พบ ชัชฎาภรณ์ รักษนาเวศ รุจน์ รณภพ, ฑัต เอกฑัต, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, สถาพร มุกดาประกร, ชุมพร เทพพิทักษ์, ชฎาพร วชิรปราณี, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ, ชาณีย์ ยอดชัย, ชนินทร์ นฤปกรณ์, ปฐมชัย, โขน, ชื้นแฉะ, ทองถม, เสริมพันธ์ สุทธิเนตร, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, สมชาย, เมฆ และดาวยั่วดวงใหม่ จันทิรา สุภาษิต เอวันฟิล์ม จัดจำหน่าย
ลาวแพน (2511)
ลาวแพน (2511/1968) ข้อความบนใบปิด โปรดเก็บน้ำตาของท่าน ไว้ให้กับ... ภาพยนตร์ฟิล์มสยาม เสนอ 7 ตุ๊กตาทองใน ลาวแพน ของ วิจิตร สุวรรณสันต์ สมบัติ เมทะนี ภาวนา ชนะจิต เมตตา รุ่งรัตน์ น้ำเงิน บุญหนัก, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, รุจิรา-มารศรี อิศรางกูร, วิน วิษณุรักษ์, จุรีรัตน์, สุวิน สว่างรัตน์, เมืองเริง ปัทมินทร์, ทองฮะ, หม่อมชั้น พวงวัน, ยรรยงค์, นิดหน่อย ประสพ ปิ่นน้อย กำกับการแสดง กวี คงกระพัน ถ่ายภาพ ประสพ ปิ่นน้อย-มานพ มิ่งขวัญ อำนวยการสร้าง สนั่นศิลป์ จัดจำหน่าย
เป็ดน้อย (2511)
เป็ดน้อย (2511/1968) ศักดิ์ชัย (ไชยา สุริยัน) ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่สำรวจพื้นที่ทำทางหลวง เข้ามาขอพักชั่วคราวในบ้านสุดชายทุ่งของเป็ดน้อย (สุทิศา พัฒนุช) และทั้งสองบังเกิดความรักต่อกัน แม้ว่าบุญ (ธานินทร์ อินทรเทพ) จะหมายปองเป็ดน้อยอยู่ก่อนแล้ว ศักดิ์ชัยสัญญาว่าจะมารับเป็ดน้อยไปอยู่กรุงเทพ แต่เมื่อศักดิ์ชัยมาบอกเรื่องของเขากับเป็ดน้อยแม่และพี่น้องของเขาต่างรังเกียจเมื่อทราบว่าจะได้สะใภ้ชาวนาเข้ามาอยู่ร่วมด้วย ขณะที่ตระกูลนี้กำลังอยู่ในฐานะลำบาก ทางเดียวที่จะกู้สถานการณ์ได้คือ มรดกของเจ้าคุณปู่ (ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร) แต่คุณปู่มีเงื่อนไขว่าศักดิ์ชัยต้องหาเจ้าสาวที่ท่านพอใจเท่านั้น ในงานเลี้ยงต้อนรับ ศักดิ์ศรี (จินฟง) น้องชายคนสุดท้องที่เพิ่งเรียนจบจากเมืองนอก เป้ดน้อยในชื่อใหม่ว่า วรรณวิไล ต้องขายหน้าโดยไม่รู้ตัวที่ทำกิริยาเปิ่นๆจากแผนของหญิงเล็ก (เมตตา รุ่งรัตน์) ผู้ตั้งชื่อให้และแสร้งทำดีเพื่อหาโอกาสกำจัดเธอ ศักดิ์ชัยโกรธเป็ดน้อยที่ทำให้ได้รับความอับอาย เป็ดน้อยเสียใจมากจนหนีกลับบ้านเดิม แต่บุญและศักดิ์ศรีช่วยกันให้กำลังใจให้เป็ดน้อยกู้ศักดิ์ศรีของตนเองคืนมา ทั้งสองวางแผนให้เป็ดน้อยปรากฏตัวใหม่เป็นที่ประทับใจของทุกคน ด้วยความร่วมมือของครูพูน (พูนสวัสดิ์ ธีมากร) ครูสอนมารยาท เจ้าคุณปู่พอใจเป็ดน้อยมากประกาศยกมรดกให้ศักดิ์ชัยและเป็ดน้อย พร้อมทั้งจัดการแต่งงานให้ทั้งสอง
สัญชาติชาย (2511)
สัญชาติชาย (2511/1968) มิตร-เพชรา ข้อความบนใบปิด จิตรวาณีภาพยนตร์ เสนอการต่อสู้ของลูกผู้ชาย ที่สู้อย่างถวายชีวิต เพื่อพิชิตอุปสรรค ทั้งรัก ทั้งบู๊ สู้ฉกรรจ์ใน สัญชาติชาย ของ เสนีย์ บุษปะเกศ จากละครวิทยุที่ผู้ฟังขอร้อง ต้องแสดงซ้ำถึงสามครั้ง ของคณะเสนีย์ บุษปะเกศ มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ดาราสมทบ ประจวบ ฤกษ์ยามดี, อดุลย์ ดุลยรัตน์, กิ่งดาว ดารณี, ชุมพร เทพพิทักษ์, ชินตา ธนานนท์, เปรมชัย ประภากร, สุดเฉลียว เกตุผล, สมจิตร ทรัพย์สำรวย, สมควร กระจ่างศาสตร์, เชาว์ แคล่วคล่อง, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, เทียว ธารา, เมฆ เมืองกรุง, หมี หมัดแม่น, พิศ ณรงค์, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ล้อต๊อก กิตติพงษ์ เวชภูญาณ อำนวยการสร้าง ธีระ แอคะรัจน์ ถ่ายภาพ รังสี ทัศนพยัคฆ์ กำกับการแสดง จินตนาฟิล์ม จัดจำหน่าย

หน้าที่