แหลมหัก (2510)
แหลมหัก (2510/1967) ข้อความบนใบปิด แหลมคมดังลมเพชรหึง...!ชีวิตซึ้ง เร้าตรึงจิต ทัศนาภาพยนตร์ เสนอ แหลมหัก สุดที่รักจากจินตนาการ ของ ส.อาสนจินดา “แก้วฟ้า” สร้างบทภาพยนตร์ นำโดย มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี, อดุลย์ ดุลยรัตน์, บุศรา นฤมิตร, กิ่งดาว ดารณี, รุจน์ รณภพ, อรสา อิศรางกูร, สุพรรณ บูรณพิมพ์, สาหัส บุญหลง,สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม ดาราเกียรติยศ วงศ์ ศรีสวัสดิ์, วิน วิษณุรักษ์, ชาลี อินทรวิจิตร, เสริมพันธ์ สุทธิเนตร, สมพล กงสุวรรณ, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, หมี หมัดเม่น, พิศ อินคล้าย, แก้วฟ้า, สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช, ดอกรัก, ทานทัต วิภาตะโยธิน, สิงห์ มิลินทราศัย ดำริห์ แหลมหลวง-เสริมพันธ์ สุทธิเนตร อำนวยการสร้าง ฉลวย ศรีรัตนา กำกับการแสดง วิเชียร วีระโชติ ถ่ายภาพ จินตนาฟิล์ม จัดจำหน่าย จากละครวิทยุฮิตของคณะ “แก้วฟ้า”
เหนือนักเลง (2510)
เพชรพญายม (2510/1967) แสงสว่างภาพยนตร์ เสนอ เป็นครั้งแรกของประวัติการณ์ภาพยนตร์ไทย ในการพบ และพิสูจน์บทบาทของยอดดารา...! สมบัติ เมทะนี พบ เกชา เปลี่ยนวิถี เพชรา เชาวราษฎร์ พบ ภาวนา ชนะจิต ใน เพชรพญายม จากบทประพันธ์และละครวิทยุของ แก้วฟ้า ทักษิณ แจ่มผล, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, เยาวเรศ นิสากร, สีเทา, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ชาณีย์ ยอดชัย, เมืองเริง ปัทมินทร์ และ ผุสดี อนัคฆมนตรี, นิภา แก้วจำบัง ให้เกียรติร่วมแสดง สมชาย จันทวังโส ถ่ายภาพ อนุชา แสงผล อำนวยการสร้าง ประทีป โกมลภิส กำกับการแสดง
คนเหนือคน (2510)
คนเหนือคน (2510/1967) โดยได้รับความร่วมมือจาก กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และ กรมตำรวจ ฟัง 4 เพลงฮิต "คนเหนือคน" "น้ำใจคนไทย" "แด่เธอผู้เดียว" "ผู้หญิงเก่ง" พันตำรวจตรีพิเชษฐ์ หรือ สารวัตรพิเชษฐ์ (มิตร ชัยบัญชา) ที่ได้รับภารกิจจาก ผู้บังคับการ (จรูญ สินธุเศรษฐ์) ให้จับคู่กับสายลับ XX ในการทลายองค์กรที่มีชื่อว่า องค์กรดอกจิก ซึ่งมาตั้งสาขาในประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหวังทำลายประเทศไทยโดยมี อดัม ชา (เกชา เปลี่ยนวิถี) เป็นหัวหน้าสาขา เมื่อพิเชษฐ์เดินทางมาถึงที่อยู่ของ XX กลับถูกกลุ่มสาวลึกลับเล่นงานกระทั่งได้รู้ความจริงว่าสายลับ XX ก็คือ ร้อยตำรวจตรีชิงชิง (ออเดรย์ ชิง) แห่งกองตำรวจลับแห่งภาคตะวันออกไกล ต่อมาพิเชษฐ์บุกเข้าไปยังฐานขององค์กรดอกจิกจนได้พบกับ อดัม ชา แต่พลาดท่าเสียทีถูกจับได้ระหว่างการต่อสู้กับ เดียร์ (ชุมพร เทพพิทักษ์) และ แมน (แมน ธีระพล) มือขวาคนสนิทของอดัมทำให้ขาดการติดต่อไป ทำให้ผู้บังคับการเกิดความกังวลใจจึงได้เรียกตัว ร้อยตำรวจเอก สมบัติ เมทะนี (สมบัติ เมทะนี) น้องชายของสารวัตรพิเชษฐ์ลงมาจากอุดรธานีให้แทรกซึมเข้าไปองค์กรเพื่อพาตัวพี่ชายออกมา โดยให้สมบัติทำทีเข้าไปตีสนิทกับ อมรา (อมรา อัศวนนท์) คนสนิทของอดัมซึ่งมี โสภา (โสภา สถาพร) ลูกสาวบุญธรรมเป็นผู้ช่วยเพื่อให้อมราพาสมบัติเข้าไปทำงานในองค์กร ขณะเดียวกันทางองค์กรได้ส่ง อดุลย์ (อดุลย์ ดุลยรัตน์) คนรักของอมราให้สะกดรอยตามชิงชิงแต่พลาดท่าถูกจับได้ซึ่งชิงชิงก็ได้กล่อมอดุลย์ให้ช่วยเป็นสายให้กับทางการเป็นผลสำเร็จโดยอดุลย์ได้ส่งมอบแผน c-10 ที่เขาชิงมาจาก ดร. หวาง (บู๊ วิบูลย์นันท์) ที่นายใหญ่ส่งมาแต่ชิงชิงก็ได้เฉลยว่าแผนที่เขาเอามานั้นเป็นของปลอมอดุลย์จึงได้รู้ความจริงว่าอดัมหักหลังเขาแแล้ว ต่อมาอมราได้พาสมบัติมาพบกับอดัมเพื่อฝากเข้าทำงานซึ่งอดัมได้ให้สมบัติทดสอบฝีมือกับ เดียร์ และ ประมินทร์ (ประมินทร์ จารุจารีต) อีกหนึ่งมือขวาของอดัมโดยสมบัติสามารถเอาชนะทั้งคู่ได้ทำให้อดัมไว้ใจสมบัติซึ่งสมบัติก็ได้แอบซ่อนกุญแจห้องขังที่ได้มาจากสมุนคนหนึ่งไว้ในกล่องข้าวทำให้พิเชษฐ์สามารถหนีรอดออกมาได้ จากนั้นอดัมได้เรียกประชุมแล้วฝากแผน c-10 ของจริงไว้ที่แมนทำให้อดุลย์ได้แอบแจ้งข่าวรวมถึงที่อยู่ของแมนแก่ตำรวจโดยพิเชษฐ์ได้บุกไปยังที่พักของแมนจนเกิดการต่อสู้และพิเชษฐ์สามารถฆ่ารวมถึงชิงแผน c-10 จากแมนได้สำเร็จทำให้อดัมต้องเปลี่ยนฐานบัญชาการรวมถึงแผนใหม่อย่าง z-40 ต่อมาอดุลย์ได้แอบส่งสัญญาณรายงานข่าวไปยังตำรวจระหว่างนั้นสมบัติเดินผ่านมาและแอบได้ยินก็ได้รู้ความจริงว่าอดุลย์เป็นสายให้ตำรวจแต่อดัมเกิดจับได้จึงสั่งให้ประมินทร์นำอดุลย์ไปขังไว้สมบัติจึงจุดพลุไฟเป็นสัญญาณให้พิเชษฐ์รวมถึงตำรวจและทหารบุกเข้าไปทลายฐานบัญชาการขององค์การดอกจิกแล้วไปจับตัวอดัมทำให้อดัมได้รู้ความจริงว่าโสภาเป็นสายให้กับตำรวจอีกคนทั้งคู่จึงจับอดัมไปขังไว้และปล่อยอดุลย์ออกมา ระหว่างนั้นอดุลย์เข้าไปต่อสู้กับเดียร์เพื่อเปิดทางให้สมบัติและโสภาหนีออกไปจนตกหน้าผาตายทั้งคู่ขณะเดียวกันอดัมได้หนีขึ้น ฮ. โดยทิ้งอมราให้ถูกจับเวลาเดียวกันชิงชิงได้นำตำรวจหญิงมาช่วยจนในที่สุดก็สามารถจับอดัมได้สำเร็จ
บ้าบิ่นบินเดี่ยว (2510)
บ้าบิ่นบินเดี่ยว (2510/1967) สมบัติ-ภาวนา ข้อความบนใบปิด สะท้านภาพยนตร์ ขอเสนอ บ้าบิ่นบินเดี่ยว ของ มรกต กำชัย นวนิยายชีวิตของลูกผู้ชาย ซึ่งเกิดมาไม่รู้จักคำว่า “แพ้” และลูกผู้หญิงแก่นแก้ว เกิดมาไม่กลัวใคร...! นำโดย สมบัติ เมทะนี ภาวนา ชนะจิต ทักษิณ แจ่มผล, เมตตา รุ่งรัตน์, ประจวบ ฤกษ์ยามดี สมชาย จันทวังโส ถ่ายภาพ ประทีป โกมลภิส กำกับการแสดง สะท้าน เทพบัญชา อำนวยการสร้าง เอกรัตน์ จัดจำหน่าย
9 เสือ (2510)
9 เสือ (2510/1967) ข้อความบนใบปิด ภควดีภาพยนตร์ เสนอ... 9 เสือ บทประพันธ์ ของ...”อรชร” จากละครวิทยุคณะ...เสนีย์ บุษปะเกศ มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ นำ อดุลย์ ดุลยรัตน์, รุจน์ รณภพ, สุมาลี ทองหล่อ, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย, สุวิน สว่างรัตน์, ประมินทร์ จารุจารีต, เมืองเริง ปัทมินทร์, สิงห์ มิลินทราศัย, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, เทียว ธารา, จรูญ สินธุเศรษฐ์, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ชูศรี โรจนประดิษฐ์ ทรงศรี เทวคุปต์ ให้เกียรติประกอบนาฏศิลป พันคำ กำกับการแสดง กรองจิตต์ เตมียศิลปิน อำนวยการสร้าง องอาจ ดำเนินงาน แสวง ดิษยวรรธนะ ถ่ายภาพ พันคำภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
พรายพิฆาต (2510)
พรายพิฆาต (2510/1967) พรายพิฆาต เป็นภาพยนตร์สี 35 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2510 สร้างจากบทประพันธ์ของ พนมเทียน สร้างโดย กมลศิลป์ภาพยนตร์ โดยมี รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง เป็นผู้อำนวยการสร้างและนำแสดง กำกับการแสดงโดย น้อย กมลวาทิน ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกและเรื่องเดียวของ อาภัสรา หงสกุล ที่แสดงเป็นนางเอกเต็มตัว
สิงห์หนุ่ม (2510)
สิงห์หนุ่ม (2510/1967) ข้อความบนใบปิด ธงชัยภาพยนตร์ เสนอ สิงห์หนุ่ม (เสือเฒ่าภาคจบ) จากบทประพันธ์ของ..มณเฑียรทอง มิตร-เพชรา พบ ชนะ ศรีอุบล พร้อมด้วย สมจิตร ทรัพย์สำรวย, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, เยาวเรศ นิสากร, วิชิต ไวงาน, เชาว์ แคล่วคล่อง, ชานีย์ ยอดชัย, ถวัลย์ คีรีวัต, เทียว ธารา, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, หม่อมชั้น พวงวัน, ทองฮะ, แป๊ะอ้วน ฯลฯ เนรมิต กำกับ ธงชัย ศรีเสรี อำนวยการสร้าง จินตนาฟิล์ม จัดจำหน่าย
พยัคฆ์ร้ายใต้สมุทร (2510)
พยัคฆ์ร้ายใต้สมุทร (2510/1967) ข้อความบนใบปิด จินดาวรรณภาพยนตร์ เสนอ.. พยัคฆ์ร้ายใต้สมุทร บทประพันธ์ของ...กมลพันธ์ สันติธาดา นำโดย มิตร ชัยบัญชา รักชนก จินดาวรรณ ขวัญใจ สอาดรักษ์ ทรงวุฒิ ติยะภูมิ ร่วมด้วย อรสา อิศรางกูร, มานี มณีวรรณ, สุวิน สว่างรัตน์, เมืองเริง ปัทมินทร์, ไฉน, สมผล, วนิดา, ชาย, แอ๋, ชาญ กัมปนาท, ไกร ครรชิต, จิ๋ม, ดี, เชิง, สมพงษ์ พงษ์มิตร, หม่อมชั้น พวงวัน, ยงค์, ดาวน้อย ดวงใหญ่ ฯลฯ วงทอง ผลานุสนธิ์ อำนวยการสร้าง ศิริ ศิริจินดา กำกับการแสดง จิตต์ แจ่มรัศมีโชติ ที่ปรึกษา นิคมรัฐ, สันต์ อิ่มสอน ถ่ายภาพ วิชัย เอื้อชูเกียรติ ให้เกียรติถ่ายภาพใต้สมุทร
ผู้ชนะสิบทิศ ภาคสมบูรณ์ บุเรงนองถล่มหงสาวดี (2510)
ปผู้ชนะสิบทิศ ตอน ถล่มหงสาวดี (2510/1967) จะเด็ด ได้รับมอบหมายให้ปราบเมืองแปร แต่กลับหนีทัพไปพาตัว กุสุมา คนรักกลับออกมาจากหงสา แม้พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้จะพิโรธจนตัดความสัมพันธ์ แต่ด้วยความปรีชาสามารถของจะเด็ด ความสัมพันธ์จึงกลับมาราบรื่นตามเดิม วันหนึ่ง เมื่อ ไขลู จากหงสาวดี กลับมากำจัดพระมหาเถร พระอาจารย์ของทั้งคู่ จะเด็ดและพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ จึงร่วมกันยกทัพเพื่อถล่มหงสาวดีให้พินาศเพื่อเป็นการล้างแค้น
เหล็กเพชร (2510)

เหล็กเพชร (2510/1967) เหล็กเพชร เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2510 เป็นผลงานกำกับการแสดงของ ส.อาสนจินดา สร้างโดย ส.อาสนจินดาภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์อีกครั้งในปี พ.ศ. 2527

มนุษย์ทองคำ (2510)
มนุษย์ทองคำ (2510/1967) มนุษย์ทองคำ เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2510 เป็นผลงานกำกับการแสดงของ ส.อาสนจินดา สร้างโดยพันธมิตรภาพยนตร์ ถ่ายภาพโดย วิเชียร วีระโชติ-ปรีชา ทรัพย์พระวงศ์ และจัดจำหน่ายโดยจินตนาฟิล์ม
สุภาพบุรุษเที่ยงคืน (2510)
สุภาพบุรุษเที่ยงคืน (2510/1967) ข้อความบนใบปิด ร่างจะแหลก ตัวจะตาย ขอไว้ลายสิงห์ลำพอง สมบัติ เมทะนี โสภา สถาพร สุภาพบุรุษเที่ยงคืน ของ กมลพันธ์ สันติธาดา ดาราสาวจากชอว์บราเดอร์ ฮ่องกง มิส จางไหว่ไหว ประมินทร์ จารุจารีต, ทักษิณ แจ่มผล, ชุมพร เทพพิทักษ์, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, แป๊ะอ้วน, สิงห์ มิลินทราศัย, รัดใจ, เยาวเรศ นิศากร, สีเทา, ทองถม, ไกร ครรชิต, ชาญ ฯลฯ อำนวยการสร้างโดย ประสพ ปิ่นน้อย, สุดเขตต์ ณิยกูล กำกับโดย อนุมาศ บุนนาค สมชาย จันทวังโส ถ่ายภาพ นวฤทธิ์ฟิล์ม จัดจำหน่าย
ทรชนคนสวย (2510)
ทรชนคนสวย (2510/1967) เกิดการหักหลังกันในองค์การอาชญากรรม เมื่อฝิ่นมูลค่า 100 ล้านบาทหายสาบสูญไป ทำให้วิเชียร (สาหัส บุญ-หลง) ผู้เป็นหัวหน้าใหญ่และต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้หักหลังถูกพงษ์ (สิงห์ มิลินทราศรัย) บีบให้ลาออก จากนั้นทางองค์การจึงลงมติให้เป็งหลิน (วิชิต ไวงาม) ที่เป็นเพื่อนของวิเชียรไปฆ่าเขา วิเชียรที่กำลังจะถูกฆ่าจึงสารภาพว่าเขาแอบเอาฝิ่นไปจริงและไปซ่อนไว้ที่สุสานประจำตระกูลที่สงขลา แต่แล้ววิเชียรก็ถูกเป็งหลินฆ่าอยู่ดี เริง รื่นรส (มิตร ชัยบัญชา) ทนายความที่ทำงานให้กับพวกนอกกฎหมายแลกเปลี่ยนส่งมอบแผนที่ซึ่งเป็นที่ซ่อนฝิ่นให้กับลีเชงยู (แมน ธีระพล) ถึงในฮ่องกง เริงได้พลกับซูหลิน (มิสจิ้นหลู) ที่มาแอบฟังการตกลงของเขา จากนั้นเริงได้ตามไปดูซูหลินร้องเพลง ในขณะที่ลีเชงยูส่งคนมาเล่นงานเริงเพราะหักหลังเรื่องการส่งข้อมูล โดยเริงได้สุริยัน (รุจน์ รณภพ) มาช่วยเอาไว้ เริงเดินทางกลับเมืองไทยโดยมีซูหลินร่วมทางมาด้วย ที่กรุงเทพสมาชิกคนสำคัญขององค์การต่างแย่งกันหาฝิ่นมูลค่ามหาศาลนั้น รามซิงค์ (อดินันท์ สิงห์หิรัญ) ที่มาติดต่อกับเริงถูกฆ่าตายตำรวจซึ่งมาจับเริง แต่ภูษิต (สมควร กระจ่างศาสตร์) นายทหารหัวหน้าฝ่ายต่อต้านมาขอตัวเริงไปช่วยราชการจากนั้นก็ปล่อยเริงไป ขบวนการเดินทางลงใต้มีหลายกลุ่มซูหลินที่เป็นลูกสาวของวิเชียรเดินทางโดยรถไฟพร้อมกับเป็งหลินโดยไม่รู้ว่าเขาฆ่าพ่อของเธอ ซูหลินถูกเป็งหลินลอบวางยาพิษแต่ภูษิตมาช่วยเธอไว้ได้ทันและหลบหนีไปพร้อมกัน ส่วนเป็งหลินก็ถูกพงษ์จังตัวไปบังคับให้บอกที่ซ่อนของฝิ่นแล้วพงษ์ก็ฆ่าเป็งหลินตายเพื่อฮุบสมบัติไว้คนเดียว เริงเดินทางโดยรถยนต์และได้รับสุดา (อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา) หญิงสาวที่รถเสียร่วมทางไปด้วย แท้จริงแล้วสุดาคือนางนกต่อของจัง (สมพล กงสุวรรณ) ที่หวังได้ฝิ่นเช่นกัน เริงเสียท่ามารยาหญิงโดนจังจับได้ แต่ระหว่างทางจังปะทะกับคนของลีเชงยู ทำให้เริงเกลี้ยกล่อมให้สุดาพาเขาหนีออกมา ส่วนจังและลีเชงยูก็ร่วมมือกันเดินทางไปลงขลา ที่สุสานทุกกลุ่มทยอยเดินทางมาถึง ต่างก็ปะทะกันเอง หักหลังกัน และบางคนก็ต้องจบชีวิตเพราะกับดักมากมายในสุสาน ผู้ที่เหลือรอดออกมาคือเริง ซูหลิน และภูษิตก็ติดอยู่ใต้ดิน แต่สุริยันก็ช่วยพวกเขาออกมาได้ เริงและพวกตามล่าจังที่หนีไปกับเรือดำน้ำ แต่ผลสุดท้ายจังก็จมลงไปกับเรือดำน้ำที่กลางทะเล เริงและซูหลินเข้ารับโทษเพียงเล็กน้อย เพราะได้ช่วยเหลือราชการในการปราบโจรเอาไว้
ล่าพยาบาท (2510)
ล่าพยาบาท (2510/1967) วิวัฒน์ (ทักษิณ แจ่มผล) ซึ่งลักลอกทำธุรกิจค้าปืนเถื่อนรู้ข่าวว่า ร้อยตำรวจโทเคน คมราช (สมบัติ เมทะนี) ถูกเรียกตัวเข้ามากองปราบ ก็เดาได้ทันทีว่า เคนจะต้องมาตามล่าเสือจอม (สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช) สมุนเอกของวิวัฒน์ วิวัฒน์จึงสั่งให้ลูกน้องไปดักยิงเคนที่สถานีรถไฟบางซื่อ ในขบวนรถไฟที่เคนเดินทางมานั้น ก็มี นิดา นิลาภา (พิศมัย วิไลศักดิ์) ร่วมขบวนมาด้วย แต่ทั้งสองยังไม่รู้จักกัน นิดาเดินทางเข้ากรุงเทพฯเพื่อจะไปทำงานกับพี่สาวคือ นวลน้อย (แก่นใจ มีนะกนิษฐ์) ซึ่งเป็นเมียของวิวัฒน์ เมื่อเคนลงจากรถไฟ มือปืนก็จะยิงเคน แต่นิดาเหลือบไปเห็นก่อน จึงร้องบอกและเหวี่ยงกระเป๋าใส่มือปืน กระสุนจึงพลาดไป เคนขอบใจนิดาและก็แยกย้ายกันไป ที่ท่าเรือคลองเตย เคนกับตำรวจจับกุมเสือจอมได้สำเร็จ วิวัฒน์จึงพานวลน้อยและนิดาหลบไปอยู่ที่อื่นก่อน ฝ่ายแม่นิ่ม (มารศรี อิศรางกูร) ซึ่งเป็นแม่ของนิดาก็เป็นห่วงนิดา จึงบอกให้ นนท์ (เสกสรร สัตยา) ซึ่งเป็นน้องชายนิดาไปเยี่ยมพี่สาว แต่นนท์ก็ถูกผู้ใหญ่เฉี่ยว (ถวัลย์ คีรีวัฒน์) กุมตัวไว้ใช้แรงงานโทษฐานไปแอบดูโฉม (ปริม ประภาพร) ลูกสาวอาบน้ำ ส่วนหลังฉากของผู้ใหญ่เฉี่ยวนั้นก็คือ ผลิตปืนเถื่อนขาย เมื่อเสือจอมถูกจับก็ทำให้วิวัฒน์เงินขาดมือเพราะไม่มีคนประสานงานเรื่องขายอาวุธปืนเถื่อนให้ จึงวางแผนกับนวลน้อยหวังจะเอานิดามาเป็นเมียอีกคน ทั้งนี้ เพื่อที่จะให้นิดาหาเงินให้ใช้เพราะนิดากำลังเป็นนักร้องที่โด่งดัง แต่คืนที่วิวัฒน์ปลุกปล้ำนิดานั้น นิดาฮึดสู้สุดฤทธิ์และใช้ปืนยิงวิวัฒน์ล้มลง นิดาตกใจคิดว่า วิวัฒน์ตายแล้ว จึงวิ่งหนีออกจากบ้าน ก็พอดีพบกับเคน เคนจึงพานิดาไปมอบตัวกับตำรวจ
สิงห์สองแผ่นดิน (2510)
สิงห์สองแผ่นดิน (2510/1967) ข้อความบนใบปิด สุริยันภาพยนตร์ ภูมิใจเสนอ ใหญ่เยี่ยมดัวยฝีมือสร้าง 2 ดาราเอกเชือดกันถึงใจทั้งบู๊..ชีวิต สิงห์สองแผ่นดิน ไชยา สุริยัน พบ เสกสรร สัตยา ภาวนา ชนะจิต พร้อมด้วย เมตตา รุ่งรัตน์, แมน ธีระพล, ชาณีย์ ยอดชัย, อบ บุญติด, สุวิน สว่างรัตน์, ประกอบ, โยธิน เทวราช, ไสล พูนชัย, ทานทัต วิภาตะโยธิน, เมืองเริง ปัทมินทร์, สัมพันธ์, พร ไพโรจน์, รุ่ง เมืองราช, หม่อมชั้น พวงวัน ขอแนะนำ ขอใจ ฤทัยประชา, ก้อง กังสดาร เทียบรัตน์ คทธาคนี อำนวยการสร้าง พรรณสุริยา สร้างบท กันตัน กำกับการแสดง สว่าง บุญกาญจน์, วัลลภ สมิตวนันท์, เชษฐ์ วาทิน ฝ่ายธุรกิจ ลิขิต กฤษณมิตร, สุพงษ์, พินิจ ถ่ายภาพ พันคำภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
พยัคฆ์เดี่ยว (2510)
พยัคฆ์เดี่ยว (2510/1967) สมบัติ-กรุณา ยุวากร ข้อความบนใบปิด คีรีภาพยนตร์ เสนอ พยัคฆ์เดี่ยว ของ สุภาว์ เทวกุล สมบัติ เมทะนี โชว์การควงและยิงปืนอย่างสุดฝีมือ กรุณา ยุวากร ร่วมด้วย ประภาศรี เทพรักษา, รุ้งลาวัลย์ พิบูลย์สันติ, ถวัลย์ คีรีวัต, ไกร ครรชิต, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ประณีต คุ้มเดช, ชาติ, กวี, รันดร, ชาญ มีศรี สุรินทร์ แก้วคีรี อำนวยการสร้าง-ถ่ายภาพ สาระวิน กำกับการแสดง

หน้าที่