ดาวพระศุกร์ (2509)
ดาวพระศุกร์ (2509/1966) แสนจะสนุกอย่างสุดอารมณ์ จากรัก..ตลก..คติ... อาฆาตแค้น..และสมหวัง...เมื่อเธอจุติมาเกิด ขณะดาวประกายพฤกษ์จรัสฟ้า เธอจึงได้ชื่อว่า...ดาวพระศุกร์! จากละครวิทยุฮิตแห่งปี 2509 มาเป็นภาพยนตร์ยิ่งใหญ่...
ดรุณีสีเลือด (2509)
ดรุณีสีเลือด (2509/1966) มิตร-เพชรา ข้อความบนใบปิด คอยชื่นชม สมบัติไทย ที่เรา-ท่าน จะต้องภูมิใจยิ่ง ส.อาสนจินดา ภาพยนตร์ เสนอภาพยนตร์ 35 ม.ม. เสียง-สีอีสต์แมน ซูเปอร์ซีเนราเมติคสโคป ดรุณีสีเลือด GIRL IN THE BLOOD COLOUR มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ อดุลย์ ดุลยรัตน์, บุศรา นฤมิตร, รุจน์ รณภพ, อรสา อิศรางกูร, มานี มณีวรรณ, สมควร กระจ่างศาสตร์, จุรี โอศิริ, สาหัส บุญหลง, ชนินทร์ นฤปกรณ์, ชาณีย์ ยอดชัย, เทียนชัย สุนทรการันต์, สังเวียน หาญบุญตรง, ปฐมชัย ชมศรีเมฆ, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง ดารารับเชิญ ธวัชชัย สุทธิมา, สักรินทร์ ปุญญฤทธิ์ ส.อาสนจินดา กำกับการแสดง ปรีชา ทรัพย์พระวงศ์-วิเชียร วีระโชติ ถ่ายภาพ
เพื่อนรัก (2509)
เพื่อนรัก (2509/1966) "ศิริ ศิริจินดา" ผู้กำกับการแสดง ซึ่งท่านเคยเชื่อมือในการปั้นดารามาแล้ว ขอเชิญท่านชมบทบาทการแสดง ของเพชรดาราคนใหม่ "รักชนก จินดาวรรณ" แก้ว (รักชนก จินดาวรรณ) อาศัยอยู่กับเนียน (ศรินทิพย์ ศิริวรรณ) ผู้ซึ่งแก้วเข้าใจว่าเป็นแม่ของตน เนียนและทุกคนในบ้านกดขี่ให้แก้วทำงานเพื่อเลี้ยงดูพวกตน วันหนึ่งแก้วได้ช่วยเหลือ เมืองแมน (มิตร ชัยบัญชา) จากเหล่าอันธพาล จนกระทั่งวันหนึ่งแก้วแอบรู้ว่าเนียนขายตนเองให้ไปเป็นเมียน้อยเศรษฐีแก่ แก้วจึงหลบหนีเข้ากรุงเทพฯ และหาเลี้ยงขีพด้วยการพายเรือขายข้าวแกง และบังเอิญได้พบกับเมืองแมน เขาต้องการตอบแทนแก้ว แต่ไม่สามารถพาแก้วเข้าไปอาศัยในบ้านได้เนื่องจากคุณย่าของเขาห้ามผู้หญิงเข้าบ้าน เมืองแมนจึงพาแก้วไปอาศัยกับญาติของเขาที่บ้านใกล้กัน โดยแก้วทำงานเป็นแม่ครัว วันหนึ่งขณะที่ทุกคนในบ้านไปเที่ยวกันที่ปีนัง แก้วพายเรือออกไปเที่ยวและได้พบจ้าวนก (รักชนก จินดาวรรณ) ผู้มีใบหน้าเหมือนแก้วดั่งเป็นฝาแฝดกัน ทั้งสองพูดคุยถูกอัธยาศัยกัน และจ้าวนกผุ้ถูกบังคับให้อยู่แต่ในบ้านเกิดนึกสนุกขอสลับตัวกับแก้ว และเมื่อจ้าวนกไปอยู่บ้านญาติของเมืองแมนก็สร้างความวุ่นวายจนกระทั่งถูกไล่ออกจากบ้าน ส่วนแก้วในคราบของจ้าวนกก็ถูกหม่อมเจ้านเรนทร์ (สุวิน สว่างรัตน์) ผู้เป็นอาของจ้าวนกจับตัวไปเชียงใหม่ เพื่อบังคับให้หม่อมน้อย (วิไลวรรณ วัฒนพานิช) แม่ของจ้าวนกเซ็นมอบมรดกทั้งหมดให้นเรนทร์ หม่อมน้อยซึ่งประสบอุบัติเหตุพิการเดินไม่ได้และมีอาการวิกลจริต แต่เมื่อได้พบแก้วในคราบของเจ้านกก็มีสติกลับคืนมา และจำได้ว่าตนมีลูกสาวฝาแฝด แต่ลูกคนหนึ่งถูกนเรนทร์และเนียนลักพาตัวไป เมืองแมนและจ้าวนกได้ทราบเรื่องแก้วถูกจับตัวไปจึงติดตามไปที่เชียงใหม่ ในขณะที่เมืองแมนและพวกเข้าช่วยแก้ว นเรนทร์เห็นจวนตัวจึงพยายามฆ่าจ้าวนก แต่หม่อมน้อยปกป้องลูกจนกระทั่งเสียชีวิตไปพร้อมกับนเรนทร์ เมือทุกอย่างสงบแล้วแก้วจึงแต่งงานกับเมืองแมน ส่วนจ้าวนกก็แต่งงานกับเดี่ยว คู่หมั้นที่เจ้าพ่อของเธอให้หมั้นหมายกันไว้
เกล้าฟ้า (2509)
เกล้าฟ้า (2509/1966) ยอดนวนิยายแห่งความลึกลับ มหัศจรรย์ จากบทประพันธ์ของ...เครื่องหมายคำถามคู่ จากละครวิทยุของ...คณะแก้วฟ้า ร่วมกันให้เป็นภาพยนตร์ที่พิเศษ วิเศษจริงๆ เกล้าฟ้า ใน หุบผาสวรรค์ เจ้าแววดาว (เมตตา รุ่งรัตน์) แห่งเวียงนกยูงซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง มีนิสัยโหดร้ายจนกระทั่งเจ้าแสงคำ (รุจน์ รณภพ) ผู้เป็นสวามีทนไม่ได้จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ และไม่กลับเวียงนกยูงอีกจนกระทั่งสิ้นชีวิต ทำให้เจ้าแววดาวเสียใจและแค้นใจมาก จึงได้เลี้ยงดูเจ้ารุ่งฟ้า (อดุลย์ ดุลยรัตน์) ผู้เป็นบุตรชายด้วยความเข้มงวด และต่อมาได้ส่งเจ้ารุ่งฟ้าไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ที่ฝรั่งเศสเจ้ารุ่งฟ้าได้พบรักและแต่งงานกับมาเรีย (ปริม ประภาพร) หญิงสาวชาวฝรั่งเศส เมื่อศึกษาจบแล้วเจ้ารุ่งฟ้าจึงพามาเรียกลับมายังเวียงนกยูง เจ้าแววดาวไม่พอใจมากและระบายออกมาด้วยการทารุณบ่าวไพร่ในเวียง จนกระทั่งมาเรียตั้งท้อง แต่เจ้ารุ่งฟ้าต้องเดินทางเข้ากรุงเทพเพื่อทำงานราชการตามที่ได้เรียนมา เจ้าแววดาวทำทารุณกับมาเรียและบ่าวไพร่ จนมาเรียซึ่งกำลังตั้งครรภ์ใกล้คลอดตัดสินใจหนีออกมาจากเวียงนกยูงพร้อมกับหมอโจเซฟซึ่งเป็นผู้ดูแลครรภ์ของเธอ ทั้งสองเดินทางข้ามไปฝั่งประเทศลาว มาเรียคลอดบุตรออกมาและตั้งชื่อตามที่เจ้ารุ่งฟ้าตั้งเอาไว้ว่า "เกล้าฟ้า" ต่อมามาเรียได้แต่งงานกับหมอโจเซฟและได้เลี้ยงดูเกล้าฟ้าจนเติบใหญ่ เมื่อมาเรียหนีออกจากเวียงนกยูง เจ้าแววดาวได้ส่งข่าวให้เจ้ารุ่งฟ้าว่ามาเรียหนีตามชู้ ทำให้เจ้ารุ่งฟ้าเสียใจไม่ยอมเดินทางกลับเวียงนกยูง ทำให้เจ้าแววดาวเสียใจมาก และผูกอาฆาตผู้ชายทุกคนจนกระทั่งเสียชีวิต และได้สั่งให้บริวารนำร่างของตนไปซ่อนไว้ในถ้ำลับ แต่วิญญาณของเจ้าแววดาวยังคงสิงสถิตย์อยู่ที่เวียงนกยูง และหลอกหลอนผู้คนจนเป็นที่หวาดกลัวจนทำให้ไม่มีใครกล้าเข้าใกล้เวียงนกยูง เกล้าฟ้า (โสภา สถาพร) อายุได้ 19 ปี เติบโตเป็นสาวสวยและมีความห้าวหาญ จึงมักปลอมตัวเป็นผู้ชายมารับจ้างขับรถม้ารับส่งผู้โดยสารที่หน้าสถานีรถไฟลำปาง โดยใช้ชื่อว่า "สวย" ทุกคืนวัน 15 ค่ำ วิญญาณของเจ้าแววดาวจะมีฤทธิ์แข็งกล้ามากจึงสกดจิตให้เกล้าฟ้านำผู้โดยสารที่เป็นผู้ชายมายังเวียงนกยูง เพื่อเอาชีวิตมาสังเวยเจ้าแววดาว เหตุการณ์เกิดขึ้นหลายครั้งจน ร.ต.ท.วัชระ (สมบัติ เมทะนี) เข้ามาสอบสวนคดี โดยมีเกียรติ (รุจน์ รณภพ) หัวหน้าสถานีรถไฟคอยให้ความช่วยเหลือ เกียรติค้นพบเส้นทางเข้าเวียงนกยูง เมื่อเข้าไปในเวียงแล้วก็พบเจ้าแววดาวในสภาพที่งดงาม เจ้าแววดาวรู้ว่าเกียรติคือเจ้าแสงคำกลับชาติมาเกิดจึงกักตัวเอาไว้ และทำให้เกียรติกลายเป็นคนเสียสติ ขณะเดียวกับที่เจ้ารุ่งฟ้าตัดสินใจเดินทางกลับเวียงนกยูงเพื่อสืบหาลูกของตน ส่วนวัชระก็ติดตามหาเกียรติจนกระทั่งหลงเข้าไปถ้ำที่เก็บร่างของเจ้าแววดาว แต่ก็ถูกเกียรติที่เสียสติทำร้ายจนบาดเจ็บ เกล้าฟ้าในสภาพสาวสวยได้ช่วยชีวิตเอาไว้ และดูแลรักษาจนกระทั่งหายเจ็บ ทั้งสองได้สารภาพรักต่อกัน ในที่สุดเกียรติพลาดตกหน้าผาเสียชีวิต ดวงวิญญาณระลึกได้ว่าตนเองคือเจ้าแสงคำในอดีตจึงขอโทษต่อดวงวิญญาณของเจ้าแววดาว จนเจ้าแววดาวสิ้นความอาฆาต ดวงวิญญาณของทั้งสองจึงสลายไป มาเรียติดตามมาหาเกล้าฟ้าจึงพบกับเจ้ารุ่งฟ้า ทำให้เจ้ารุ่งฟ้าได้ทราบความจริงว่าเกล้าฟ้าคือลูกของตน ขณะที่เจ้ารุ่งฟ้าก็สำนึกในความผิดของตนที่ทอดทิ้งมาเรียกับลูกไปจึงยินยอมให้มาเรียอยู่กับหมอโจเซฟต่อไป และวัชระก็ได้ทราบความจริงว่า "สวย" และ "เกล้าฟ้า" คือคนเดียวกัน ในที่สุดวัชระกับเกล้าฟ้าก็ได้แต่งงานครองคู่กัน
เกิดเป็นหงส์ (2509)
เกิดเป็นหงส์ (2509/1966) ทิว บรรณา (มิตร ชัยบัญชา) เป็นผู้ดูแลไร่บรรณาในศรีราชา เขาเป็นแค่ผู้จัดการทั้งที่ไร่นี้แต่เดิมเป็นของพ่อของเขาแต่ถูก เทพ บรรณา (อดุลย์ ดุลยรัตน์) ผู้เป็นอาโกงเอาไป เท่านั้นยังไม่พอเทพยังได้ พวงทอง (บุษกร สาครรัตน์) และผ่องศรี (ปริม ประภาพร) พี่สาวของทิวไปเป็นภรรยาอีกด้วย จากนั้นเทพก็ได้ ขวัญตา (เอื้อมเดือน อัษฎา) คนรักของทิวไปเป็นภรรยาอีกคน ทิวจึงต้องเก็บความแค้นนี้ไว้ในใจ ทิวได้พบกับ มจ.มารศรีโสรัจ กฤตยา (เพชรา เชาวราษฎร์) โดยบังเอิญที่ศรีราชา จากนั้นทั้งคู่ก็สนิทสนมกัน โดยที่ทิวไม่รู้เลยว่าเทพอาของเขาก็หมายปอง มจ.หญิง ผู้นี้มาเป็นภรรยาคนใหม่ แม้ว่าจะมีชาติตระกูลสูง แต่ฐานะทางการเงินของ มจ.หญิงกลับไม่ดีนัก พระบิดาของเธอเป็นหนี้อยู่จำนวนมาก เมื่อพระบิดาสิ้นลงด้วยอุบัติเหตุ มจ.หญิงจึงต้องยอมไปทำงานในไร่ของเทพ และเทพก็ประกาศให้ทุกคนในไร่รู้ว่า มจ.หญิงผู้นี้จะมาเป็นภรรยาคนใหม่ของเขาโดยที่เจ้าตัวเองก็ยังไม่ทราบเรื่อง ขวัญตาแอบลักลอบเป็นชู้กับวิวัฒน์ (ประจวบ ฤกษ์ยามดี) ลูกน้องของทิวจนตั้งท้อง เมื่อความแตกวิวัฒน์หนีไปขวัญตาจึงอ้างว่าทิวเป็นพ่อของเด็กในท้อง ทิวเองก็ไม่ปฏิเสธ เมื่อ มจ.หญิงมาถึงไร่และพบว่าทิวเองมีภรรยาอยู่แล้วคือขวัญตาจึงไม่พอใจ ในขณะที่ทิวเองก็มองว่า มจ.หญิงนั้นเป็นผู้หญิงที่เห็นแก่เงินจึงยอมแต่งงานกับเทพ ทิวลักพาตัว มจ.หญิงไปเพื่อพูดคุยและรู้ความจริงว่า มจ.หญิงไม่ได้รักเทพเช่นเดียวกับเธอก็พบว่าทิวไม่เคยมีอะไรกับขวัญตา แม้ทั้งสองจะปรับความเข้าใจกันได้ เทพก็กำลังเดินทางมาเพื่อจัดการกับทิว แต่ขณะที่เทพกำลังจะทำร้ายทิว พวงทองซึ่งเก็บความคับแค้นอยู่ในใจตลอดมาจึงยิงเทพเสียเอง ก่อนที่เทพจะสิ้นใจก็สำนึกผิดขออโหสิกรรมต่อทุกคน
นกเอี้ยง (2509)
นกเอี้ยง (2509/1966) ข้อความบนใบปิด กัญญามาลย์ภาพยนตร์ ดอกดิน กัญญามาลย์ กำกับการแสดง เสนอนกตัวสุดท้าย... นกเอี้ยง ของ “อรชร” นำแสดงเป็นละครวิทยุโดย “แก้วฟ้า” มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ บินคู่มากับความรัก สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ ดอกดิน-บรรจง กัญญามาลย์ อำนวยการสร้าง
ในม่านเมฆ (2509)
ในม่านเมฆ (2509/1966) ข้อความบนใบปิด จุฬาโลกภาพยนตร์ ใครๆก็คอยน้องทราย จากละครวิทยุของคณะ แก้วฟ้า ในม่านเมฆ ของ บุษยมาส นำโดย พิศมัย วิไลศักดิ์ สมบัติ เมทะนี อดุลย์ ดุลยรัตน์, ขวัญใจ สะอาดรักษ์, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, ทักษิณ แจ่มผล, รุจน์ รณภพ, ปรียา รุ่งเรือง, อนุชา รัตนมาลย์ และพบกับสามดาวตลก ชูศรี โรจนประดิษฐ์, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ล้อต๊อก ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, วิชิต ไวงาน, สมศรี, วงศ์ ศรีสวัสดิ์, กอบกูล ฯลฯ สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ ที่ปรึกษาและอุปการะ พันคำ กำกับการแสดง นิวัติ สิมะกริชษานนท์ อำนวยการสร้าง ปรีชา ทรัพย์พระวงศ์ ถ่ายภาพ เอกรัตน์ จัดจำหน่าย
เลือดทรนง (2509)
เลือดทรนง (2509/1966) ข้อความบนใบปิด ฉัตรชัยภาพยนตร์ เสนอ หน้ากากสังคมวัยรุ่นเมืองไทย ได้ถูกกระชากจากภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงมีทั้งสุข เศร้า หัวเราะ น้ำตา ตื่นเต้น หวาดเสียว ดาราตุ๊กตาทองพระราชทาน ถวายชีวิตและความสามารถแสดงบทบาททุกแบบ คู่กับดาวรุ่งฟ้า สมบัติ เมทะนี โสภา สถาพร เลือดทรนง บทประพันธ์ของ อ้อย อัจฉริยกร ละครวิทยุเรื่องดีคณะ เสนีย์ บุษปะเกศ พร้อมด้วย ประมินทร์ จารุจารีต, ปรียา รุ่งเรือง, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, ถวัลย์ คีรีวัต, ชาณีย์ ยอดชัย, ไกร ครรชิต, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, สังวรณ์, กล้า,พิภพ ภู่ภิญโญ, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ประณีต คุ้มเดช, ทองถม, ชื้นแฉะ ฯลฯ ขอเสนอนักเพลงขวัญใจวัยรุ่น ทิว สุโขทัย, แอนนี่ แจ๋วแหวว และวงดนตรีเดอะแค๊ท
นางนกป่า (2509)
นางนกป่า (2509/1966) ณรงค์ (สาหัส บุญ-หลง) เศรษฐีใหญ่ใจบุญใครๆก็รู้จัก มีลูก 2 คน คือ นเรศ (มิตร ชัยบัญชา) กับ นรา (รุจน์ รณภพ) ทั้ง 2 หนุ่มเนื้อหอม เป็นที่หมายปองของสาวๆ วันหนึ่ง ณรงค์ได้มีโอกาสต้อนรับสาวแปลกหน้าคือ เพิ้ง (เพชรา เชาวราษฎร์) ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าเธอคือใคร เพิ้งได้เข้ามาสร้างความชุลมุนวุ่นวายในครอบครัวณรงค์ จนได้รับฉายาว่า นางนกป่า
จามเทวี (2509)
จามเทวี (2509/1966) ไชยา-เพชรา ข้อความบนใบปิด อมรินทร์ภาพยนตร์ โดย สุรัสน์ พุกกะเวส เสนอ จินตนาการประกอบอาชญนิยาย เหตุการณ์ระหว่าง 2000 ปี มาผนึกกับยุคปัจจุบัน สะเทือนขวัญ สยดสยอง สุดยอดของความตื่นเต้น จามเทวี นำโดย ไชยา-เพชรา แมน ธีระพล, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, มานี มณีวรรณ, เยาวเรศ นิศากร, สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต, สัมพันธ์, สุดเขต, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, ปราณีต คุ้มเดช, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ วงศ์รักไทย, แป๊ะอ้วน, ก๊กเฮง และขอแนะนำดาวรุ่งดวงใหม่ มิส เอ.ซี.บอลล์ รังสินี รอยวิวัฒน์ ในบท “พระนางจามเทวี” อุษา บุณยรักษ์ อำนวยการสร้าง อรรถ อรรถจินดา กำกับร่วมกับผู้กำกับเกียรติยศ ส.อาสนจินดา สมชาย จันทวังโส ถ่ายภาพ เอวันฟิล์ม จัดจำหน่าย
พิมพิลาไล (2509)

พิมพิลาไล (2509/1966) ข้อความบนใบปิด ดอกดิน ร่วมกับ นพรัตน์ภาพยนตร์ นพรัตน์ ศศิวิมลรัตน์ อำนวยการสร้าง พิมพิลาไล จากวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน มิตร ชัยบัญชา พิศมัย วิไลศักดิ์ มีศักดิ์ นาครัตน์ แก่นใจ มีนะกนิษฐ์ นำแสดง ร่วมด้วย ชฎาพร วชิรปราณี, น้ำเงิน บุญหนัก, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, มานี มณีวรรณ, สาหัส บุญหลง, ชาลี อินทรวิจิตร, สุวิน สว่างรัตน์, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, เทียว ธารา, ทศ วงศ์งาม, ไฉน, เสริมพันธ์ สุทธิเนตร, มาลี เวชประเสริฐ, มนัส บุณยเกียรติ, แววตา อาษาสุข, ปราณีต คุ้มเดช, ล้อต๊อก, ดอกดิน กัญญามาลย์, ดาวน้อย ดวงใหญ่, ก๊กเฮง (ชื่อจริง เฉลิมศักดิ์ พุกกะณะสุต) ดอกดิน กำกับการแสดง รพีพร สร้างบทภาพยนตร์ สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ สุกริชต์ ชุติมัน สร้างฉาก

 
นกยูง (2509)
นกยูง (2509/1966) ข้อความบนใบปิด เสน่ห์ศิลป์ภาพยนตร์ เสนอ นกยูง ของ เสน่ห์ โกมารชุน มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ร่วมด้วย เมตตา รุ่งรัตน์, ปรียา รุ่งเรือง, อดุลย์ ดุลยรัตน์, ทักษิณ แจ่มผล, พงษ์ลดา พิมลพรรณ, ชฎาพร วชิรปราณี, แมน ธีระพล, เสถียร ธรรมเจริญ, สาหัส บุญหลง, เสน่ห์ โกมารชุน, ล้อต๊อก, ทองฮะ, แป๊ะอ้วน ฯลฯ และดาราเกียรติยศรับเชิญ ชรินทร์ นันทนาคร และ พร ภิรมย์ แสดงเป็นพระเอกลิเก รังสี ทัศนพยัคฆ์ กำกับการแสดง มหศักดิ์ สารากร สร้างบท ธีระ แอคะรัจน์ ถ่ายภาพ เสน่ห์ โกมารชุน อำนวยการสร้าง วัชรภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
น้ำค้าง (2509)
น้ำค้าง (2509/1966) น้ำค้าง เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2509 เป็นผลงานการกำกับของ ส.อาสนจินดา โดยมี ชุดา เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา เป็นผู้อำนวยการสร้าง ถ่ายภาพโดย ปรีชา ทรัพย์พระวงศ์-วินิจ ภักดีวิจิตร สร้างฉากโดย อุไร ศิริสมบัติ และจัดจำหน่ายโดยบริษัทเอกรัตน์จำกัด
เชลยใจ (2509)
เชลยใจ (2509/1966) ข้อความบนใบปิด ธาดาภาพยนตร์ ภูมิใจเสนอ ดูชีวิตอื่นหมื่นแสน ยังไม่คับแค้นเท่า ชีวิตครูผู้อาภัพกว่าใคร ที่ต้องตกเป็น... เชลยใจ ของ...บุษยมาส ละครวิทยุคณะ “แก้วฟ้า” ได้รับคะแนนนิยมจากท่านผู้ฟัง ฮิทที่สุดในรอบปี 2509 นำโดยดาราที่เหมาะสมกับบทบาท สมบัติ เมทะนี ภาวนา ชนะจิต วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ชุมพร เทพพิทักษ์, โยธิน เทวราช, เยาวเรศ นิสากร, กัณฑรีย์ นาคประภา, สมควร กระจ่างศาสตร์, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, สมศรี อรรถจินดา, จันตรี สาริกบุตร, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, บู๊ วิบูลย์นันท์, แน่งน้อย พระเอกจากจอแก้ว ทม วิศวชาติ ชุลี เมธุดิษฐ์ อำนวยการสร้าง วิไล นาคสู่สุข ที่ปรึกษา สาธิต ตินตบุตร ดำเนินงาน และสถานสงเคราะห์เด็กพิการ ให้ความอนุเคราะห์ สมควร กระจ่างศาสตร์ กำกับการแสดง สมชาย จันทวังโส ถ่ายภาพ พัมนาการภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
แสงเทียน (2509)
แสงเทียน (2509/1966) ข้อความบนใบปิด นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์และชื่อเรื่อง แสงเทียน ของ “แก้วฟ้า” นำโดย มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ อดุลย์ ดุลยรัตน์, ชฎาพร วชิรปราณี, บุษกร สาครรัตน์, สุวิน สว่างรัตน์, อาคม มกรานนท์, มาลี เวชประเสริฐ, สิงห์ มิลินทราศัย, ธัญญา ธัญญารักษ์ และ ด.ญ.วชิราภรณ์ พึ่งสังข์ อรสา อิศรางกูร, ดาวน้อย ดวงใหญ่, ดอกดิน กัญญามาลย์ กัญญามาลย์ภาพยนตร์ เสนอ ดอกดิน-บรรจง กัญญามาลย์ อำนวยการสร้าง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ ดอกดิน กัญญามาลย์ กำกับการแสดง บริษัทวชิรภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
เจ้าแม่สร้อยดอกหมาก (2509)
เจ้าแม่สร้อยดอกหมาก (2509/1966) เจ้าแม่สร้อยดอกหมาก เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2509 สร้างโดย จิตรวาณีภาพยนตร์ อำนวยการสร้างโดย กิจติพงษ์ เวศภูญาณ กำกับการแสดงโดย รังสี ทัศนพยัคฆ์ โดยมี ขุนแผน เป็นผู้ดำเนินงาน ถ่ายภาพโดย ธีระ แอคะรัจน์

หน้าที่