เมียหลวง (2496)
Placeholder
นักเลง (2496)
Placeholder
จับตาย (2496/1953) ชายป่าลึกอันไกลโพ้นจากตัวเมืองจังหวัดยะลา อันเป็นสถานที่ที่นักโทษถูกเกณฑ์มาแผ้วถางทางเพื่อทำถนน ในป่าลึกเช่นนี้ พร หนึ่งในนักโทษได้หลงรัก หวัน หญิงสาวที่สวยราวกับดอกไม้ป่า และตั้งปณิธานไว้ว่าแม้จะหมดโทษก็จะขออยู่ที่วังไทรกับสาวนางนี้ ความหวังต้องมาพังทลายเมื่อสาวเจ้าไปรักกับ ประสิทธิ์ เจ้าพนักงานเพื่อนสนิทของ สกล ผู้คุมซึ่งสนิทกับพร แต่เลือดนักสู้ของพรทำให้เขาไม่ยอมแพ้ยิ่งเมื่อประสิทธิ์หักหน้าพรต่อหน้าหวัน สองหนุ่มจึงเกิดชกต่อยกัน พรแย่งปืนของประสิทธิ์และหนีหัวซุกหัวซุนเข้าไปในป่า สกลฝืนใจเข้าป่าเพื่อจับตัวพรโดยมีคำสั่งให้จับตาย ในขณะที่สกลออกติดตามพรไปในป่าลึก ในใจของสกลต้องเลือกว่าจะผดุงกฎหมายหรือจะช่วยเพื่อนมนุษย์ และแล้วในเย็นวันหนึ่ง ชาวบ้านก็มาแจ้งเบาะแสว่าพบพรมาแอบนอนในกระท่อมร้างในสวนยางแถวธารโต สกลไม่รอช้ารีบตามไปยังที่นั่นแต่คนที่อยู่ในนั้นไม่ใช่พรแต่เป็นหวัน มาขอยาให้พรซึ่งกำลังเจ็บหนัก สกลให้คนคอยสะกดรอยตามหวันหวังจะสาวให้ถึงตัวพรแต่ก็คลาดสายตาไปได้ 15 วันผ่านไป สกลยังตามล่าตัวพรอย่างไม่ลดละ ทุกครั้งที่ได้ข่าวว่ามีคนถูกพรขโมยอาหาร สกลจะรีบไปถึงที่ก่อเหตุอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งคืนหนึ่ง สกลได้ซ่อนตัวเพื่อคอยดักจับพร ในความมืดมิด สกลเห็นดวงตาคู่หนึ่งกำลังไหวตัวอยู่ในป่าจึงยกปืนขึ้นยิง ผลของคืนนั้นทำให้สกลจับไข้ไปหลายวัน เมื่อฟื้นไข้ลูกน้องของสกลรีบมาปลุกเขาไปดูซากศพที่เขายิงในคืนนั้น แต่กลับเจอร่างของพรนอนนิ่งแน่เน่าเฟะตายอย่างน่าอนาจเพราะพิษไข้ป่าและความอดอยาก สกลได้แต่นิ่งงันที่ไม่สามารถช่วยชีวิตพรไว้ได้
นางแมวป่า (2496)
นางแมวป่า (2496/1953) 17 ปีก่อน สาย คนใช้ในตระกูลของเจ้าคุณทรงอานุภาพ ขโมยลูกสาววัยแบเบาะของเจ้าคุณเพราะความแค้นที่ตัวเองต้องตกเป็นเมียเก็บ สายหนีมากบดานยังรังโจรของ เสือคล้อย ที่จังหวัดเพชรบุรี เสือคล้อยออกอาละวาดปล้นทรัพย์จนชาวบ้านเดือดร้อนอย่างหนักทางการจึงส่ง ร.ต.อ. ไชยา มาจับกุม แต่ไม่ทันจะปฏิบัติหน้าที่เขาก็กลับถูก นิด นางแมวป่าปล้นหมวกกับปืนไปหน้าตาเ ขณะนั้น ราณี คู่หมั้นได้ยกโขยงเพื่อนมาเยี่ยมไชยาถึงที่พัก แต่กลับไม่เจอไชยา แท้ที่จริงแล้ว วิศิษฐ์ สมาชิกคนหนึ่งติดตามมาเพื่อขายกระสุนให้เสือคล้อย ค่ำนั้นเองไชยานำกำลังตำรวจบุกรังเสือคล้อย นิดผู้อยู่ในเหตุการณ์ช่วยชีวิตไชยาซึ่งเกือบจะถูกเสือคล้อยแทงไว้ทัน ไชยาจึงตอบแทนบุญคุณนิดด้วยการรับอุปการะเด็กสาว และพานิดไปเที่ยวที่บังกะโลหัวหินด้วย วิศิษฐ์ฉวยโอกาสลวนลามนิดแต่ถูกนิดต่อยหงายหลัง ราณีหาเรื่องอาละวาดนิด ไชยาจึงตัดรำคาญให้ ชนินท์ น้องสาว พานิดไปฝากกับ ครูอำไพ ที่กรุงเทพเพื่ออบรมบ่มนิสัย แต่นิดต้องมาเจอเด็กในบ้านของครูอำไพกลั่นแกล้งต่างๆ นานา อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าคุณทรงอานุภาพและ ไพฑูรย์หลานชายมาขอพบไชยา เพราะบังเอิญได้เห็นนิดที่หัวหิน และจำได้ว่าเป็นลูกสาวของตนที่ถูกลักพาตัวไป เจ้าคุณเล่าเรื่องในอดีตให้ไชยาฟัง ขณะเดียวกัน เสือคล้อยกับนางสายมารวมหัวกับวิศิษฐ์หมายจะจับตัวนิดเรียกค่าไถ่ วิศิษฐ์นึกแผนชั่วออก ตรงดิ่งไปเป่าหูราณีว่า สาเหตุที่ไชยาส่งนิดมาอบรมนิสัยเพราะต้องการแต่งงานกับนิดเป็นแน่ ราณีหน้ามืดไปด้วยโทสะตามไปแฉกำพืดของนิดถึงที่บ้านครูอำไพเพราะเข้าใจว่านิดเป็นลูกโจร นิดเก็บข้าวของตั้งใจจะกลับเพชรบุรี แต่ถูกนักเลงลวนลามแล้วหลงมายังซ่องนางโลมของ สดใส จึงขออาศัยอยู่ที่นั่น ไชยาตระเวนหาตัวนิดตามสถานนางโลมต่างๆ สดใสเห็นท่าไม่ดีจึงเสนอขายนิดให้วิศิษฐ์ วิศิษฐ์ไม่รอช้ารีบโทรไปเรียกค่าไถ่จากเจ้าคุณและคุณหญิงทรงอานุภาพ โดยนัดหมายแลกเปลี่ยนนิดบริเวณหอนาฬิกา ที่สวนลุมฯ ในเวลากลางคืน แต่เสือคล้อยกับวิศิษฐ์กลับคิดชั่วหมายจะขืนใจนิดก่อนส่งตัว สายเกิดสงสารนิดขึ้นมาจึงยุให้เสือคล้อยกับวิศิษฐ์ผิดใจกันและหาทางพานิดหนี แต่วิศิษฐ์ไหวตัวทันสั่งให้สมุนขังตัวนิด พอไชยาบุกเข้ามา เสือคล้อยใช้ปืนขู่ให้นิดยอมรับว่าตกเป็นเมียของวิศิษฐ์แล้ว สายซึ่งซ่อนตัวอยู่ตะโกนสวนออกมาว่าไม่เป็นความจริงจึงถูกยิงจนเสียชีวิต ตำรวจนำกำลังเข้าจับกุมเสือคล้อยกับวิศิษฐ์ได้สำเร็จ ไชยาจึงพานิดไปคืนให้พ่อแม่ที่แท้จริง
Placeholder
สามเกลอเจอผี (2496)
สามเกลอเจอผี (2496/1953) สามเกลอเจอผี เป็นภาพยนตร์ไทย ฟิล์ม 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2496 กำกับการแสดงโดย ดอกดิน กัญญามาลย์ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีคำโปรยว่า ภาพยนตร์ตลก-แปลก และใหม่ที่สุด ไม่ซ้ำแบบใคร
Placeholder
Placeholder
จอมหิว (2496)
จอมหิว (2496/1953) เรื่องราวของสองพี่น้อง องอาจ ซึ่งเป็นพวกชอบคิดแต่ไม่ชอบทำ กับ อัศวิน ซึ่งเป็นจอมหิว ด้วยความระอาความไม่เอาไหนของลูกชายทั้งสอง นายอ้น ซึ่งเป็นพ่อจึงไล่ตะเพิดอัศวินกับองอาจออกจากบ้าน หลายวันผ่านไป องอาจกับอัศวินเร่ร่อนไปตามยถากรรมจนมาเจอเกวียนตกหล่ม อัศวิน จอมหิว ซึ่งมีนิสัยประหลาด คือเมื่อโมโหหิวจะมีพละกำลังมหาศาล จึงไปช่วยชาวบ้านยกเกวียน จึงได้อาหารเป็นการตอบแทน สองพี่น้องยังคงระหกระเหร่อนเร่หาวิธีประทังความหิวไปวันๆ แม้บางครั้งอับจนขนาดต้องกินหินแทนข้าว องอาจพยายามคิดหาวิธีต่างๆ เช่น ให้อัศวินปลอมตัวเป็นคนพิการขอทานประทังชีวิต แต่ความก็แตกทุกครั้งเพราะอัศวิน จนวันหนึ่ง ทั้งสองมาจนถึงสวนสัตว์และพบ จันทรา กำลังถูกนักเลงรังเก อัศวินซึ่งกำลังโมโหหิวจึงเข้าไปช่วย จันทราตอบแทนบุญคุณทั้งสองด้วยการให้กล้วยหอมซึ่งทีแรกกะจะนำมาให้ลิง วันต่อมา องอาจพาอัศวินมาสมัครเป็นนักมวย และต่อยชนะเพราะโมโหหิวนั่นเอง โชคชะตาพาให้สองพี่น้องได้พบกับจันทราอีกครั้งที่บาร์เหล้าซึ่งบิดาของจันทราเป็นเจ้าของ จันทราเล่าให้บิดาฟังว่าองอาจกับอัศวินเคยช่วยชีวิตจันทราไว้ บิดาของจันทราจึงรับทั้งสองเข้าทำงาน อัศวินใช้พลังให้เป็นประโยชน์ในการจัดการนักเลงซึ่งมาเบ่งกินฟรีที่บาร์ ส่วนองอาจก็ได้ใช้ความคิดพิชิตใจจันทรา
Placeholder
พลายมลิวัลย์ (2496)
พลายมลิวัลย์ (2496/1953) ม.จ. สุริยา ผู้มีชาติตระกูลฐานะนักเรียนนอกมีความรู้ ผิดหวังชีวิตในการทำงาน ทําให้เป็นผู้ติดเหล้าขนาดหนัก จนกระทั่งหลงไปอยู่ในป่าไม้ศรีราชาโดยไม่มีใครรู้ว่าเป็นใคร ได้ทํางานเป็นควาญเลี้ยงช้างชื่อ "พลายมลิวัลลิ์" มีความผูกพันกันระหว่างคนกับสัตว์และสัตว์กับคน ในเวลา 2 ปีที่อยู่ในป่าไม้ มีตัวเชื่อมคือเหล้าเถื่อน กินทั้งคนและช้าง การหายไปของ ม.จ. สุริยา ที่มีบุตรชายกับภรรยา (อรพิน) ทําาให้คิดว่าเสียชีวิตไปแล้ว จึงได้แต่งงานใหม่ กับ ม.จ.วรวัฒน์ ภายหลัง 2 ปี ได้นําครอบครัวมาเยี่ยมเยียนดูแลธุรกิจของของครอบครัวที่ศรีราชา ทําให้ลูกชาย (จิ๋ว) และสุริยาได้พบกัน แต่พลายมลิวัลลิ์ที่มีความรักให้กับสุริยา เหมือนสัตว์รักคน เกิดรัก โลภ โกรธ หลง เหมือนปุถุชน จึงดันรถไฟจะให้ทับร่างจิ๋ว ลูกชายที่กําลังเดินทางกลับ พ่อเห็นจึงโดดให้รถไฟทับเพื่อช่วยลูกชาย
น้องชาย (2496)
น้องชาย (2496/1953) เรื่องโศรก ตลก (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2496)
วิญญาณคนอง (2496)
วิญญาณคนอง (2496/1953) นางนากพระโขนงแผลงฤทธิ์อีก นิยายใหม่ของนางนาก (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2496)
เสียงสาป (2496)
เสียงสาป (2496/1953) สำเนียงนั้นแผ่วโผยมาในอากาศ เป็นสำเนียงที่พลิกชีวิตหนึ่งให้กระเจิงไป ...สำเนียงประหลาดนั้น เป็น! "เสียงสาป" (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2496)
เชิงทะเล (2496)
เชิงทะเล (2496/1953) เรื่องจริงที่ครึกโครมในหน้าหนังสือพิมพ์ ตอนผู้ยิ่งใหญ่เบ่งใส่ชาวประมง (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2496)