ผู้การเรือเร่ (2528)

เรื่องย่อ : ผู้การเรือเร่ (2528/1985) ชรินทร์ นันทนาคร ขอเชิญท่านสู่อ้อมกอดของลุ่มน้ำลำคลอง ที่เปี่ยมด้วยความมโหฬาร ตระการตา และเฮฮาน่ารักที่สุด ผลงานที่ท่านเชื่อถือได้เสมอของ ชรินทร์ นันทนาครเรื่องแรกที่ กองทัพเรือ อนุมัติให้เข้าไปถ่ายทำในฐานทัพ "สัตหีบ" ยิ่งใหญ่และตื่นตากับพาเหรดเรือรบ 34 ลำ พร้อมทหารเรือ 1800 นายร่วมแสดงนำ

นาวาโทนาวิน สุรเดช ได้โอกาสกลับบ้านหลังจากฝึกเป็นเวลานาน โดยพา จำปา และ จำปี ลูกน้องมาเที่ยวด้วย เมื่อถึงบ้านเขาได้เจอกับแก สาวห้าวจอมแสบ และเกิดตกหลุมรักเข้า เขาจึงต้องหาวิธีเอาชนะใจเธอรวมถึงคุณพ่อมาดนักเลง ในขณะเดียวกันแม่ของนาวินกลับพยายามให้เขาแต่งงานกับหญิงสาวที่เขาไม่ต้องการ

บ้านน้อยกลางดง (2526)
บ้านน้อยกลางดง (2526/1983) ข้อความบนใบปิด นันทนาครภาพยนตร์ โลกคือที่อยู่ของมนุษย์ แต่จะมีบ้านหลังไหนสุขใจเท่า... บ้านน้อยกลางดง นำโดย สรพงศ์ ชาตรี จารุณี สุขสวัสดิ์ ชลิต เฟื่องอารมย์, ลินดา ค้าธัญเจริญ, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ขรรค์ชัย แจ่มมั่งคั่ง (ช้าไปต๋อย) ขอแนะนำดาราใหม่ อนิรุต จุลเวช ชรินทร์ นันทนาคร สร้าง-กำกับการแสดง วิสิทธิ์ แสนทวี ถ่ายภาพ ชรินทร์ นันทนาคร ขอมอบความรักสู่บ้านทุกหลัง
แผ่นดินแห่งความรัก (2523)
แผ่นดินแห่งความรัก (2523/1980) ข้อความบนใบปิด นันทนาครภาพยนตร์ โดย ชรินทร์ นันทนาคร อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง เอาเท้าเหยียบโลกไว้ให้มั่น จับมือกันไว้ให้แน่น เราจะฝ่ากำแพงเงินไปสู่ แผ่นดินแห่งความรัก จารุณี สุขสวัสดิ์ ราวิน บุรารักษ์ ฤทัยรัตน์ อมตวณิชย์ ขอแนะนำ ขรรค์ชัย แจ่มมั่งคั่ง (ช้าไปต๋อย) ลักษณ์ อภิชาติ, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, จิระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ, ผดุงศรี โสภิตา, ท้วม ทรนง, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, เมตตา รุ่งรัตน์, ส.อาสนจินดา, พันคำ พิพัฒน์ พยัคฆะ ถ่ายภาพ นันทวัต ผู้ช่วยผู้กำกับ
ลูกเจ้าพระยา (2520)

ลูกเจ้าพระยา (2520/1977) แรงข้าวสุกนี่แหละลูกเอ๋ย ศักดิ์สิทธิ์หนักหนา ลูกเจ้าพระยา จึงเกิดมาสู่ความเป็นไท ผลงานของ ชรินทร์ นันทนาคร ที่ท่านเชื่อถือ มหึมามโหฬารทั้งปริมาณและคุณภาพ 70 ม.ม.ยิ่งใหญ่กว่า เสียงเซนเซอร์ราวด์

หาญ (สมบัติ เมทะนี) ล่องแพมากับลูกเมียแต่พบกับพายุจนแพแตก เขาช่วยไว้ได้แต่เพียง แก้ว ลูกชายและเลี้ยงดูเขาเพียงลำพัง เวลาผ่านไปหาญกลับถูกจับในข้อหาฆ่าคนตาย ทำให้ ครูมาลัย (เพชรา เชาวราษฎร์) ครูของแก้วรับแก้วมาเลี้ยงดูด้วยความสงสาร เมื่อแก้วเติบใหญ่ขึ้นได้เกิดเพลิงไหม้โรงเรียนที่ครูมาลัยสอน ทำให้ทั้งคู่ต้องไปทำงานในเหมืองของ พ่อเลี้ยงบุญล้อม (ทัต เอกทัต) และต้องผจญกับการกดขี่ แก้วพร้อมด้วยพ่อที่เพิ่งออกจากคุกและชาวเหมืองจำต้องรวมตัวกันเพื่อต่อกรกับอำนาจมืดของพ่อเลี้ยงบุญล้อม

หาญ ล่องแพมาพร้อมเมียและลูก แต่เกิดพายุจนแพแตกจนทำให้เขาช่วยชีวิต แก้ว ลูกชายไว้ได้เพียงคนเดียว เวลาผ่านไปเมื่อแก้วเข้าโรงเรียน หาญกลับถูกตำรวจจับ ครูมาลัยเกิดความสงสารจึงรับแก้วไปเลี้ยง ต่อมา เมื่อครูมาลัยลาออกและไปทำงานให้กับพ่อเลี้ยงบุญล้อม เธอถูกข่มเหงจนต้องให้หาญที่เพิ่งออกจากคุกมาช่วยต่อต้านและปลดปล่อยชาวบ้านที่ถูกกดขี่จากพ่อเลี้ยงเช่นกัน

น้ำผึ้งพระจันทร์ (2515)
น้ำผึ้งพระจันทร์ (2515/1972) ผู้พันอานนท์ นายทหารไทยที่ได้ช่วยเหลือหญิงสาวที่กำลังถูกตามล่าชื่อ ฮันนี่ ขณะที่เขาเที่ยวอยู่ที่อียิปต์ โดยไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วเธอคือเจ้าหญิงอัสมาร์แห่งไนโรเบีย ทั้งคู่วางแผนปลอมเป็นคู่แต่งงานแล้วลักลอบหนีออกจากแดนอาหรับ แต่การแต่งงานหลอกๆ ครั้งนี้กลับทำให้พวกเขาเกิดรักกันจริงๆ
รักเธอเสมอ (2513)
รักเธอเสมอ (2513/1970) ข้อความบนใบปิด ชรินทร์ นันทนาคร รับประกันคุณภาพ นันทนาครภาพยนตร์ เสนอ สมบัติ งามสง่า เพชรา หวานนัก รักเธอเสมอ ของ อิงอร มโหฬารที่สุดในรอบ 40 ปี เพราะยกกองไปถ่ายทำในงาน “เอ็กซ์โป 70” ทะเลสาบฮาโกเน่ ที่สวยที่สุดในโลก สวนสามพราน บ่อน้ำพุร้อนฝาง ลัดดาแลนด์ ฟัง! 9 เพลงมโหฬาร 35 ม.ม. รักเธอเสมอ, ไทยดำรำพัน, กาสะลองบานแล้ว, ฮักถิ่นไทยดำ, ไม่อยากบอกว่าคิดถึง, ปูน้อยหนีบมือ, รักเดียวกลางแสงเดือน, ซังคนหลายใจ และลีลาเพลง “รักเธอเสมอ” ชุมนุมดาราชั้นมาตรฐาน ประจวบ ฤกษ์ยามดี, อดุลย์ ดุลยรัตน์, ทักษิณ แจ่มผล, พันคำ, ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร, วาสนา ชลากร, วิไลวรรณ วัฒนพานิช ดาราทองพระราชทาน ชรินทร์ นันทนาคร-ลินจง บุนนากรินทร์ และ ล้อต๊อก ฯลฯ ชม! บทบาทใหม่ของนักร้องยอดเสน่ห์ ไทยดำรำพัน และชนะเลิศลูกทุ่งหญิง กิ่งดาว จันทร์สวัสดิ์ เชื่อถือได้เพราะ ส.อาสนจินดา สร้างบท ฉลอง ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ นันทวัต ลำดับภาพ ชรินทร์ นันทนาคร อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
สวรรค์วันเพ็ญ (2512)
สวรรค์วันเพ็ญ (2512/1969) นายพร (สมจินต์ ธรรมฑัต) รับใคร่ชอบพอกับเดือน (ปริม ประภาพร) แต่นายสิน (แมน ธีระพล) ลูกกำนันมาติดพันเดือนด้วย นายพรกับนายสินจึงท้าดวลกันอย่างลูกผู้ชาย ถ้าใครชนะก็จะได้เดือนไปเป็นเมีย ผลการต่อสู้นั้น นายพรเป็นฝ่ายชนะ จึงได้เดือนเป็นเมีย แต่นายสินกลับตระบัดสัตย์โดยหาเรื่องกลั่นแกล้งว่า นายพรเป็นโจรปล้นควายกระทั่งนายพรต้องโทษจำคุก ด้วยความเคียดแค้นที่ถูกนายสินกลั่นแกล้ง นายพรจึงแหกคุกออกมาและฆ่านายสินกับเดือนตายเพราะจับได้ว่า เดือนเมียรักเป็นชู้กับนายสิน พอฆ่าเสร็จ นายพรก็เผากระท่อมทิ้ง แต่ได้ยินเสียงเด็กร้องไห้ ก็เลยอุ้มเด็กติดมือมา เด็กน้อยๆ คนนี้ก็คือลูกสาวของนายพรที่เกิดจากเดือนนั่นเอง แม้นายพรจะเกลียดเดือน แต่ก็ฆ่าเด็กน้อยคนนี้ไม่ได้ นายพรซึ่งตอนนี้ก็กลายเป็นเสือพรไปจริงๆ แล้ว คงไม่มีปัญญาจะเลี้ยงดูลูกน้อยได้ จึงพายเรือนำลูกน้อยไปฝากพี่แพร (สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย) พี่สาวให้เลี้ยงดูแทน คืนนั้นเป็นคืนพระจันทร์เต็มดวง นายพรจึงตั้งชื่อลูกน้อยนี้ว่า วันเพ็ญ (เพชรา เชาวราษฎร์) นายพรกำชับพี่แพรไม่ให้บอกว่าใครเป็นพ่อเด็กและให้พี่แพรรับสมอ้างเป็นแม่ของวันเพ็ญด้วยเลย จากนั้นนายพรก็ไปเสือพรตามโชคชะตาต่อไป แม่แพรก็ต้องหาว่าฆ่านายหวิงตาย ก็ยิ่งทำให้อาการป่วยกำเริบอีกจนแม่แพรเสียชีวิต วันเพ็ญตัดสินใจจะออกไปบ้านดอนกระสวยเพื่อไปตามหาพ่อ จึงเอาห่อเถ้ากระดูกแม่แพรไปซ่อนไว้ข้างๆ องค์พระพูดได้ จากนั้นวันเพ็ญกับหว่างก็มุ่งไปสถานีรถไฟ ระหว่างที่รถไฟยังไม่ออก หว่างก็ลงไปขายไม้กวาดก่อน ก็เลยกลับขึ้นรถไฟไม่ทัน วันเพ็ญเข้ากรุงเทพฯเพื่อติดตามหาพ่อโดยมีรูปถ่ายของพ่อเพียงใบเดียว ก็เผอิญเดินไปพบบ้านหลังหนึ่งกำลังมีงานเลี้ยงใหญ่โต ด้วยความหิววันเพ็ญจึงไปเกาะรั้วมองถาดข้าวปลาอาหารโดยไม่รู้ว่ามีสายตาของสารวัตรสดุดี (มิตร ชัยบัญชา) จ้องมองอยู่เพราะคิดว่าวันเพ็ญเป็นสายลับมาดูลาดเลาก่อนจะเข้าปล้นบ้าน ต่อมาเมื่อสารวัตรสดุดีจับผู้ร้ายตัวจริงได้ จึงรู้ว่าวันเพ็ญไม่ใช่คนร้าย จะปล่อยตัววันเพ็ญไป วันเพ็ญก็ไม่ยอมไปเพราะไม่รู้ว่าจะไปไหน สารวัตรสดุดีจึงพาวันเพ็ญไปอยู่บ้านและให้สมอ้างหลอกคุณหญิงแม่ (มาลี เวชประเสริฐ) ว่าวันเพ็ญเป็นภรรยาและมีลูกด้วยกัน คุณหญิงแม่จะได้ไม่บังคับให้แต่งงานกับสร้อยระย้า (วาสนา ชลากร) แต่ความก็แตกก่อนเพราะสุทธินี (ศรีนวล สมบัติเจริญ) น้องสาวสารวัตรไม่รู้แผนมาก่อนจึงบอกคุณหญิงแม่ว่าวันเพ็ญไม่ใช่ภรรยาพี่ชาย วันเพ็ญอยู่บ้านสารวัตรสดุดีก็มีนายอ่อน (ชรินทร์ นันทนาคร) เป็นเพื่อน ส่วนความรักของวันเพ็ญกับสารวัตรก็ก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ สารวัตรรับปากจะช่วยตามหาพ่อให้วันเพ็ญ ต่อมาวันเพ็ญเห็นสารวัตรนอนห้องเดียวกับสร้อยระย้า ก็น้อยใจและแอบหนีออกจากบ้าน โดยไม่รู้ว่านั่นคือ แผนลวงที่สร้อยระย้าสร้างขึ้นเพราะอิจฉาวันเพ็ญ
แมวไทย (2511)
แมวไทย (2511/1968) ข้อความบนใบปิด นันทนาครภาพยนตร์ เสนอ ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตการสร้าง ของ...ชรินทร์ นันทนาคร แมวไทย จากบทประพันธ์ ของ ทมยันตี มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ และสองดาราทองพระราชทาน ชรินทร์ นันทนาคร ลินจง บุนนากรินทร์ ร่วมด้วย ทัต เอกทัต, อบ บุญติด, ปรียา รุ่งเรือง, วาสนา ชลากร, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, ล้อต๊อก และด.ช.ตุ๊ดตู่-ตุ๊ดติ่ง ทัศนพยัคฆ์ ดาราเกียรติยศ วีรบุรุษแชมป์โลก ชาติชาย เชี่ยวน้อย พร้อมด้วยคณะ 3 ศักดิ์ รังสี ทัศนพยัคฆ์ กำกับการแสดง ฉลอง ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ ส.อาสนจินดา สร้างบท นันทวัต กำกับบท ชรินทร์ นันทนาคร อำนวยการสร้าง กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
ลมหนาว (2509)
ลมหนาว (2509/1966) นันทนาครภาพยนตร์ ขอมอบของขวัญอันเป็นมิ่งมงคล แก่ชีวิตทุกชีวิตที่อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร โปรดเกล้าพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ "ลมหนาว" เป็นเพลงเอก ฟัง! เพลงพระราชนิพนธ์ "ลมหนาว" บรรเลงด้วยดนตรี 101 ชิ้น ยิ่งใหญ่ที่สุด จากนวนิยายชีวิตในนิตยสาร เดลิเมล์วันจันทร์ โดยนักประพันธ์ตุ๊กตาทองพระราชทาน รพีพร นำโดยดาราที่ปวงประชาทุกครัวเรือนถือเสมือนญาติสนิท...
เทพบุตรนักเลง (2508)

เทพบุตรนักเลง (2508/1965) เทพบุตรนักเลง ของ รพีพร นวนิยายชีวิตที่ฮิตที่สุดในนิตยสาร "บางกอก" ดู! ครั้งแรก...ครั้งสำคัญ ที่สองเทพบุตรนักสู้ โผน กิ่งเพชร พบ อภิเดช ศิษย์หิรัญ ชม สุเทพโชว์-เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ร่วมแสดงและร้องเพลงประกอบ "ป่าลั่น" ยุคสมัยของคนหนุ่มได้เริ่มขึ้นแล้ว ด้วยศรัทธาอันทรงพลัง "เทพบุตรนักเลง" จึงปรากฏกายอย่างสง่า พร้อมที่จะให้ท่านพิสูจน์ในความดี และเรียบร้อยทุกด้าน... จากนวนิยายฮิตที่ฮิตที่สุด ในนิตยสาร "บางกอก" ของนักประพันธ์ตุ๊กตาทอง รพีพร

กำลังแสดงผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ