สวรรค์วันเพ็ญ (2512)
สวรรค์วันเพ็ญ (2512/1969) นายพร (สมจินต์ ธรรมฑัต) รับใคร่ชอบพอกับเดือน (ปริม ประภาพร) แต่นายสิน (แมน ธีระพล) ลูกกำนันมาติดพันเดือนด้วย นายพรกับนายสินจึงท้าดวลกันอย่างลูกผู้ชาย ถ้าใครชนะก็จะได้เดือนไปเป็นเมีย ผลการต่อสู้นั้น นายพรเป็นฝ่ายชนะ จึงได้เดือนเป็นเมีย แต่นายสินกลับตระบัดสัตย์โดยหาเรื่องกลั่นแกล้งว่า นายพรเป็นโจรปล้นควายกระทั่งนายพรต้องโทษจำคุก ด้วยความเคียดแค้นที่ถูกนายสินกลั่นแกล้ง นายพรจึงแหกคุกออกมาและฆ่านายสินกับเดือนตายเพราะจับได้ว่า เดือนเมียรักเป็นชู้กับนายสิน พอฆ่าเสร็จ นายพรก็เผากระท่อมทิ้ง แต่ได้ยินเสียงเด็กร้องไห้ ก็เลยอุ้มเด็กติดมือมา เด็กน้อยๆ คนนี้ก็คือลูกสาวของนายพรที่เกิดจากเดือนนั่นเอง แม้นายพรจะเกลียดเดือน แต่ก็ฆ่าเด็กน้อยคนนี้ไม่ได้ นายพรซึ่งตอนนี้ก็กลายเป็นเสือพรไปจริงๆ แล้ว คงไม่มีปัญญาจะเลี้ยงดูลูกน้อยได้ จึงพายเรือนำลูกน้อยไปฝากพี่แพร (สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย) พี่สาวให้เลี้ยงดูแทน คืนนั้นเป็นคืนพระจันทร์เต็มดวง นายพรจึงตั้งชื่อลูกน้อยนี้ว่า วันเพ็ญ (เพชรา เชาวราษฎร์) นายพรกำชับพี่แพรไม่ให้บอกว่าใครเป็นพ่อเด็กและให้พี่แพรรับสมอ้างเป็นแม่ของวันเพ็ญด้วยเลย จากนั้นนายพรก็ไปเสือพรตามโชคชะตาต่อไป แม่แพรก็ต้องหาว่าฆ่านายหวิงตาย ก็ยิ่งทำให้อาการป่วยกำเริบอีกจนแม่แพรเสียชีวิต วันเพ็ญตัดสินใจจะออกไปบ้านดอนกระสวยเพื่อไปตามหาพ่อ จึงเอาห่อเถ้ากระดูกแม่แพรไปซ่อนไว้ข้างๆ องค์พระพูดได้ จากนั้นวันเพ็ญกับหว่างก็มุ่งไปสถานีรถไฟ ระหว่างที่รถไฟยังไม่ออก หว่างก็ลงไปขายไม้กวาดก่อน ก็เลยกลับขึ้นรถไฟไม่ทัน วันเพ็ญเข้ากรุงเทพฯเพื่อติดตามหาพ่อโดยมีรูปถ่ายของพ่อเพียงใบเดียว ก็เผอิญเดินไปพบบ้านหลังหนึ่งกำลังมีงานเลี้ยงใหญ่โต ด้วยความหิววันเพ็ญจึงไปเกาะรั้วมองถาดข้าวปลาอาหารโดยไม่รู้ว่ามีสายตาของสารวัตรสดุดี (มิตร ชัยบัญชา) จ้องมองอยู่เพราะคิดว่าวันเพ็ญเป็นสายลับมาดูลาดเลาก่อนจะเข้าปล้นบ้าน ต่อมาเมื่อสารวัตรสดุดีจับผู้ร้ายตัวจริงได้ จึงรู้ว่าวันเพ็ญไม่ใช่คนร้าย จะปล่อยตัววันเพ็ญไป วันเพ็ญก็ไม่ยอมไปเพราะไม่รู้ว่าจะไปไหน สารวัตรสดุดีจึงพาวันเพ็ญไปอยู่บ้านและให้สมอ้างหลอกคุณหญิงแม่ (มาลี เวชประเสริฐ) ว่าวันเพ็ญเป็นภรรยาและมีลูกด้วยกัน คุณหญิงแม่จะได้ไม่บังคับให้แต่งงานกับสร้อยระย้า (วาสนา ชลากร) แต่ความก็แตกก่อนเพราะสุทธินี (ศรีนวล สมบัติเจริญ) น้องสาวสารวัตรไม่รู้แผนมาก่อนจึงบอกคุณหญิงแม่ว่าวันเพ็ญไม่ใช่ภรรยาพี่ชาย วันเพ็ญอยู่บ้านสารวัตรสดุดีก็มีนายอ่อน (ชรินทร์ นันทนาคร) เป็นเพื่อน ส่วนความรักของวันเพ็ญกับสารวัตรก็ก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ สารวัตรรับปากจะช่วยตามหาพ่อให้วันเพ็ญ ต่อมาวันเพ็ญเห็นสารวัตรนอนห้องเดียวกับสร้อยระย้า ก็น้อยใจและแอบหนีออกจากบ้าน โดยไม่รู้ว่านั่นคือ แผนลวงที่สร้อยระย้าสร้างขึ้นเพราะอิจฉาวันเพ็ญ
ดิน น้ำ ลม ไฟ (2512)

ดิน น้ำ ลม ไฟ (2512/1969) ข้อความบนใบปิด วัฒนภาพยนตร์ ไพรัช กสิวัฒน์ สร้างความยิ่งใหญ่อีกครั้งให้เหนือกว่า น้อยไจยา จุฬาตรีคูณ สันกำแพง ครั้งแรกที่จ้าวสังเวียนในอดีตโคจรมาพบกันให้เกรียงไกร คือ... ชูชัย พระขรรค์ชัย (เทพบุตรสังเวียน) สุรชัย ลูกสุรินทร์ (เสือสำอางค์) ดิน น้ำ ลม ไฟ บทประพันธ์ของ อรชร สมบัติ เมทะนี นำ อรัญญา นามวงษ์ สุทิศา พัฒนุช พบ ครรชิต ขวัญประชา ร่วมด้วย รุจน์ รณภพ, สุวิน สว่างรัตน์, ไสล พูนชัย, รสสุคนธ์ กสิวัฒน์, สีเทา, ธัญญา ธัญญารักษ์, ชาย, เลิศ, พิภพ ภู่ภิญโญ, สมพงษ์ พงษ์มิตร และ ล้อต๊อก ขอแนะนำสองดาวรุ่งดวงใหม่ จอมใจ จรินทร์ โขมพัสตร์ อรรถยา ปรีชา ทรัพย์พระวงศ์-สมาน ทองทรัพย์สิน-ปง อัศวินิกุล ถ่ายภาพ ไพรัช กสิวัฒน์ กำกับการแสดง รสสุคนธ์ กสิวัฒน์ อำนวยการสร้าง ฟัง 8 เพลงเอก 35 ม.ม.ซีเนมาสโคป สีอิสต์แมน นวฤทธิ์ฟิล์ม จัดจำหน่าย 

 
ไทยน้อย (2512)
ไทยน้อย (2512/1969) ข้อความบนใบปิด กัญญามาลย์ภาพยนตร์ โดย ดอกดิน ศิลปินของท่าน เสนอ วงการภาพยนตร์ก้าวหน้า ดาราหมุนเวียน สมบัติ-เพชรา มาพบกันเป็นเรื่องแรก ของ กัญญามาลย์ภาพยนตร์ ไทยน้อย บทประพันธ์ ของ อิงอร ดอกดิน กัญญามาลย์ กำกับการแสดง สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ ชนะ ศรีอุบล, อดุลย์ ดุลยรัตน์, พัลลภ พรพิษณุ, ชฎาพร วชิรปราณี, สุวิน สว่างรัตน์, ธัญญา ธัญญารักษ์, มารศรี อิศรางกูร, ชาณีย์ ยอดชัย, ชาย, น้อย, เทียมจันทร์, จุมพล, สมชาย สามิภักดิ์ อรสา ตัวขาวๆ ดอกดิน ตัวดำๆ และมิสเวอร์จิเนียร์ ยีน บรรจง กัญญามาลย์ อำนวยการสร้าง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ ราชาเพลงลูกทุ่ง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ร้องเพลง ไทยน้อย เพลงเอกครั้งแรกในจอเงิน กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
สอยดาว สาวเดือน (2512) สอยดาวสาวเดือน
สอยดาวสาวเดือน (2512/1969) ลานเท อยุธยา สมิง (ชนะ/-/รังสิโรจน์) เด็กหนุ่มแห่งบ้านลานเทยิงคนตายเพื่อชำระแค้นให้กับพ่อแม่ตัวเองที่ถูกฆ่าตาย สมิงได้รับบาดเจ็บและหลบหนีเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้าน ผู้ใหญ่ธง (จำรูญ/-/เอกพัน) ศรีนวล (เพชรา/-/จีระนันท์) ลูกสาวเพียงคนเดียวของผู้ใหญ่ธง ที่เก่งการร้องลำตัดจนมีชื่อเสียงลือเลื่อง จนได้รับฉายาว่า เจ้าแม่ลานเท ก็เป็นที่หมายปองของสมิง แม้ศรีนวลจะเห็นว่าสมิงเป็นเพียงเพื่อนชายที่แสนดีก็ตาม เลอสรร หรือ คุณหนึ่ง (มิตร/-/ธนา) ลูกชายเพียงคนเดียวของท่านข้าหลวงเมืองอยุธยา เมื่อปิดเทอมได้เดินทางมาที่ลานเทเพื่อหาประสบการณ์ คุณหนึ่งได้พบเจอทั้งสมิงและศรีนวล คุณหนึ่งแอบรักกับศรีนวล จนกระทั่งทั้งคู่ลักลอบได้เสียกัน มีแต่เพียงผู้ใหญ่ธงและสมิงเท่านั้นที่รับรู้เรื่อง คุณหนึ่งสัญญาว่าเมื่อเรียนจบแล้ว จะกลับมาแต่งงานกับศรีนวล แต่ทว่า เมื่อกลับถึงกรุงเทพฯ คุณนาย แม่ของคุณหนึ่งกลับไม่ยินยอม พร้อมกับบีบบังคับให้คุณหนึ่งแต่งงานกับ สร้อยเพชร (ชฎาพร/-/อุษณีย์) ลูกสาวของเพื่อนสนิทตัวเอง ศรีนวลตั้งท้องลูกของเลอสรร จนคลอดออกมาเป็นผู้หญิงชื่อ สอยดาว (โสภา/-/อาภา) ขณะที่คุณหนึ่งก็มีลูกสาวกับสร้อยเพชร ชื่อ สาวเดือน (ขวัญตา/-/รัญดภา) 20 ปีผ่านไป เมื่อคุณหนึ่งกลายเป็นนายตำรวจใหญ่ คุณหนึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปลานเท เพื่อตามจับ สมิง ซึ่งหนีหมายจับและกลายเป็นโจรชื่อดัง และ ณ ที่นั่นเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีตจึงฟื้นคืนมา
ลูกปลา (2512)
ลูกปลา (2512/1969) ข้อความบนใบปิด บูรพาศิลปภาพยนตร์ บริษัทผู้สร้างภาพยนตร์มาแล้ว 38 ปี เสนอผลงานชิ้นเยี่ยม ปี 2512 ลูกปลา จากบทประพันธ์ของ จำลักษณ์ มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี, บุศรา นฤมิตร, อดุลย์ ดุลยรัตน์, ทม วิศวชาติ, เมตตา รุ่งรัตน์, ประภาศรี เทพรักษา, ศศิธร เพชรรุ่ง, วาสนา ชลากร, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สมพงษ์ พงษ์มิตร, หม่อมชั้น พวงวัน, มาลี เวชประเสริฐ, ศรีสละ ทองธารา, ชาณีย์ ยอดชัย, ทศ และเชาว์ แคล่วคล่อง รักหวานชื่นจิตต์ ชีวิตเศร้า เคล้าน้ำตา ฟัง 3 เพลงเอกในระบบ 35 ม.ม. สำเภา ประสงค์ผล อำนวยการสร้าง สันทัด ศรีสัมพันธ์ ถ่ายภาพ ฉลอง ภักดีวิจิตร กำกับการแสดง กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
วิญญาณสุรพล (2512)
วิญญาณสุรพล (2512/1969) ข้อความบนใบปิด แม้ตัวเขาจากไป แต่วิญญาณเขายังอยู่ ดู วิญญาณสุรพล นำโดย วิน วิษณุรักษ์ สมชาย ศรีภูมิ ใจดาว บุษยา แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, อุไรวรรณ จันทร์ทิพย์, พุทธชาติ, พิณทิพย์, ขวัญ สุวรรณะ, ยรรค์ยง, ก๊กเฮง, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, เมืองเริง ปัทมินทร์, แอ๋, พิศ, พิภพ ภู่ภิญโญ, ประกอบ และ ขุนแผน ภุมมารักษ์, ถนอม นวลอนันต์ ศิวาพรฟิล์ม จัดจำหน่าย ตื่นเต้น!! เฮฮา!! ฟังเพลงสุรพล โศรยา อำนวยการสร้าง เกรียงศักดิ์ ฤกษ์ชนะ กำกับการแสดง สงคราม-กวี ถ่ายภาพ
เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2512)
เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2512/1969) เกาะสวาท หาดสวรรค์ เป็นภาพยนตร์สีอิสต์แมน 35 มม.ซูเปอร์ซีเนสโคป ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2512 พากย์เสียงในฟิล์ม สร้างโดย ละโว้ภาพยนตร์ โดยมี หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา เป็นผู้อำนวยการสร้าง อำนวยการแสดงโดย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีภาคต่อคือภาพยนตร์เรื่อง วิวาห์พาฝัน (2514)
สุรพลลูกพ่อ (2511)
สุรพลลูกพ่อ (2511/1968) เรื่องราวชีวิตจริงของราชาเพลงลูกทุ่ง "สุรพล สมบัติเจริญ" ผ่านมุมมองของบิดาของครูคือ "พ่อเปลื้อง สมบัติเจริญ" ตั้งแต่สุรพลเริ่มชีวิตการร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ ด้วยเอกลักษณ์ ลีลา รูปแบบเฉพาะตัว และความสามารถในการร้องและแต่งเพลงเอง รวมถึงการใช้เพลงจังหวะรำวงในเพลงที่เขาแต่ง ทำให้เพลงของเขามีความสนุกครึกครื้นและเป็นที่นิยมจนกลายเป็นราชาแห่งวงการเพลงลูกทุ่ง ก่อนที่สุรพลจะจบชีวิตอย่างน่าเศร้าด้วยเหตุฆาตกรรมที่ใครก็คาดไม่ถึง
16 ปีแห่งความหลัง (2511)

16 ปีแห่งความหลัง (2511/1968) ลำดวล สมบัติเจริญ กับ การะเวก เพื่อนสนิท เดินทางจากสุพรรณมากรุงเทพฯ หา จ่าโทแต้ม นักดนตรีในกองดุริยางค์ทหารอากาศ เพื่อหางานทำ ที่บ้านของจ่าโทแต้ม มี จ่าโทโปร่ง เพื่อนสนิทอีกคนอาศัยอยู่ด้วย จ่าโทแต้มให้การต้อนรับลำดวลกับการะเวกอย่างดี และเมื่อทราบว่าลำดวลได้ลาออกจากการเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ และลาออกจากการเป็นครูที่สุพรรณแล้ว ก็หาทางช่วยเหลือ ได้พาลำดวลไปพบ ร.ท.ปราโมทย์ นายของตนเพื่อฝากเข้าทำงานในกองทัพอากาศ

ร.ท.ปราโมทย์ ได้ตั้งค่ายมวยชื่อ ค่ายเลือดชาวฟ้า ได้รับลำดวลกับการะเวกเข้าทำงาน โดยบรรจุ ลำดวล เข้าทำงานในฝ่ายโยธา กองทัพอากาศ พร้อมกับแนะนำให้ลำดวลหัดมวยเพื่อหาลำไพ่พิเศษ จ่าตรีอ่อน ผู้ควบคุมดูแลนักมวยในค่าย ชอบพอสนิทสนมกับลำดวลและการะเวกเป็นพิเศษ สาเหตุเพราะทั้งสามคนชอบรำวง เมื่อมีคณะรำวงมาตั้งใกล้ๆ ค่ายอ่อนก็เป็นตัวการทำให้ลำดวลกับการะเวกได้หนีไปรำวงด้วยทุกคืน

จิ๋มลิ้ม หัวหน้าคณะรำวงชอบพอกับอ่อน เมื่อลำดวลได้แต่งเพลงรำวงไว้และอยากที่จะแสดงผลงานของตัว ก็ได้รับการสนับสนุนจากจิ๋มลิ้มเป็นอย่างดี เพลงชูชกสองกุมาร ของลำดวลได้รับกาารต้อนรับที่ดีจากประชาชนที่มารำวง ในคืนหนึ่ง ร.ท.ปราโมทย์ มาพบทั้งสามเข้า ทำให้ทั้งสามคนตกใจมาก แต่ ร.ท.ปราโมทย์ กลับแสดงความยินดีกับผลงานเพลงของลำดวล และย้ายลำดวลเข้าสู่กองดุริยางค์ทหารอากาศ

ที่กองดุริยางค์ทหารอากาศ ในระยะแรกลำดวลทำงานอยู่ฝ่ายการเงิน ได้รับยศเป็นจ่าตรี การะเวกและจ่าอ่อนก็ย้ายตามมาด้วย เนื่องจากบ้านพักเต็มทั้งสามคนจึงต้องมาขออาศัยที่บ้านพักของ จ่าแต้ม ที่บ้านของจ่าแต้มทั้งสามคนได้รับการขูดรีด และกดขี่จาก "นางแหว" เมียจ่าแต้มที่มีนิสัยเห็นแก่ตัวและปากร้ายเป็นที่สุด ทั้งสามคนได้หาทางแก้เผ็ดยายแหวทุกครั้ง ที่กองดุริยางคืทหารอากาศลำดวลได้รับความสนับสนุนจากนักร้องนักแต่งเพลงรุ่นพี่ ทำให้มีโอกาสแสดงผลงานที่แต่งและร้อง จนประชาชนให้ความนิยม และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สุรพล สมบัติเจริญ

น้ำอ้อย (2511)
น้ำอ้อย (2511/1968) ข้อความบนใบปิด นพรัตน์ภาพยนตร์ เสนอ น้ำอ้อย จากบทประพันธ์ ของ สุมนทิพย์.. นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ อดุลย์ ดุลยรัตน์, เมตตา รุ่งรัตน์, บุศรา นฤมิต, ชฎาพร วชิรปราณี, มนัส บุณยเกียรติ, สมพล กงสุวรรณ, มานี มณีวรรณ, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, ธัญญา ธัญญารักษ์, อรสา อิศรางกูร และ ดอกดิน กัญญามาลย์ เชิญชมฉากเพลงเอก 3 เพลง 35 ม.ม.เสียงในฟิล์ม สีสวยสด เพลง “น้ำอ้อย” “ผีเสื้อ” และเพลง “แพรัก” พร้อม รุ่งรังสี สร้างบทภาพยนตร์ ดอกดิน กำกับการแสดง นพรัตน์ ศศิวิมลรักษ์ อำนวยการสร้าง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
บัวหลวง (2511)
บัวหลวง (2511/1968) มิตร-สุทิศา ข้อความบนใบปิด กมลศิลปภาพยนตร์ เสนอ สุขสันต์...เริงรื่น...ชื่นทรวง บัวหลวง 35 ม.ม.ซูเปอร์ซีเนมาสโคป สีอิสต์แมน มิตร ชัยบัญชา สุทิศา พัฒนุช ดาราสาวเงิน 2 ล้านคนใหม่ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, รัตนาภรณ์น้อย, ทัต เอกทัต, วีนัส ศรีประไพ, ชูศรี มีสมมนต์, ชฎาพร วชิรปราณี, สมพงษ์ พงษ์มิตร, เทียว ธารา, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ โอฬารตระการตาด้วย 8 เพลงเอกเสียงในฟิล์ม น้อย กมลวาทิน กำกับการแสดง รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อำนวยการสร้าง ศานิต รุจิรัตน์ตระกูล ถ่ายภาพ กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
แม่นาคคะนองรัก (2511)
แม่นาคคะนองรัก (2511/1968) ข้อความบนใบปิด เสน่ห์ศิลป์ภาพยนตร์ เสนอ ปรียา รุ่งเรื่อง ชุมพร เทพพิทักษ์ ฤทธี นฤบาล แม่นาคคะนองรัก หนังผี หนังดัง ต้อง เสน่ห์ สร้าง แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, นุสรา แสงรัตน์, หยาดรุ้ง ระพี พร้อมด้วย ล้อต๊อก, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ทองฮะ, ขวัญ, ยรรยงค์, ดาวน้อย ดวงใหญ่, ลุงโกร่ง กางเกงแดง ขอเสนอ กันทิมา ดาราพันธ์ สันทัด ถ่ายภาพ เสน่ห์ โกมารชุน กำกับการแสดง (ที่มา :Thai Movie Posters)
เป็ดน้อย (2511)
เป็ดน้อย (2511/1968) ศักดิ์ชัย (ไชยา สุริยัน) ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่สำรวจพื้นที่ทำทางหลวง เข้ามาขอพักชั่วคราวในบ้านสุดชายทุ่งของเป็ดน้อย (สุทิศา พัฒนุช) และทั้งสองบังเกิดความรักต่อกัน แม้ว่าบุญ (ธานินทร์ อินทรเทพ) จะหมายปองเป็ดน้อยอยู่ก่อนแล้ว ศักดิ์ชัยสัญญาว่าจะมารับเป็ดน้อยไปอยู่กรุงเทพ แต่เมื่อศักดิ์ชัยมาบอกเรื่องของเขากับเป็ดน้อยแม่และพี่น้องของเขาต่างรังเกียจเมื่อทราบว่าจะได้สะใภ้ชาวนาเข้ามาอยู่ร่วมด้วย ขณะที่ตระกูลนี้กำลังอยู่ในฐานะลำบาก ทางเดียวที่จะกู้สถานการณ์ได้คือ มรดกของเจ้าคุณปู่ (ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร) แต่คุณปู่มีเงื่อนไขว่าศักดิ์ชัยต้องหาเจ้าสาวที่ท่านพอใจเท่านั้น ในงานเลี้ยงต้อนรับ ศักดิ์ศรี (จินฟง) น้องชายคนสุดท้องที่เพิ่งเรียนจบจากเมืองนอก เป้ดน้อยในชื่อใหม่ว่า วรรณวิไล ต้องขายหน้าโดยไม่รู้ตัวที่ทำกิริยาเปิ่นๆจากแผนของหญิงเล็ก (เมตตา รุ่งรัตน์) ผู้ตั้งชื่อให้และแสร้งทำดีเพื่อหาโอกาสกำจัดเธอ ศักดิ์ชัยโกรธเป็ดน้อยที่ทำให้ได้รับความอับอาย เป็ดน้อยเสียใจมากจนหนีกลับบ้านเดิม แต่บุญและศักดิ์ศรีช่วยกันให้กำลังใจให้เป็ดน้อยกู้ศักดิ์ศรีของตนเองคืนมา ทั้งสองวางแผนให้เป็ดน้อยปรากฏตัวใหม่เป็นที่ประทับใจของทุกคน ด้วยความร่วมมือของครูพูน (พูนสวัสดิ์ ธีมากร) ครูสอนมารยาท เจ้าคุณปู่พอใจเป็ดน้อยมากประกาศยกมรดกให้ศักดิ์ชัยและเป็ดน้อย พร้อมทั้งจัดการแต่งงานให้ทั้งสอง
อีแตน (2511)
อีแตน (2511/1968) นายอำเภอจรุง (ชาลี อินทรวิจิตร) ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการต่อสู้กับโจร ก่อนสิ้นชีวิตได้สั่งเสียให้กาหลง (วิไลวรรณ วัฒนพานิช) ภรรยาซึ่งกำลังตั้งท้องไปอาศัยอยู่กับท่านเจ้าคุณพระยาบริบาลภูมินทร์ (ม.ล.ขาบ กุญชร) ผู้เป็นบิดาของตน กาหลงพายายเมี้ยน (มาลี เวชประเสริฐ) คนรับใช้เก่าแก่ติดตามมาด้วย และได้คลอดลูกเป็นเด็กหญิงมีตำหนิปานแดงที่ไหล่และมีรอยแผลเป็นที่ใบหูแต่ยังไม่ทันได้ตั้งชื่อ ยายเมี้ยนแอบได้ยินคุณหญิงชฎา (กัณฑรีย์ นาคประภา) ผู้เป็นภรรยาใหม่ของท่านเจ้าคุณปรึกษากับนิพนธ์ (แมน ธีระพล) ชายชู้เรื่องจะกำจัดกาหลงและลูกเพื่อฮุบมรดก ยายเมี้ยนตัดสินใจแอบลักพาตัวลูกของกาหลงหนีออกจากบ้าน และไปอาศัยอยู่กับแต้ม (สมพล กงสุวรรณ) อดีตแมงดาขี้เมา เมื่อกาหลงรู้ว่าลูกหายก็ตกใจมากจนเส้นเลือดสมองแตกกลายเป็นอัมพาต ขณะที่ท่านเจ้าคุณก็ส่งคนออกตามหาหลานแต่ก็ไม่พบ ส่วนยายเมี้ยนและแต้มก็ตั้งชื่อเด็กว่า แตน (อรัญญา นามวงศ์) และยายเมี้ยนอุตส่าห์ทำงานเลี้ยงดูแตนด้วยความเหน็ดเหนื่อย ขณะที่แต้มเอาแต่กินเหล้าเมามาย สิบเก้าปีต่อมาแตนเติบโตเป็นสาวสวย วันหนึ่งได้พบกับรุ่งโรจน์ (มิตร ชัยบัญชา) ทนายประจำตระกูลบริบาลภูมินทร์ ซึ่งถูกคุณหญิงชฎาใช้ให้มาไล่ที่ชาวบ้านในสล้มเพื่อเอาที่ดินสร้างตึก แตนไล่ตีรุ่งโรจน์แต่ขณะเดียวกันทั้งสองก็รู้สึกนึกรักกัน ยายเมี้ยนออกไปทำงานที่ต่างจังหวัดเพื่อส่งเงินมาเลี้ยงดูแตนและแต้ม แต่เงินถูกคนที่ยายเมี้ยนฝากมาอมเสียทำให้เงินมาไม่ถึงแตน เมื่ออดอยากมากขึ้นแต้มคิดแผนชั่วขึ้นโดยการหลอกพาแตนไปขายที่ซ่องของผกา (ชฎาพร วชิรปราณี) แต่แตนต่อสู้จนสุดฤทธิ์ไม่ยอมขายตัวทำให้แขกที่เที่ยวพากันเข็ดขยาด คุณหญิงชฎาและนิพนธ์คิดแผนการที่ถ่ายเททรัพย์สมบัติของท่านเจ้าคุณมาเป็นของตน ด้วยการหาหลานตัวปลอมมาตบตาท่านเจ้าคุณ นิพนธ์มาที่ซ่องของผกาและได้พบแตนก็รู้สึกถูกใจคิดว่าแตนเหมาะสมที่แสดงบทบาทเป็นหลานท่านเจ้าคุณ จึงขอซื้อตัวแตนจากผกาและนำมาบ้านภักดีภูมินทร์ ท่านเจ้าคุณดูตำหนิปานแดงที่ไหล่และรอยแผลเป็นที่ใบหูของแตนก็แน่ใจว่าเป็นหลานของตน และกาหลงถึงแม้จะเป็นอัมพาตแต่สัญชาติญาณก็ทำให้รู้ว่าแตนเป็นลูกของตน ขณะที่คุณหญิงชฎากับนิพนธ์รู้สึกดีใจคิดว่าตบตาท่านเจ้าคุณได้ เมื่อแตนมาอยู่ที่บ้านท่านเจ้าคุณก็มีโอกาสได้พบกับรุ่งโรจน์บ่อยครั้งจนกลายเป็นความรัก ในงานวันประกาศตัวแตนเป็นทายาทของตระกูลบริบาลภูมินทร์ ยายเมี้ยนได้แอบเข้ามาในบ้านเพื่อยืนยันกับท่านเจ้าคุณว่าแตนคือทายาทที่แท้จริง และคุณหญิงชฎากับนิพนธ์คิดร้ายต่อทุกคน แต่นิพนธ์มาพบเสียก่อนจึงฆ่ายายเมี้ยนตายและบังคับให้แต้มนำศพยายเมี้ยนออกไปนอกบ้าน เหตุการณ์ทั้งหมดอยู่ในสายตาของหมวย (ชูศรี มีสมมนต์) เพื่อนของแตนที่แอบตามยายเมี้ยนมา นิพนธ์วางยาพิษในเหล้าให้ท่านเจ้าคุณดื่ม แต่เกิดผิดพลาดสลับขวดเหล้ากันทำให้ท่านเจ้าคุณปลอดภัย แต่นิพนธ์กลับดื่มเหล้าในขวดที่ผสมยาพิษเสียเองจนเสียชีวิต แต้มเห็นเหตุการณ์ก็ตกใจเตลิดหนีไป ขณะเดียวกับที่หมวยไปบอกแตนเรื่องที่นิพนธ์ฆ่ายายเมี้ยนตาย แตนไปที่ศพยายเมี้ยนและนำปืนของนิพนธ์ที่ทิ้งไว้ข้างศพมาด้วย เมื่อพบนิพนธ์นั่งฟุบอยู่กับโต๊ะอาหารจึงใช้ปืนยิงโดยไม่รู้ว่านิพนธ์ตายแล้ว คุณหญิงชฎาแจ้งตำรวจให้จับแตนในข้อหาฆ่านิพนธ์ รุ่งโรจน์พยายามใช้ความรู้กฎหมายช่วยว่าความให้แตนอย่างสุดความสามารถ แต่ไม่สามารถหาพยานหลักฐานมาหักล้างข้อกล่าวหาได้ซึ่งอาจจะทำแตนต้องติดคุกโดยไม่ได้ทำความผิดก็เป็นได้ แต่แล้วในวันตัดสินคดีแต้มตัดสินใจมาเป็นพยานในศาลบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดทำให้แตนพ้นจากความผิด รุ่งโรจน์เจียมตัวว่าตนเองเป็นหลานของนิพนธ์ซึ่งคิดร้ายต่อท่านเจ้าคุณจึงขอลาออก แต่ขณะที่กำลังจะออกจากบ้านแตนก็มาขวางไว้ ทั้งสองจึงเปิดใจต่อกันถึงความรักที่มีต่อกัน และท่านเจ้าคุณและกาหลงก็เต็มใจให้รุ่งโรจน์และแตนแต่งงานกัน
บุญเพ็งหีบเหล็ก (2510)
บุญเพ็งหีบเหล็ก (2510/1967) เรื่องจริงอิงมายาศาสตร์ เรื่องจริงที่ตื่นเต้นสยองขวัญจนแทบไม่น่าเชื่อ เรื่องของการชิงรักหักสวาทบาดอารมณ์ เหนือความรักประทับใจทั้งมวล! บุญเพ็งหีบเหล็ก เป็นฉายาของนายบุญเพ็ง ซึ่งเป็นฆาตกรที่เหี้ยมโหดในสมัยรัชกาลที่ 6 เดิมทีนายบุญเพ็งเป็นพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองนนทบุรี และมีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมาก โดยเฉพาะลูกศิษย์ที่เป็นผู้หญิงร่ำรวย ซึ่งบุญเพ็งได้ใช้วิชาอาคมด้วยการทำเมตตามหานิยมให้กับผู้หญิงที่หลงเชื่อ ด้วยการหลอกล่อเอาเงินและมีเพศสัมพันธ์กับสีกาที่มาให้บุญเพ็งทำเสน่ห์ นานวันเข้าก็เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้หญิงที่ไปติดพันบุญเพ็งค่อยๆ หายตัวไปอย่างลึกลับ พร้อมหีบเหล็กที่หายไปทีละใบ..ทีละใบ..
มดแดง (2510)
มดแดง (2510/1967) ข้อความบนใบปิด กัญญามาลย์ภาพยนตร์ ในความอุปถัมภ์ของประชาชน ดอกดิน ศิลปินของท่าน ขอเปิดม่านทองของวงการบันเทิงปี 2510 ด้วยเรื่อง... มดแดง ของ...อิงอร มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ นำแสดง ร่วมด้วย... อดุลย์ ดุลยรัตน์, ชฎาพร วชิรปราณี, อาคม มกรานนท์, สมจิตร ทรัพย์สำรวย, บุษกร สาครรัตน์, อภิญญา วีระขจร, สุวิน สว่างรัตน์, มาลี เวชประเสริฐ, มนัส บุณยเกียรติ, สิงห์ มิลินทราศัย, ประมินทร์ จารุจารีต, ธัญญา ธัญญารักษ์, ละออ, สมชาย สามิภักดิ์ และ นาฏ นดา ดารารับเชิญ ด.ญ.ศิริพร เทียนทอง ด.ช.นวรัตน์ ไชนันท์, ด.ช.บัณฑิต กัญญามาลย์ สนุกกับสามดาวตลก ล้อต๊อก, อรสา อิศรางกูร, ดอกดิน กัญญามาลย์ ดอกดิน กัญญามาลย์ กำกับการแสดง บรรจง กัญญามาลย์ อำนวยการสร้าง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ