เงินจางนางจร (2513)
เงินจางนางจร (2513/1970) ข้อความบนใบปิด วัฒนาภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์รัก สุขสันต์ ขำขัน หรรษา สนุกสนาน เฮฮา น้ำตาไม่มี เงินจางนางจร จากคำพังเพยครั้งบุร่ำบุราณ สยุมพรมาจินตนาการสร้างเป็นภาพยนตร์ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ย้อนคำพังเพย เฉลยความจริงว่า รักแท้ของหญิง มิใช่เห็นแก่เงิน... นำโดย สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, เมตตา รุ่งรัตน์, ชุมพร เทพพิทักษ์, พฤหัส บุญหลง, จำรูญ หนวดจิ๋ม, พูลสวัสดิ์ ธีมากร, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ทานทัต วิภาตะโยธิน, ทองแถม, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ลุงโกร่ง กางเกงแดง, ดาวน้อย ดวงใหญ่, เสน่ห์ โกมารชุน, สีเทา และ ชินกร ไกรลาศ สยุมพร กำกับการแสดง เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ ศิรินันท์ คานทอง อำนวยการสร้าง ฟังเพลงไพเราะ ถ่ายทำระบบ 35 ม.ม. “เงินจางนางจร “เงินนอนนางจืด” รัตนาชัยฟิล์ม จัดจำหน่าย
มนต์รักลูกทุ่ง (2513)
มนต์รักลูกทุ่ง (2513/1970) ตำนานความรักของคล้าว (มิตร ชัยบัญชา) ที่รักอยู่กับทองกวาว (เพชรา เชาวราษฎร์) แต่พ่อกับแม่ทองกวาวไม่ชอบเพราะความที่คล้าวจนและโดนยึดที่นาเพราะเป็นหนี้กับพ่อจอม ทองก้อน และ ทับทิม เพราะความยากจนของคล้าวที่เป็นเพียงชาวนาทำให้ผู้ใหญ่ก้อนพ่อของทองกวาวพยายามกีดกัน ทองกวาวจึงเอาเงินที่มีอยู่มาให้คล้าวใช้หนี้ จอมโกรธที่ยึดที่นาของคล้าวไม่ได้ จึงไปต่อว่า ทองก้อน พ่อและแม่ของทองกวาว จึงส่งทองกวาวไปอยู่กับป้าทองคำที่กรุงเทพ โดยให้มีบุปผา (บุปผา สายชล) และหมึก ไปดูแล ทองกวาวได้รู้จักกับธรรมรักษ์ หลานของป้าทองคำ ซึ่งป้าทองคำหวังจะให้หลานทั้งคู่แต่งงานกัน เพื่อสมบัติจะได้ไม่ตกเป็นของคนอื่น คล้าวเศร้าโศกเสียใจที่น้ำท่วมทุ่งนาข้าวเสียหาย ได้พวกคอยปลอบ จึงบอกบุญเย็น (ไพรวัลย์ ลูกเพชร) ให้ตามหาทองกวาว บุญเย็นพบทองกวาวที่กรุงเทพและบอกเรื่องคล้าว ทองกวาวขอให้บุญเย็นบอกคล้าวว่าทองกวาวอยากให้คล้าวมาสู่ขอแต่พ่อแม่ของทองกวาวกลับเรียกค่าสินสอดสิบหมื่น ธรรมรักษ์เสียการพนัน หวังจะหลอกเอาเงินป้าทองคำจึงทำเป็นชอบทองกวาว โดยให้เพื่อนชื่อ ธีระ หัวหน้าวงดนตรีมากันบุปผา ทั้งหมดเดินทางมาบ้านทองกวาว แต่ด้วยความคิดถึงทองกวาวรีบมาหาคล้าวกลับพบว่าคล้าวอยู่กับสายใจ ทำให้ทองกวาวเข้าใจผิด ทองกวาวจึงตกลงหมั้นกับธรรมรักษ์ แต่ธรรมรักษ์มีฤทัยเป็นภรรยาอยู่ บุญเย็นจึงพาฤทัยมาบ้านทองกวาว ธรรมรักษ์โกรธมาก บอกฤทัยเป็นนักร้องในวงธีระ ฤทัยแกล้งตีสนิทกับคล้าวเพื่อให้ธรรมรักษ์หึง แล้วป้าทองคำจึงไล่ธรรมรักษ์และเมียกลับไป แต่ข่าวการหมั้นของทองกวาวกับธรรมรักษ์ที่ทองก้อนประกาศไปเข้าหูเสือทุม ได้จับตัวทองกวาวและป้าทองคำไปเรียกค่าไถ่ คล้าวและตำรวจตามไปช่วยไว้ทัน คล้าวกับพรรคพวกได้ช่วยเหลือทองกวาวและป้าทองคำให้พ้นจากคนร้าย ซึ่งทำให้พ่อทองก้อนและแม่ทับทิมไม่กล้าปฏิเสธ ทั้งคู่จึงได้แต่งงานกัน
เจ้าสาว (2513)
เจ้าสาว (2513/1970) ข้อความบนใบปิด กรุงเกษมภาพยนตร์ ผู้สร้าง แว่วเสียงยูงทอง/น้ำค้าง/มือนาง/โนรี/ ที่รักจ๋า และ ภูติแห่งความรัก ภูมิใจเสนอภาพยนตร์แนวใหม่ ครื้นเครง พิลึกพิลั่น...คือ เจ้าสาว บทประพันธ์ของ ชุติมา สุวรรณรัตน์ พร้อมด้วยเพลงเอกระบบ 35 ม.ม.เสียงในฟิล์ม นำโดย สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ พบ โสภาสถาพร ร่วมด้วย รุจน์ รณภพ, มาลี เวชประเสริฐ, พฤหัส บุญหลง, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ประมินทร์ จารุจารีต, ทานทัต วิภาตะโยธิน, ดาวน้อย ดวงใหญ่, โขน หมอผี, โกร่ง กางเกงแดง, หม่อมชั้น พวงวัน, ศรีสละ ทองธารา, ยรรยงค์, ชื้นแฉะ และ เทิ่ง สติเฟื่อง, ด.ญ.ชลธิชา สุวรรณรัต ดาราลูกทุ่งดวงเด่น รุ่งระวี หนองแค ชุดา เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา อำนวยการสร้าง เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ ทวีวรรณ สร้างบท ชุติมา สุวรรณรัต กำกับการแสดง เสรีภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
ทุ่งมหาราช (2513/1970) ข้อความบนใบปิด รุ่งโรจน์ภาพยนตร์ ผู้สร้าง “ภูพานอย่าร้องไห้” “นางละคร” เสนอภาพยนตร์ชีวิตต่อสู้ยิ่งใหญ่ประจำปี 2513 ทุ่งมหาราช จากวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ในชีวิตของ ‘เรียมเอง’ สมบัติ เมทะนี สุทิศา พัฒนุช ทักษิณ แจ่มผล ชุมพร เทพพิทักษ์, ชาณีย์ ยอดชัย, ทัต เอกทัต, ประมินทร์ จารุจารีต, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ทองฮะ, สีเทา ขอเสนอดาวยั่วดวงใหม่ มาลาริน บุนนาค, นกเริง รัมภา เนตรดาว นภาพรรณ ฟังเพลงในระบบ 35 ม.ม. จากการขับร้องของ สมบัติ เมทะนี, ชรินทร์ นันทนาคร, สวลี ผกาพันธุ์, ฉลอง สิมะเสถียร, รอง เค้ามูลคดี, ประสานศรี สิงหานนท์ ส.อาสนจินดา กำกับการแสดง วิเชียร วีระโชติ, วินิจ ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ ไพโรจน์ เย็นอุรา อำนวยการสร้าง ชาลี อินทรวิจิตร-อ.กวี สัตโกวิท สร้างเพลง อุไร ศิริสมบัติ สร้างฉาก คณะอัชชาวดี โดย จีราภา ปัญจศีล เสนอเป็นละครวิทยุ
ฝนเดือนหก (2513)
ฝนเดือนหก (2513/1970) ข้อความบนใบปิด พิษณุภาพยนตร์ เสนอภาพยนตร์ชีวิต เพลงลูกทุ่งยิ่งใหญ่! มิตร ชัยบัญชา อรัญญา นามวงษ์ โสภา สถาพร และ ฉัตร มงคลชัย ร่วมด้วย พฤหัส บุญหลง, พยงค์ มุกดาพันธ์, โขมพัสตร์ อรรถยา, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ, แป้น ปลื้มสระไชย, พรชัย, เมฆ ฝนเดือนหก ของ จักรา ฟัง 9 เพลงไพเราะ ตลกเฮฮา บู๊อย่างว่า 35 ม.ม. สันทัด ศรีสัมพันธ์ ถ่ายภาพ วิจารณ์ ภักดีวิจิตร กำกับการแสดง-อำนวยการสร้าง
ฝนใต้ (2513)

ฝนใต้ (2513/1970) ข้อความบนใบปิด บางกอกการภาพยนตร์ โดย ฉลอง ภักดีวิจิตร 2 ตุ๊กตาทองพระราชทาน ฝนใต้ บทประพันธ์ ของ เทอด ธรณินทร์ ฟัง 6 เพลงเอก ในระบบ 35 ม.ม. เสียงในฟิล์ม นำโดย สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ ดาราคู่ขวัญประชันยอดลูกทุ่ง เพลิน พรหมแดน กังวานไพร ลูกเพชร นวลละออง รุ้งเพชร ร่วมด้วย พันคำ, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, อดุลย์ ดุลยรัตน์, เสน่ห์ โกมารชุน, วาสนา ชลากร, จอมใจ จรินทร, สุวิน สว่างรัตน์, ชาณีย์ ยอดชัย และด.ช.ปรีชา เกิดกำแพง ส.อาสนจินดา สร้างบท วิสิทธิ์ แสนทวี ถ่ายภาพ ฉลอง ภัดีวิจิตร กำกับการแสดง รัตนาชัยฟิล์ม จัดจำหน่าย

 
กิ่งแก้ว (2513)

กิ่งแก้ว (2513/1970) มิตร-สุทิศา-โสภา ข้อความบนใบปิด อินทรวิจิตรภาพยนตร์ เสนอ ไม่ใช่ชาติ ไม่ใช่เชื้อ ถ้ามีความเอื้อเฟื้อ ก็เหมือนเนื้ออาตมา... ที่เป็นชาติที่เป็นเชื้อ ถ้าขาดความเอื้อเฟื้อ ก็เหมือนเสือที่อยู่ในป่า... ”กิ่งแก้ว” เกี่ยวก้อยกันมา จากป่าเถื่อนฟ้าจรดน้ำทะเล กิ่งแก้ว ของ “อรจิตต เพลงในระบบ 35 ม.ม. “3 เพลง”” มิตร ชัยบัญชา สุทิศา พัฒนุช โสภา สถาพร พร้อมด้วย ประจวบ ฤกษ์ยามดี, อดุลย์ ดุลยรัตน์, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, สุวิน สว่างรัตน์, ธัญญา ธัญญารักษ์, โขมพัสตร์ อรรถยา, มารศรี อิศรางกูร, ชฎาพร วชิปราณี, และ 2 นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง ชินกร ไกรลาศ, กังวานไพร ลูกเพชร ชาลี อินทรวิจิตร กำกับการแสดง ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, สมพงษ์ วงศ์รักไทย อำนวยการสร้าง ทินกร ทิพย์มาศ ถ่ายภาพ

 
เพลงรักแม่น้ำแคว (2513)
เพลงรักแม่น้ำแคว (2513/1970) ข้อความบนใบปิด สุริยเทพภาพยนตร์ โดย ไถง สุวรรณทัต ภูมิใจเสนอ เพลงรักแม่น้ำแคว THE SOUND OF RIVER KWAI 21 เพลงเอก 35 ม.ม.ซูเปอร์ซีเนมาสโคป สีอิสต์แมน เสียงในฟิล์ม สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ เมตตา รุ่งรัตน์ นำขบวนดาวลูกทุ่ง สังข์ทอง สีใส, ชินกร ไกรลาศ, พนม นพพร, สมานมิตร เกิดกำแพง, น้ำผึ้ง, ปทุมทิพย์, สรวง สันติ ฯลฯ และ เทิ่ง สติเฟื่อง, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, ท้วม ทรนง, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, จำรูญ หนวดจิ๋ม, เชาว์ แคล่วคล่อง, วิชิต ไวงาน, ถวัลย์ คีรีวัต, พิภพ ภู่ภิญโญ, ชาณีย์ ยอดชัย, พิศ, หม่อมชั้น พวงวัน ฯลฯ สมวงษ์ สุวรรณทัต อำนวยการสร้าง ภรณี สุวรรณทัต กำกับ อัศนีย์ สุวรรณทัต ถ่ายภาพ
ไอ้ยอดทอง (2513)

ไอ้ยอดทอง (2513/1970) ไอ้ยอดทอง เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2513 สร้างโดย เหมราชภาพยนตร์ โดยมี รุจน์ รณภพ (สุรินทร์ เจริญปุระ) เป็นผู้อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง ถ่ายภาพโดย สันทัด ศรีสัมพันธ์ ถ่ายภาพ 35 มม.โดย ปง อัศวินิกุล และจัดจำหน่ายโดย เสรีภาพยนตร์ ปราการฟิล์ม

ไทยใหญ่ (2513)

ไทยใหญ่ (2513/1970) ข้อความบนใบปิด กัญญามาลย์ภาพยนตร์ และ ดอกดิน ศิลปินของท่าน เสนอ... ไทยใหญ่ เป็นภาพยนตร์ชีวิตรักข้ามแดน แสนสนุก สุขใจ รบดุเดือด สะเทือนอารมณ์และยอดตลก ฮากันตลอด ดอกดิน สร้างเป็นเรื่องใหม่และแปลกไปกว่า ไทยน้อย... ไทยใหญ่ จากนิยายชีวิตรัก ของ ‘อิงอร’ นำโดย ยอดดาราคู่มหานิยม สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ และพรั่งพร้อมด้วย อดุลย์ ดุลยรัตน์, พัลลภ พรพิษณุ, แมน ธีระพล, สุวิน สว่างรัตน์, ชฎาพร วชิรปราณี, ชุมพร เทพพิทักษ์, ธัญญา ธัญญารักษ์, น้อย, เปี๊ยก, พงษ์ลดา พิมลพรรณ, กันทิมา ดาราพันธ์ และดาวยวนใจ จอมใจ จรินทร์ ดารารับเชิญ ผกายพฤกษ์ สุขเฉลิม เมตตา รุ่งรัตน์ หน้าขำคู่ดอกดิน กัญญามาลย์ ตัวดำๆ ฟังเพลงเอกระบบ 35 ม.ม.ชุดดาราลูกทุ่ง... ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, สุริยา แสวงธรรม, ขวัญจิตร ศรีประจันต์, กำแพง พิมพ์ใจ, พนาไพร ลูกราชบุรี, ไพร เจริญ และสมศรี ม่วงศรเขียว บรรจง กัญญามาลย์ อำนวยการสร้าง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ ดอกดิน กัญญามาลย์ กำกับการแสดง กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย

 
ชาติเหมราช (2513)
ชาติเหมราช (2513/1970) ข้อความบนใบปิด จากนวนิยายยอดเด็ดของ เพชร สถาบัน มาเป็นภาพยนตร์ยิ่งใหญ่ ชาติเหมราช ฟังเพลงเอกในระบบ 35 ม.ม.เสียงในฟิล์ม นำโดย สมบัติ เมทะนี พบ อรัญญา นามวงษ์ ชัชฎาภรณ์ รักษนาเวศ ร่วมด้วย ประจวบ ฤกษ์ยามดี, อดุลย์ ดุลยรัตน์, รุจน์ รณภพ, อนุชา รัตนมาลย์, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, สิงห์ มิลินทราศัย, ชุมพร เทพพิทักษ์, โยธิน เทวราช, สมควร กระจ่างศาสตร์, สุเมธ, สันทัด, หยาดรุ้ง ระพี ขอฝากฝังดาราจอแก้ว ศิริวรรณ ทองแสง วินิจ ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ สุรินทร์ เจริญปุระ- เอนก ชิตานุรัตน์ สร้าง รุจน์ รณภพ กำกับการแสดง
เมืองแม่หม้าย (2512)
เมืองแม่หม้าย (2512/1969) ข้อความบนใบปิด ภาพยนตร์ไทยไครมิตร เสนอ ภาพยนตร์รัก ตลก ครื้นเครง 35 ม.ม.ซีเนมาสโคป สีอีสต์แมน 10 เพลงเอก เมืองแม่หม้าย ของ มณเฑียรทอง โชคชนะ นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, เมตตา รุ่งรัตน์, รุจน์ รณภพ, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ล้อต๊อก, สมพงษ์ พงษ์มิตร, สีเทา และดาวโป๊ครบชุด โสภณ เจนพานิชย์ ถ่ายภาพ แท้ ประกาศวุฒิสาร กำกับการแสดง พันทิพา ประกาศวุฒิสาร-เภา ประสาทวิทย์ อำนวยการสร้าง เสรีภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
สวรรค์วันเพ็ญ (2512)
สวรรค์วันเพ็ญ (2512/1969) นายพร (สมจินต์ ธรรมฑัต) รับใคร่ชอบพอกับเดือน (ปริม ประภาพร) แต่นายสิน (แมน ธีระพล) ลูกกำนันมาติดพันเดือนด้วย นายพรกับนายสินจึงท้าดวลกันอย่างลูกผู้ชาย ถ้าใครชนะก็จะได้เดือนไปเป็นเมีย ผลการต่อสู้นั้น นายพรเป็นฝ่ายชนะ จึงได้เดือนเป็นเมีย แต่นายสินกลับตระบัดสัตย์โดยหาเรื่องกลั่นแกล้งว่า นายพรเป็นโจรปล้นควายกระทั่งนายพรต้องโทษจำคุก ด้วยความเคียดแค้นที่ถูกนายสินกลั่นแกล้ง นายพรจึงแหกคุกออกมาและฆ่านายสินกับเดือนตายเพราะจับได้ว่า เดือนเมียรักเป็นชู้กับนายสิน พอฆ่าเสร็จ นายพรก็เผากระท่อมทิ้ง แต่ได้ยินเสียงเด็กร้องไห้ ก็เลยอุ้มเด็กติดมือมา เด็กน้อยๆ คนนี้ก็คือลูกสาวของนายพรที่เกิดจากเดือนนั่นเอง แม้นายพรจะเกลียดเดือน แต่ก็ฆ่าเด็กน้อยคนนี้ไม่ได้ นายพรซึ่งตอนนี้ก็กลายเป็นเสือพรไปจริงๆ แล้ว คงไม่มีปัญญาจะเลี้ยงดูลูกน้อยได้ จึงพายเรือนำลูกน้อยไปฝากพี่แพร (สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย) พี่สาวให้เลี้ยงดูแทน คืนนั้นเป็นคืนพระจันทร์เต็มดวง นายพรจึงตั้งชื่อลูกน้อยนี้ว่า วันเพ็ญ (เพชรา เชาวราษฎร์) นายพรกำชับพี่แพรไม่ให้บอกว่าใครเป็นพ่อเด็กและให้พี่แพรรับสมอ้างเป็นแม่ของวันเพ็ญด้วยเลย จากนั้นนายพรก็ไปเสือพรตามโชคชะตาต่อไป แม่แพรก็ต้องหาว่าฆ่านายหวิงตาย ก็ยิ่งทำให้อาการป่วยกำเริบอีกจนแม่แพรเสียชีวิต วันเพ็ญตัดสินใจจะออกไปบ้านดอนกระสวยเพื่อไปตามหาพ่อ จึงเอาห่อเถ้ากระดูกแม่แพรไปซ่อนไว้ข้างๆ องค์พระพูดได้ จากนั้นวันเพ็ญกับหว่างก็มุ่งไปสถานีรถไฟ ระหว่างที่รถไฟยังไม่ออก หว่างก็ลงไปขายไม้กวาดก่อน ก็เลยกลับขึ้นรถไฟไม่ทัน วันเพ็ญเข้ากรุงเทพฯเพื่อติดตามหาพ่อโดยมีรูปถ่ายของพ่อเพียงใบเดียว ก็เผอิญเดินไปพบบ้านหลังหนึ่งกำลังมีงานเลี้ยงใหญ่โต ด้วยความหิววันเพ็ญจึงไปเกาะรั้วมองถาดข้าวปลาอาหารโดยไม่รู้ว่ามีสายตาของสารวัตรสดุดี (มิตร ชัยบัญชา) จ้องมองอยู่เพราะคิดว่าวันเพ็ญเป็นสายลับมาดูลาดเลาก่อนจะเข้าปล้นบ้าน ต่อมาเมื่อสารวัตรสดุดีจับผู้ร้ายตัวจริงได้ จึงรู้ว่าวันเพ็ญไม่ใช่คนร้าย จะปล่อยตัววันเพ็ญไป วันเพ็ญก็ไม่ยอมไปเพราะไม่รู้ว่าจะไปไหน สารวัตรสดุดีจึงพาวันเพ็ญไปอยู่บ้านและให้สมอ้างหลอกคุณหญิงแม่ (มาลี เวชประเสริฐ) ว่าวันเพ็ญเป็นภรรยาและมีลูกด้วยกัน คุณหญิงแม่จะได้ไม่บังคับให้แต่งงานกับสร้อยระย้า (วาสนา ชลากร) แต่ความก็แตกก่อนเพราะสุทธินี (ศรีนวล สมบัติเจริญ) น้องสาวสารวัตรไม่รู้แผนมาก่อนจึงบอกคุณหญิงแม่ว่าวันเพ็ญไม่ใช่ภรรยาพี่ชาย วันเพ็ญอยู่บ้านสารวัตรสดุดีก็มีนายอ่อน (ชรินทร์ นันทนาคร) เป็นเพื่อน ส่วนความรักของวันเพ็ญกับสารวัตรก็ก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ สารวัตรรับปากจะช่วยตามหาพ่อให้วันเพ็ญ ต่อมาวันเพ็ญเห็นสารวัตรนอนห้องเดียวกับสร้อยระย้า ก็น้อยใจและแอบหนีออกจากบ้าน โดยไม่รู้ว่านั่นคือ แผนลวงที่สร้อยระย้าสร้างขึ้นเพราะอิจฉาวันเพ็ญ
ดิน น้ำ ลม ไฟ (2512)

ดิน น้ำ ลม ไฟ (2512/1969) ข้อความบนใบปิด วัฒนภาพยนตร์ ไพรัช กสิวัฒน์ สร้างความยิ่งใหญ่อีกครั้งให้เหนือกว่า น้อยไจยา จุฬาตรีคูณ สันกำแพง ครั้งแรกที่จ้าวสังเวียนในอดีตโคจรมาพบกันให้เกรียงไกร คือ... ชูชัย พระขรรค์ชัย (เทพบุตรสังเวียน) สุรชัย ลูกสุรินทร์ (เสือสำอางค์) ดิน น้ำ ลม ไฟ บทประพันธ์ของ อรชร สมบัติ เมทะนี นำ อรัญญา นามวงษ์ สุทิศา พัฒนุช พบ ครรชิต ขวัญประชา ร่วมด้วย รุจน์ รณภพ, สุวิน สว่างรัตน์, ไสล พูนชัย, รสสุคนธ์ กสิวัฒน์, สีเทา, ธัญญา ธัญญารักษ์, ชาย, เลิศ, พิภพ ภู่ภิญโญ, สมพงษ์ พงษ์มิตร และ ล้อต๊อก ขอแนะนำสองดาวรุ่งดวงใหม่ จอมใจ จรินทร์ โขมพัสตร์ อรรถยา ปรีชา ทรัพย์พระวงศ์-สมาน ทองทรัพย์สิน-ปง อัศวินิกุล ถ่ายภาพ ไพรัช กสิวัฒน์ กำกับการแสดง รสสุคนธ์ กสิวัฒน์ อำนวยการสร้าง ฟัง 8 เพลงเอก 35 ม.ม.ซีเนมาสโคป สีอิสต์แมน นวฤทธิ์ฟิล์ม จัดจำหน่าย 

 
ไทยน้อย (2512)
ไทยน้อย (2512/1969) ข้อความบนใบปิด กัญญามาลย์ภาพยนตร์ โดย ดอกดิน ศิลปินของท่าน เสนอ วงการภาพยนตร์ก้าวหน้า ดาราหมุนเวียน สมบัติ-เพชรา มาพบกันเป็นเรื่องแรก ของ กัญญามาลย์ภาพยนตร์ ไทยน้อย บทประพันธ์ ของ อิงอร ดอกดิน กัญญามาลย์ กำกับการแสดง สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ ชนะ ศรีอุบล, อดุลย์ ดุลยรัตน์, พัลลภ พรพิษณุ, ชฎาพร วชิรปราณี, สุวิน สว่างรัตน์, ธัญญา ธัญญารักษ์, มารศรี อิศรางกูร, ชาณีย์ ยอดชัย, ชาย, น้อย, เทียมจันทร์, จุมพล, สมชาย สามิภักดิ์ อรสา ตัวขาวๆ ดอกดิน ตัวดำๆ และมิสเวอร์จิเนียร์ ยีน บรรจง กัญญามาลย์ อำนวยการสร้าง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ ราชาเพลงลูกทุ่ง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ร้องเพลง ไทยน้อย เพลงเอกครั้งแรกในจอเงิน กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
สอยดาว สาวเดือน (2512) สอยดาวสาวเดือน
สอยดาวสาวเดือน (2512/1969) ลานเท อยุธยา สมิง (ชนะ/-/รังสิโรจน์) เด็กหนุ่มแห่งบ้านลานเทยิงคนตายเพื่อชำระแค้นให้กับพ่อแม่ตัวเองที่ถูกฆ่าตาย สมิงได้รับบาดเจ็บและหลบหนีเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้าน ผู้ใหญ่ธง (จำรูญ/-/เอกพัน) ศรีนวล (เพชรา/-/จีระนันท์) ลูกสาวเพียงคนเดียวของผู้ใหญ่ธง ที่เก่งการร้องลำตัดจนมีชื่อเสียงลือเลื่อง จนได้รับฉายาว่า เจ้าแม่ลานเท ก็เป็นที่หมายปองของสมิง แม้ศรีนวลจะเห็นว่าสมิงเป็นเพียงเพื่อนชายที่แสนดีก็ตาม เลอสรร หรือ คุณหนึ่ง (มิตร/-/ธนา) ลูกชายเพียงคนเดียวของท่านข้าหลวงเมืองอยุธยา เมื่อปิดเทอมได้เดินทางมาที่ลานเทเพื่อหาประสบการณ์ คุณหนึ่งได้พบเจอทั้งสมิงและศรีนวล คุณหนึ่งแอบรักกับศรีนวล จนกระทั่งทั้งคู่ลักลอบได้เสียกัน มีแต่เพียงผู้ใหญ่ธงและสมิงเท่านั้นที่รับรู้เรื่อง คุณหนึ่งสัญญาว่าเมื่อเรียนจบแล้ว จะกลับมาแต่งงานกับศรีนวล แต่ทว่า เมื่อกลับถึงกรุงเทพฯ คุณนาย แม่ของคุณหนึ่งกลับไม่ยินยอม พร้อมกับบีบบังคับให้คุณหนึ่งแต่งงานกับ สร้อยเพชร (ชฎาพร/-/อุษณีย์) ลูกสาวของเพื่อนสนิทตัวเอง ศรีนวลตั้งท้องลูกของเลอสรร จนคลอดออกมาเป็นผู้หญิงชื่อ สอยดาว (โสภา/-/อาภา) ขณะที่คุณหนึ่งก็มีลูกสาวกับสร้อยเพชร ชื่อ สาวเดือน (ขวัญตา/-/รัญดภา) 20 ปีผ่านไป เมื่อคุณหนึ่งกลายเป็นนายตำรวจใหญ่ คุณหนึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปลานเท เพื่อตามจับ สมิง ซึ่งหนีหมายจับและกลายเป็นโจรชื่อดัง และ ณ ที่นั่นเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีตจึงฟื้นคืนมา