ทางเปลี่ยว

ทางเปลี่ยว (2498/1955) ในวัย 6 ขวบ พ่อแม่ของ อัญชลี หย่าร้างกัน อัญชลีตามพ่อมาอยู่ไร่ที่นิคมเขื่อนเพชร จังหวัดเพชรบุรี โดยมีตุ๊กตาเก่าๆ เป็นของเล่นเอาไว้ดูต่างหน้าแม่ ไม่นานพ่อก็มีภรรยาใหม่ชื่อ อุสา เป็นแม่หม้ายลูกติด อุสาใช้งานอัญชลีประหนึ่งทาสและบังคับไม่ให้เรียนต่อ ทุกครั้งที่ทุกข์ใจอัญชลีจะเขียนจดหมายไปถึงแม่ ซึ่งแต่งงานใหม่กับ ดุสิต พ่อหม้ายลูกติด จนกระทั่งวันหนึ่งเธอถูกเฆี่ยนตีอย่างรุนแรงจึงขอร้องให้แม่มารับไปอยู่ด้วย อัญชลีจากพ่อมาพร้อมตุ๊กตาตัวเดิมซึ่งบัดนี้กลายเป็นของดูต่างหน้าพ่อ ดุสิตเป็นคนมีฐานะจึงเลี้ยงบุษบากับวิศิษฏ์ ลูกสาวและลูกชายให้เป็นคนฟุ้งเฟ้อ ดังนั้นอัญชลีจึงตกเป็นเป้าให้ทั้งสองถากถาง คืนหนึ่งที่หัวหิน แม่แนะนำให้อัญชลีรู้จักกับชาย ชวาลา นายวงดนตรีชื่อดัง ชายสนใจอัญชลีซึ่งเป็นหญิงเรียบร้อยไม่ฟุ้งเฟ้อเหมือนผู้หญิงทั่วไป อาชีพของชายต้องคอยปากหวานเอาใจผู้อื่น ทำให้มีหญิงสาวมากมายมาติดพัน แม้แต่แม่ของอัญชลีเอง จนเป็นเหตุให้แม่ลูกต้องตัดขาดกัน อัญชลีหนีไปพึ่งชาย แต่ชายห้ามไม่ให้เธอแสดงตัวเป็นภรรยาของเขาเด็ดขาด จนกระทั่งอัญชลีตั้งครรภ์ แฟนเพลงของชายรู้เข้าต่างแสดงความยินดี แต่ชายกลับปฏิเสธทำให้แฟนๆ ผิดหวังและเกลียดชายไปตามๆกัน ชายกล่าวหาว่าอัญชลีเป็นต้นเหตุ และหันเข้าหาเหล้ายาการพนัน อัญชลีพบตุ๊กตาคู่ชีวิตนึกอยากจะกลับไปหาพ่อที่ไร่ขึ้นมา แต่ขณะที่ยืนอยู่หน้าบ้าน มีชายคนหนึ่งมาถามหาอัญชลีและบอกให้เธอเซ็นรับเงินสดหมื่นบาท ซึ่งเป็นเงินที่พ่อมอบให้เธอก่อนเสียชีวิต อัญชลีเหม่อลอยเหมือนยืนอยู่บนทางเปลี่ยว

นักแสดงและทีมงาน

กํากับการแสดง

นักเขียน

หฤทัย

บทประพันธ์

เศวต ดำรงรัศม์

บทภาพยนตร์

โปรดักชั่น

สำเนา เศรษฐบุตร

อำนวยการสร้าง

ข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ : ทางเปลี่ยว
Name :
จัดจำหน่าย :
วันที่เข้าฉาย : 12 ตุลาคม 2498 (ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง)
เป็นคนแรกที่รีวิว “ทางเปลี่ยว”

ยังไม่มีรีวิว

ทางเปลี่ยว (2498)