พุ่มพวง (2554/2011) เมื่อเด็กผู้หญิงคนหนึ่งฝันอยากเป็นนักร้อง วินาทีแห่งการไข่วคว้าเพื่อความฝันอันยิ่งใหญ่ และการเดินทางของชีวิตจึงเริ่มต้นขึ้น ผึ้ง (พรพิมล เฟื่องฟุ้ง) เกิดและโตที่จังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยฐานะทางบ้านยากจน เรียนจบเพียงแค่ชั้นป.2 แต่มีความฝันอยากเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เธอจึงตัดสินใจเดินทางออกตามหาความฝัน ด้วยการมุ่งหน้าเข้ามาเผชิญโชคในเมืองกรุง ผึ้ง เริ่มต้นจากตำแหน่งหางเครื่องในวงดนตรีของ ครูไวพจน์ เพชรสุพรรณ (สมชาย สุขสวัสดิ์ชล) จนได้พบรักกับ ธีระพล แสนสุข (ณัฐวุฒิ สกิดใจ) นักดนตรีเป่าแซกโซโฟนในวง และทำให้ความฝันอยากเป็นนักร้องกลับฝันสลาย เพราะความรักของทั้งคู่เป็นตัวก่อเหตุให้โดนไล่ออกจากวงไวพจน์ ทั้งคู่ยอมอดทน ฝ่าฟันอุปสรรคต่อสู้กับชีวิตที่ต้องดิ้นรนเอาตัวรอดอย่างยากลำบาก จนเมื่อได้พบกับ ครูมนต์ เมืองเหนือ (วิทยา เจตะภัย) ผึ้ง ขอฝากตัวเป็นศิษย์ ครูมนต์ จึงตั้งชื่อใหม่ให้เป็น พุ่มพวง ดวงจันทร์ และปั้นเธอให้เป็นนักร้อง ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ เผชิญกับความผิดหวังเสียใจ การพรากจากของคนรัก หรือการเจ็บป่วย สิ่งเหล่านี้ใช่ว่าจะเป็นอุปสรรคทำให้เธอท้อถอยและถอดใจจากความฝัน แต่กลับกลายเป็นความน่าอัศจรรย์ในความเป็นอัจฉริยะของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ที่จดจำเนื้อเพลงได้มากกว่า 500 เพลง และเป็นนักร้องลูกทุ่งอันเป็นที่รักของคนไทยทุกระดับชั้น จนถูกยกย่องให้เป็น "ราชินีลูกทุ่ง" เพียงหนึ่งเดียวตลอดกาล
วิญญาณสุรพล (2512)
วิญญาณสุรพล (2512/1969) ข้อความบนใบปิด แม้ตัวเขาจากไป แต่วิญญาณเขายังอยู่ ดู วิญญาณสุรพล นำโดย วิน วิษณุรักษ์ สมชาย ศรีภูมิ ใจดาว บุษยา แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, อุไรวรรณ จันทร์ทิพย์, พุทธชาติ, พิณทิพย์, ขวัญ สุวรรณะ, ยรรค์ยง, ก๊กเฮง, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, เมืองเริง ปัทมินทร์, แอ๋, พิศ, พิภพ ภู่ภิญโญ, ประกอบ และ ขุนแผน ภุมมารักษ์, ถนอม นวลอนันต์ ศิวาพรฟิล์ม จัดจำหน่าย ตื่นเต้น!! เฮฮา!! ฟังเพลงสุรพล โศรยา อำนวยการสร้าง เกรียงศักดิ์ ฤกษ์ชนะ กำกับการแสดง สงคราม-กวี ถ่ายภาพ
สุรพลลูกพ่อ (2511)
สุรพลลูกพ่อ (2511/1968) เรื่องราวชีวิตจริงของราชาเพลงลูกทุ่ง "สุรพล สมบัติเจริญ" ผ่านมุมมองของบิดาของครูคือ "พ่อเปลื้อง สมบัติเจริญ" ตั้งแต่สุรพลเริ่มชีวิตการร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ ด้วยเอกลักษณ์ ลีลา รูปแบบเฉพาะตัว และความสามารถในการร้องและแต่งเพลงเอง รวมถึงการใช้เพลงจังหวะรำวงในเพลงที่เขาแต่ง ทำให้เพลงของเขามีความสนุกครึกครื้นและเป็นที่นิยมจนกลายเป็นราชาแห่งวงการเพลงลูกทุ่ง ก่อนที่สุรพลจะจบชีวิตอย่างน่าเศร้าด้วยเหตุฆาตกรรมที่ใครก็คาดไม่ถึง
16 ปีแห่งความหลัง (2511)

16 ปีแห่งความหลัง (2511/1968) ลำดวล สมบัติเจริญ กับ การะเวก เพื่อนสนิท เดินทางจากสุพรรณมากรุงเทพฯ หา จ่าโทแต้ม นักดนตรีในกองดุริยางค์ทหารอากาศ เพื่อหางานทำ ที่บ้านของจ่าโทแต้ม มี จ่าโทโปร่ง เพื่อนสนิทอีกคนอาศัยอยู่ด้วย จ่าโทแต้มให้การต้อนรับลำดวลกับการะเวกอย่างดี และเมื่อทราบว่าลำดวลได้ลาออกจากการเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ และลาออกจากการเป็นครูที่สุพรรณแล้ว ก็หาทางช่วยเหลือ ได้พาลำดวลไปพบ ร.ท.ปราโมทย์ นายของตนเพื่อฝากเข้าทำงานในกองทัพอากาศ

ร.ท.ปราโมทย์ ได้ตั้งค่ายมวยชื่อ ค่ายเลือดชาวฟ้า ได้รับลำดวลกับการะเวกเข้าทำงาน โดยบรรจุ ลำดวล เข้าทำงานในฝ่ายโยธา กองทัพอากาศ พร้อมกับแนะนำให้ลำดวลหัดมวยเพื่อหาลำไพ่พิเศษ จ่าตรีอ่อน ผู้ควบคุมดูแลนักมวยในค่าย ชอบพอสนิทสนมกับลำดวลและการะเวกเป็นพิเศษ สาเหตุเพราะทั้งสามคนชอบรำวง เมื่อมีคณะรำวงมาตั้งใกล้ๆ ค่ายอ่อนก็เป็นตัวการทำให้ลำดวลกับการะเวกได้หนีไปรำวงด้วยทุกคืน

จิ๋มลิ้ม หัวหน้าคณะรำวงชอบพอกับอ่อน เมื่อลำดวลได้แต่งเพลงรำวงไว้และอยากที่จะแสดงผลงานของตัว ก็ได้รับการสนับสนุนจากจิ๋มลิ้มเป็นอย่างดี เพลงชูชกสองกุมาร ของลำดวลได้รับกาารต้อนรับที่ดีจากประชาชนที่มารำวง ในคืนหนึ่ง ร.ท.ปราโมทย์ มาพบทั้งสามเข้า ทำให้ทั้งสามคนตกใจมาก แต่ ร.ท.ปราโมทย์ กลับแสดงความยินดีกับผลงานเพลงของลำดวล และย้ายลำดวลเข้าสู่กองดุริยางค์ทหารอากาศ

ที่กองดุริยางค์ทหารอากาศ ในระยะแรกลำดวลทำงานอยู่ฝ่ายการเงิน ได้รับยศเป็นจ่าตรี การะเวกและจ่าอ่อนก็ย้ายตามมาด้วย เนื่องจากบ้านพักเต็มทั้งสามคนจึงต้องมาขออาศัยที่บ้านพักของ จ่าแต้ม ที่บ้านของจ่าแต้มทั้งสามคนได้รับการขูดรีด และกดขี่จาก "นางแหว" เมียจ่าแต้มที่มีนิสัยเห็นแก่ตัวและปากร้ายเป็นที่สุด ทั้งสามคนได้หาทางแก้เผ็ดยายแหวทุกครั้ง ที่กองดุริยางคืทหารอากาศลำดวลได้รับความสนับสนุนจากนักร้องนักแต่งเพลงรุ่นพี่ ทำให้มีโอกาสแสดงผลงานที่แต่งและร้อง จนประชาชนให้ความนิยม และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สุรพล สมบัติเจริญ

กำลังแสดงผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ