เทพบุตร 12 คม (2507)
เทพบุตร 12 คม (2507/1964) ข้อความบนใบปิด ฉัตรชัยภาพยนตร์ เสนอผลงานสร้างที่เต็มเปี่ยมด้วยรสสนุก ทุกชีวิตใต้แผ่นฟ้า กลางคืนของสังคมกรุงเทพฯ ต่างอยู่กันอย่าง เย้ยฟ้า...ท้ามนุษย์ เพราะเป็น... เทพบุตร 12 คม RN 6 บทประพันธ์ สีสวยสดรุ้งสวรรค์ จากขบวนดาราที่เหมาะสมต่อบทบาท สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ แสน สุรศักดิ์ ปริม ประภาพร และภูมิใจที่จะนำ...ชาย เมืองสิงห์ มาสู่จอครั้งแรก ด้วยบทและเสียงแปลก พร้อมด้วย ถวัลย์ คีรีวัต, ชาณีห์ ยอดชัย, ปรียา รุ่งเรือง, วิน วิษณุรักษ์, แววตา อาษาสุข, ไกร ครรชิต, สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช, ปิ่นนเรศ, บังเละ, แคหลอ ฯลฯ ขอแนะนำ เมศร์ แมนสรวง ทรชนหุ่นสำอางค์ กับ ทรวงทิพย์ พิไลพรรณ สาวทรงประโลมใจ พิศวาส ร้อนเร่า เผาใจ ต่อสู้โลดโผนแนวใหม่ สนุกไม่มีอะไรเทียบ ปานเทพ กุยโกมุท-โสภณ เจนพานิช ถ่ายภาพ อุไร ศิริสมบัติ สร้างฉาก วรุณ ฉัตรกุล ณ อยุธยา กำกับการแสดง พาณี ฉัตรกุล ณ อยุธยา อำนวยการสร้าง เอ.วันฟิล์ม จัดจำหน่าย
น้ำตาลไม่หวาน (2507)
น้ำตาลไม่หวาน (2507/1964) มนัส ทายาทมหาเศรษฐีชาวจีนเจ้าของบริษัทเกศาเจริญ ผู้ผลิตยาปลูกผมยาผุง ที่นำสูตรมาจากอินเดีย ได้แต่เที่ยวสำมะเลเทเมาไปวันๆ จนฝ่าย เจ้าคุณเจริญเกศา ผู้เป็นพ่อจึงคิดให้ลูกชายตัวดีแต่งงานกับ น้ำตาล ลูกสาวคนเดียวของเพื่อนชาวอินเดียเจ้าของสูตรยาผุง มนัสยินยอมแต่งงานกับ น้ำตาล เพื่อหวังมรดกเท่านั้น และทำทุกวิถีทางเพื่อให้เธอขอหย่ากับตน จะได้แต่งงานใหม่กับ วัชรี หญิงสาวที่เขารักสุดหัวใจแทน
พรายดำ (2507)
พรายดำ (2507/1964) ข้อความบนใบปิด พันคำภาพยนตร์ เสนอ ชอบหนังบู๊ ดู”ลือชัย” ชอบหนังไทยดู พรายดำ ของ ส.เนาวราช พฤติการณ์ตอนเยี่ยมสุดของ...เหยี่ยวราตรี ลือชัย นฤนาท เพชรา เชาวราษฎร์ พบกันเป็นครั้งแรก...ครั้งเดียว... ร่วมด้วย ชนะ ศรีอุบล, วิชิต ไวงาน, ปรียา รุ่งเรือง, บุษกร สาครรัตน์, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, พันคำ, ชาลี อินทรวิจิตร, เสน่ห์ โกมารชุน, เชาว์ แคล่วคล่อง, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ชาณีย์ ยอดชัย, พูลสวัสดิ์ ธีมากร พันคำ สร้างและกำกับการแสดง ปรีชา ทรัพย์พระวงศ์ ถ่ายภาพ บริษัทสหการภาพยนตร์ไทย จัดจำหน่าย
Placeholder
Placeholder
ละอองดาว (2507)
ละอองดาว (2507/1964) กรกฎ เบญจรงค์ (สมบัติ เมทะนี) เดินทางกลับจากอเมริกาทันที หลังจากได้รับข่าวการเสียชีวิตของ ดร.ไกร (พันคำ) ผู้เป็นบิดา ขุนอรรถวาที ทนายประจำตระกูลได้แจ้งให้ทราบถึงเงื่อนไขในพินัยกรรมว่า เขาจะได้รับมรดกก็ต่อเมื่อได้แต่งงานกับ ละอองดาว (พิศมัย วิไลศักดิ์) หญิงสาวที่มีศักดิ์เป็นน้องเลี้ยงที่ ดร.ไกร รับมาเลี้ยงไว้จากเพื่อนสนิทคนหนึ่ง กรกฎเคยเจอกับละอองดาวไม่กี่วันก่อนที่เขาจะถูกส่งไปเรียนที่อเมริกาความทรงจำสุดท้ายของเขาที่มีต่อละอองดาวคือ เด็กหญิงตัวมอมแมม ขี้มูกเกรอะกรัง ตัวกลมเหมือนไหกระเทียม หน้าตาเหมือนเด็กเป็นโรค กรกฎรับไม่ได้กับเงื่อนไขในพินัยกรรม เพราะเขามี ผดาชไม (กิ่งดาว ดารณี) นักร้องสาวสังคมจัดเป็นแฟนอยู่แล้ว เขาคิดว่าละอองดาวหวังสมบัติและประจบพ่อของเขาจนหลงเป็นเหตุให้ทำพินัยกรรมประหลาดนี้ขึ้น พินัยกรรมระบุว่าถ้าครบ 1 ปีละอองดาวเป็นฝ่ายตัดสินใจปฏิเสธการแต่งงานกับเขา หรือแต่งงานกับคนอื่นไปก่อนเงื่อนไขนั้นก็จะเป็นโมฆะ กรกฎก็จะได้รับมรดกทั้งหมด เขาจึงจ้าง ธัชชัย (ประจวบ ฤกษ์ยามดี) เพื่อนสนิทซึ่งเป็นทนายหนุ่มมาจีบละอองดาว เพื่อตัวเขาจะได้แต่งงานกับผดาชไมสมความปรารถนา แต่เมื่อกรกฎได้เจอกับละอองดาวเขาก็ตะลึงไปกับความสวยของเธอ แต่ด้วยอคติจึงเข้าไปต่อว่าเธอว่าโลภมาก อยากได้สมบัติ และเขาจะไม่ยอมแต่งงานกับเธอ ละอองดาวแปลกใจเพราะไม่รู้เรื่องพินัยกรรมมาก่อน แต่เธอก็พร้อมจะหลีกทางให้ถ้าเขาไม่ต้องการ ธัชชัยมาทำความรู้จักกับละอองดาวแต่กรกฎกลับแสดงความหึงหวง ละอองดาวทำเย็นชากับเขาก็ยิ่งทำให้เขาหมั่นไส้จนมีการปะทะคารมกันอยู่บ่อยๆ ละอองดาวไปสมัครงานที่วังนภดลของ พระองค์เจ้าพราวนภางค์ นภดล (กัณทรีย์ นาคประภา) อดีตราชินีอาณาจักรคีรีรัฐ หลังจากพระสวามีสิ้นพระชนม์จึงย้ายมาอยู่ที่เมืองไทย เจ้าพราวนภางค์ถูกชะตากับละอองดาวเป็นอย่างมากจึงรับเข้าทำงาน เจ้าคำอินทร์ (รุจน์ รณภพ) ผู้มีศักดิ์เป็นหลานก็เกิดถูกชะตาเธอเหมือนกัน จึงอาสาไปรับไปส่งยิ่งทำให้กรกฎไม่พอใจ ที่วังนภดลละอองดาวได้เห็นภาพวาดชายหนุ่มคนหนึ่ง ก็รู้สึกผูกพันอย่างประหลาด ต่อมาจึงได้รู้ว่าเขาคือ จักราชัย โอรสของเจ้าพราวนภางค์ ที่ถูกถอดยศเพราะมาหลงรักหญิงคนไทย ก่อนจะไปใช้ชีวิตเป็นกบฏใต้ดินที่ฝรั่งเศสและเสียชีวิตที่นั่น ขณะที่มีลูกสาวคนหนึ่งจักราชัยได้ฝากให้เพื่อนในเมืองไทยนำมาเลี้ยงดู ท่านชายสดายุ (อดุลย์ ดุลยรัตน์) หลานชายของเจ้าพราวนภางค์กลับจากฝรั่งเศส และเคยรู้จักกับละอองดาวมาตั้งแต่อยู่ฝรั่งเศส จึงเชิญเธอไปร่วมงานบอลล์วันเกิดที่วังมยุรฤทธิ์ของท่านและในงานเลี้ยงถ้าหากหญิงคนไหนได้ออกเต้นรำกับท่านชายเป็นคนแรก คนนั้นก็คือคู่ครองของท่าน ผดาชไมหวังเกาะคนมีฐานะและชื่อเสียง เธอจึงหว่านเสน่ห์ท่านชายตลอดเวลา โดยไม่สนใจสายตาของกรกฎแม้แต่น้อย กรกฎเองก็คอยจับตาดูละอองดาว แต่เมื่อเห็นท่านชายสนใจเธอเขาก็รู้สึกดูด้อยค่าไปทันที ในงานเลี้ยงของท่านชายกรกฎดื่มเหล้าจัดย้อมใจอย่างประชดชีวิต ผดาชไมเริ่มรู้ว่าละอองดาวเป็นคู่แข่งจึงตามไประรานให้ละอองดาวเลิกยุ่งกับกรกฎและทวงหนังสือปฏิเสธการแต่ง ละอองดาวจึงเขียนหนังสือยกเลิกสัญญาการแต่งงานและนำไปให้กรกฎ แต่เขากลับจุดไฟเผาสัญญานั้นเป็นจุณ ละอองดาวมีหนุ่มๆ ทั้งธัชชัย, เจ้าคำอินทร์ และท่านชายสดายุ มาใกล้ชิดทำให้กรกฎรู้สึกหึงหวง แต่ก็แสดงออกอะไรมากไม่ได้จึงได้แต่ตัดพ้อกับละอองดาวอย่างน้อยใจ ผดาชไมหาทางกลั่นแกล้งละอองดาวแต่ก็ทำให้เธอกับกรกฎได้อยู่กันตามลำพังบ่อยๆ กรกฎเศร้าหนักถึงกับกินเหล้าจัดจนกลายเป็นคนติดเหล้า ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ละอองดาวต้องมาคอยเฝ้าและสั่งคนในบ้านให้นำเหล้าไปซ่อนให้หมด แต่กรกฎก็อาละวาดหาเหล้ามากินจนได้ ผดาชไมแอบไปควงคู่กับพ่อเลี้ยงเชียงใหม่หวังเกาะคนรวย กรกฎจับได้คาหนังคาเขา และยังมีรูปเธอกับพ่อเลี้ยงประจานหราในหนังสือพิมพ์แต่เธอก็ไม่ยอมรับผิด ผดาชไมโกรธละอองดาวมากจึงจ่างมือปืนยิงปืนละอองดาวจนเธอได้รับบาดเจ็บ สุดท้ายผดาชไมก็ถูกเมียหลวงของพ่อเลี้ยงตามมาเล่นงานสาดน้ำกรดใส่หน้าจนเสียโฉมไป ดร.ไกรเขียนจดหมายทิ้งไว้ก่อนตาย พร้อมด้วยสร้อยล็อกเกตฝากไว้ที่ท่านขุนอรรถฯ บอกว่าเมื่อละอองดาวอายุครบ 25 ปีเมื่อไหร่ให้นำของสองสิ่งนี้มาให้เธอ กรกฎนำของนั้นมาให้ละอองดาวที่วังนภดล เจ้าพราวนภางค์เป็นคนเปิดอ่านจึงได้รู้ว่าละอองดาวเป็นหลานของท่านที่ตามหามานาน 25 ปี กรกฎเห็นว่าละอองดาวเป็นหลานของเจ้าผู้สูงศักดิ์ เขารู้ทันทีว่าฐานะของตัวเองห่างไกลกันนักจึงเดินคอตกกลับมาที่บ้าน ช่วงเวลานั้นทั้งกรกฎและละอองดาวพยายามทำตัวห่างเหินกันเพื่อตัดความสัมพันธ์ทางใจ สุดท้ายกรกฎก็ตัดสินใจเขียนจดหมายยกสมบัติทั้งหมดให้กับสาธารณกุศลและคิดออกบวช ส่วนละอองดาวได้รับฟังคำตักเตือนของท่านชายสดายุที่รู้ว่าเธอหลงรักกรกฎ แต่พยายามปิดซ่อนความรู้สึก ให้เธอทำตามที่หัวใจต้องการละอองดาวได้คิดจึงรีบไปหากรกฎที่บ้าน กลับพบจดหมายที่เขาเขียนทิ้งไว้และเดินทางไปบวชแล้ว เธอจึงรีบตามไปง้อและปรับความเข้าใจกัน
เก้ามหากาฬ (2507)
เก้ามหากาฬ (2507/1964) เก้ามหากาฬ เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2507 พากย์สด เป็นผลงานกำกับของ ส.อาสนจินดา สร้างโดยวัชรภาพยนตร์ โดยมี วิมล ยิ้มละมัย เป็นผู้อำนวยการสร้าง ออกฉายในช่วงเทศกาลตรุษจีน ในรอบปฐมทัศน์มีราคาสูงถึง 25 บาท
ทับทิม (2507)
ทับทิม (2507/1964) ตลอดเวลาที่ แก้ว (ระวิน ชุ่มภาณี) ใช้ชีวิตร่วมกันสามีใหม่ คือผ่อน (สิงห์ มิลินทราศัย) นั้นไม่ได้เป็นที่พอใจของลูกชายหญิง 2 คน คือ เทียบ (ฤทธิ์ นฤบาล) และทับทิม น้องสาวผู้อาภัพ เหตุการณ์ภายในครอบครัวน้อยๆ นี้ทำให้เทียบสุดที่จะทนทานได้ จึงหนีออกจากบ้านไปทำให้ผ่อนได้ใจที่ไม่ใครกีดขวาง ตั้งหน้ารีดไถทารุณกับแก้วและทับทิม จนในที่สุดแก้วล้มเจ็บด้วยความตรมตรอมใจ ขณะเดียวกันทับทิมก็เสียเชิง เพลี่ยงพล้ำแก่ผ่อนผู้เป็นพ่อเลี้ยง ผ่อนยังเหน็บแนมให้แก้วได้รู้ความจริงนั้นเสียอีกด้วย อาการเจ็บของแก้วึงเพียบหนักขึ้นทุกทีจนสิ้นใจไปในที่สุด เมื่อเคว้งคว้างออกจากบ้านมาแล้ว เทียบมุ่งหน้าไปแสวงโชคที่ปักษ์ใต้ และได้เข้าทำงานในเหมืองแร่ของรัตนา (ศิรินทิพย์ ศิริวรรณ) เศรษฐีนีหม้าย จนในที่สุดคนทั้งสองได้อยู่ร่วมชีวิตกันด้วยความรักและเห็นอกเห็นใจกัน แล้วจึงเดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯ เทียบตรงมาบ้านเก่าเพื่อรับแม่และน้องสาวผู้อาภัพไปอุปการะ แต่เทียบได้ทราบข่าวร้ายว่าแม่ บังเกิดเกล้าได้สิ้นชีพเสียแล้ว ส่วนทับทิมก็หายไปอย่างปราศจากร่อยรอย เที่ยบจึงออกค้นหาและติดตามแต่ก็ไร้ผล จนกระทั่งวันหนึ่ง น่วม (สุลาลีวัลย์ สุวรรณฑัต) กลับจากตลาดได้พบกับทับทิมโดยบังเอิญ น่วมจึงกลับมาบอกเทียบผู้เป็นนายให้ทราบทันที เทียบจึงตรงไปรับตัวทับทิมพร้อมกับรัตนากลับมาอยู่ด้วย ความรักของคู่พี่น้องกลับเป็นมารความสุขของความอิจฉาริษยาจากรัตนา ทับทิมถูกกลั่นแกล้งและได้รับการทารุณจากรัตนา ต่าง ๆ นา ๆ โดยทับทิมไม่กล้าจะให้พี่ชายของเธอล่วงรู้ จนกระทั่งทับทิมล้มเจ็บลง นายแพทย์ได้ตรวจพบว่า ทับทิมมีครรภ์ได้ห้าเดือนเศษ ทำให้รัตนาเพิ่มความชิงชังมากขึ้น ท่ามกลางความวุ่นวายไม่สงบสุขในครอบครัว เทียบต้องเดินทางกลับไปยังเหมืองที่ภาคใต้โดยกระทันหัน เนื่องมาจากคนงานสไตร์ค รัตนาได้โอกาสจึงหาลู่ทางจากเพทุบายอันลึกซึ้งหวังพร่าชีวิตของทับทิมด้วยการสนับสนุนให้เทพ (เมืองเริง ปัทมินทร์) ข่มขืนใจเสีย แต่ทับทิมพยายามต่อสู้ขัดขืนเทพอย่างสุดความสามารถ รัตนาก็กลับซ้ำเติมด้วยการเฆี่ยนเมื่อเธอขัดขืน พอดีกับทื่เทียบเดินทางกับมาบ้านพบเหตุการณ์นี้ น่วมก็เล่าเรื่องความจริงให้ฟังอย่างละเอียด ทับทิมรู้ดีว่าเรื่องของเธอทำให้พี่ชายไม่สะบายใจจึงเล็ดลอดหนีออกจากบ้าน น่วมก็ติดตามไปด้วยความเป็นห่วง รัตนาเห็นว่า ความลับของตนเองจะปรากฎออกมา จึงโทรศัพท์เรียกเทพมาพบเดี๋ยวนั้นและได้ปะทะคารมย์กับเทพอย่างเผ็ดร้อน เทียบมีความเศร้าโศกในชะตากรรมของทับทิม น้องสาวผู้อาภัพเป็นอย่างยิ่งพยายามออกหาติดตามเรื่อยมา จนกระทั่งเวลาผ่านไปสามเดือนเศษ เทียบจึงทราบว่าทับทิมพร้อมด้วยน่วมหนีไปอยู่ที่แปดริ้ว เมื่อเทียบเดินทางไปพบกลับปรากฏว่า ทับทิมย้อนลงมากรุงเทพฯ เพื่อคลอดลูกที่โรงพยาบาลหญิง แต่ทั้งสองฝ่ายก็คลาดจากกันอีก ทับทิมและน่วมหอบลูกออกจากโรงพยาบาล พบกับเหตุการณ์อันไม่คาดฝันนั่นคือ รถยนตร์คันหนึ่งวิ่งเข้าขวางหน้า คนร้ายเอาปืนจี้พาตัวทับทิม น่ยวมและลูกแดง ๆ ขึ้นรถไปแล้ว เหล่าร้ายได้บังคับให้น่วมลงจากรถ โดยมีเจ้าผ่อนพาทัวทับทิมพร้อมด้วยลูกมุ่งตรงไปยังบ้านหลังหนึ่งซึ่งเป็นของเจ้าคำ เพื่อประกอบทารุรกรรมทับทิมให้สมแค้น น่วมได้ตรงไปหาเทียบและเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้เทียบรู้ เทียบจึงดั้นด้นตามไปพบบ้านที่ผ่อนใช้กักขังทับทิมนั้น
วันปืน (2507)
วันปืน (2507/1964) วันปืน เป็นภาพยนตร์ไทย ฟิล์ม 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2507 อำนวยการสร้างและกำกับการแสดงโดย อนุมาศ บุนนาค