โชติ แพร่พันธุ์ (ยาขอบ)

โชติ แพร่พันธุ์ เกิด 15 พฤษภาคม 2450 เสียชีวิต 5 เมษายน 2499 (48 ปี) เป็นนักเขียน, นักหนังสือพิมพ์ โชติ แพร่พันธุ์ เข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ได้รับการอุปถัมภ์จาก พระยาพิทักษ์ภูบาล อยู่ระยะหนึ่ง กระทั่งถึงยุคเศรษฐกิจตกต่ำ โชติต้องกลับมาเร่ร่อนอีกครั้งหนึ่ง จนมีโอกาสได้เข้าสู่วงการหนังสือพิมพ์ เริ่มจากสยามรีวิว และธงไทย ในปี 2472 กุหลาบ สายประดิษฐ์ จัดตั้งคณะสุภาพบุรุษ ออกหนังสือสุภาพบุรุษ รายปักษ์ คราวหนึ่ง อบ ไชยวสุ ซึ่งเป็นนักเขียนตลกประจำฉบับ ส่งต้นฉบับไม่ทัน กุหลาบ จึงขอให้โชติเขียนแทน โดยตั้งนามปากกาให้ว่า ยาขอบ เลียนแบบจากนักเขียนเรื่องตลกชาวอังกฤษ ชื่อ เจ.ดับบลิว. ยาค็อบ ทำให้เกิดงานประพันธ์ชิ้นแรกในนาม ยาขอบ ชื่อ จดหมายเจ้าแก้ว ในปี2474 โชติ แพร่พันธุ์ ได้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สุริยารายวัน และเริ่มเขียนนิยายเรื่อง ยอดขุนพล แต่หนังสือพิมพ์สุริยามีอายุไม่ยืน เมื่อกุหลาบ สายประดิษฐ์ ไปทำหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ในปี 2475 โชติจึงเขียนเรื่อง ยอดขุนพล ต่อ โดยมาลัย ชูพินิจ เปลี่ยนชื่อให้ใหม่เป็น ผู้ชนะสิบทิศ โดยผู้ชนะสิบทิศเขียนมาจากพงศาวดารที่โชติมีโอกาสได้อ่านเพียง 8 บรรทัดเท่านั้น แต่ความเป็นอัจฉริยะทางวรรณกรรมกลับถ่ายทอดได้อย่างหลากอรรถรส มากถึง 8 เล่ม มีบุตรชายคนเดียวคือ นายมานะ แพร่พันธุ์ (นักเขียน, นักหนังสือพิมพ์ผู้ทรงคุณวุฒิของเมืองไทย) โชติ แพร่พันธุ์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2499 ขณะอายุ 48 ปี ด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง และเบาหวาน นามปากกา กฤษณา – ใช้เขียนเรื่องสั้น มารหัวใจ เพียงเรื่องเดียว ยาขอบ – ใช้เขียนเรื่องตลกหรรษาในยุคต้นๆ (เคยสะกดเป็น ยาคอบ ด้วยเข้าใจว่าคงเปลี่ยนเป็น ยาขอบ เพื่อให้อ่านดูเป็นไทยๆ) โชติ แพร่พันธุ์ – ใช้เขียนประเภทเรื่องสั้นในยุคต้นๆ ช.ช้าง – ใช้เขียนบทความลงในนิตยสารเสนาสาร กรทอง – ใช้เขียนความเรียงเรื่อง ลมย่อมเลือกทางพัดได้เอง เพียงเรื่องเดียว

นักเขียน

2481

ถ่านไฟเก่า

- บทประพันธ์
2498

ยมนาเวศน์

- บทประพันธ์
2500

ถ่านไฟเก่า

- บทประพันธ์

นักเขียน

2523

ผู้ชนะสิบทิศ

- บทประพันธ์
2532

ผู้ชนะสิบทิศ

- บทประพันธ์
2556

ผู้ชนะสิบทิศ

- บทประพันธ์
2558

เพื่อน-แพง

- บทประพันธ์