มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา

มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา
เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2463
(แต่ข้อมูลโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ระบุเกิดเมื่อ 2 มกราคม 2465 ที่มณฑลปราจีนบุรี บิดาชื่อผัน หินลาด มารดาชื่อลม่อม หินลาด เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงจากการเป็นดาราตลกจำอวดขณะอายุ 17 ปี ร่วมกับอบ บุญติด, ดอกดิน กัญญามาลย์, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม และ สมควร กระจ่างศาสตร์ ในยุคละครเวทีสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาสมรสกับหม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร และได้ทำงานเป็นนักพากย์ภาพยนตร์ในชื่อ “รุจิรา – มารศรี” เป็นคู่นักพากย์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของผู้ชมภาพยนตร์มายาวนานร่วมครึ่งศตวรรษ ชีวิตครอบครัว มีบุตร-ธิดาสามคน และอยู่ในวงการบันเทิง ได้แก่
อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา (เกิด 18 มกราคม 2485)
จีรศักดิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (เกิด 26 มกราคม 2489; ถึงแก่กรรมหลัง 2548)
จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา (เกิด 10 พฤษภาคม 2500)

สำหรับละครเวทีที่สร้างชื่อให้กับ มารศรี มากที่สุดคือ ละครเวทีเรื่อง “วนิดา” (2486) โดยเป็นนักแสดงหญิงคนแรกที่รับบทเป็น “วนิดา วงศ์วิบูลย์” หญิงสาวที่ถูกบิดาสั่งจับแต่งงานกับ พันตรีประจักษ์ มหศักดิ์ นายทหารม้าที่ต้องมารับเคราะห์กรรมแทนน้องชาย ที่ติดหนี้กู้เงินจากบิดาของวนิดา จนต้องเกือบถูกฟ้องล้มละลาย ชีวิตของสองหนุ่มสาวต้องตกอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก โดยเฉพาะฝ่ายชายที่มีคนรักและมารดาที่คอยหวงแหนดุจจงอางหวงไข่ ดีว่าหญิงสาวมีกำลังใจที่เข้มแข็งในการพยายามหาข้อเท็จจริง เพื่อลบล้างมลทินย่าของเธอ คือ “คุณหญิงมณฑา” ที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีว่าคบชู้ จนต้องระเห็จออกจากบ้านมหศักดิ์ โดยมีประจักษณ์คอยช่วยเหลือด้วยใจยุติธรรมเป็นที่ตั้ง เมื่อละครเวทีได้รับความนิยมลดลง จึงได้ผันตัวจากนักแสดงละครเวทีเป็นนักแสดงในภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ในเวลาต่อมา โดยเป็นทั้งนักแสดงนำ นางเอก นางร้าย และนักแสดงสมทบ

ผลงานการแสดง
มารศรีมีผลงานการแสดงทั้งแนวชีวิตและแนวชวนหัว กับงานพากย์ภาพยนตร์ตั้งแต่ยุค 16 มม.จนถึงยุคหนังสโคป 35 มม. เช่น สายโลหิต, ผู้ชนะสิบทิศ, เป็ดน้อย (ไม่ใส่เครดิตร่วมแสดง), เกาะสวาทหาดสวรรค์, มันมากับความมืด, เขาชื่อกานต์, โอวตี่, เครือฟ้า และอีกหลายเรื่องเป็นผู้พากย์เสียงลงฟิล์ม เช่น ละครเร่ รวมทั้งงานแสดงละครโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียง เช่น คมพยาบาท (ทางช่อง 4 บางขุนพรหม เมื่อ2512) จนถึงปัจจุบัน

ได้รับรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 6 ประจำปี2529 จากเรื่อง โอวตี่ และการเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี2542 และรางวัลเกียรติยศคนทีวี จัดโดยรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประจำปี2548 ร่วมกับ พิชัย วาสนาส่งและสินีนาฏ โพธิเวส

นักแสดง

2544

สุริโยไท

- ยาย (บัวเผื่อน)
2539

คู่กรรม 2

- คุณยาย
2525

แววมยุรา

- คุณมะลิ มยุรา
2522

สลักจิต

- หม่อมภาคี
2520

ล่า

- สร้อย
2513

บ้านสาวโสด

- ตวงทอง
2511

เรือจ้าง

- สมใจ
2511

พระลอ

- เจ้าแม่เมืองสรอง
2510

ล่าพยาบาท

- แม่นิ่ม
2500

สายโลหิต

- ระจิต
2498

เมียแก้ว

- แก้ว
2498

ขวัญใจคนจน

- ซูหยิน
2497

คำสั่งคำสาป

- แม่ผัน
2496

วนิดา

- พิศมัย

นักแสดง

2555

รักออกอากาศ

- (รับเชิญ)
2544

นายฮ้อยทมิฬ

- ย่าเฒ่า
2552

พยัคฆ์ยี่เก

- ยายแก่ (รับเชิญ)
2549

อมฤตาลัย

- อุษาสวรรค์
2546

พุทธานุภาพ

- นางมงคล (แม่ของโต)
2545

สู่ฝันตะบันแข้ง

- ยายของกัลป์
2545

วัยร้ายเฟรชชี่

- อาม่า (แม่ของเจ)
2544

ไฟกามเทพ

- คุณหญิงชื่นบุญ
2543

มัสยา

- ท่านผู้หญิงรัตน์ รัตนมหาศาล
2542

อรุณสวัสดิ์

- ย่าของเม่น
2542

แม่ย่านาง

- (รับเชิญ)
2542

ดาวกลางดง

- (รับเชิญ)
2540

เรือนมยุรา

- จวง (รับเชิญ)
2531

เวิ้งระกำ

- อุไร
2539

บ้านสอยดาว

- คุณหญิงดารา สอยดาว (คุณย่าใหญ่)
2538

นางอาย

- เรเวอร์เร้นท์มาเธอร์เซ็นต์หลุยส์ / คุณแม่อธิการ
2538

มนต์รักลูกทุ่ง

- ป้าทองคำ
2537

ร่มฉัตร

- แม้นวาด (วัยชรา)
2537

คลื่นชีวิต

- ยายจันทร์
2536

คนละโลก

- คุณหญิงศรีเมือง ศักการะ
2536

วันนี้ที่รอคอย

- จ้าวไทไท
2535

บ่วง

- เจ้าแม่หม่อน
2535

อรุณสวัสดิ์

- ย่าของเม่น
2531

เจ้าสาวของอานนท์

- คุณหญิงเทพ สุทธากุล
2530

ปริศนา

- คุณหญิงเทพ (รับเชิญ)
2530

สกาวเดือน รัศมีแข

- ทรงมณี บริรักษ์นรากร
2528

ตี๋ใหญ่

- นางสุวรรณ (แม่ของตี๋ใหญ่)
2524

มายา

- อินทนิล
2521

เมียจำเป็น

- ยวนใจ
2545

บ่วงบรรจถรณ์

- คำเอ้ย